สวัสดีค่า กลับมาเจอกันอีกแล้ว ขอบคุณที่ยังคงติดตามกันอย่างต่อเนื่องนะคะ
หลายคนที่ติดตามเรื่องการกู้บ้าน หรือขอสินเชื่อมานาน ก็อาจจะเกิดคำถามเรื่องของวิธีการประเมินหลักทรัพย์กันขึ้นมาบ้าง ว่า วิธีการแบบไหนนะ…ที่ธนาคารเค้าใช้ในการประเมินหลักทรัพย์ ดังนั้นวันนี้เราจึงมีข้อมูลมาแชร์ให้ได้อ่านกันค่ะ
ก่อนที่เราจะกู้ซื้อบ้านได้แต่ละครั้งเนี่ย ธนาคารเค้าต้องทำการประเมินหลักทรัพย์กันก่อนค่ะ ถึงจะเข้าสู่กระบวนการขอสินเชื่อเพื่อกู้บ้านต่อไป ซึ่งหลักๆแล้ว สิ่งที่ธนาคารจะดู มีอยู่ 2 อย่างด้วยกัน นั่นคือ
- Price ซึ่งหมายถึง ราคา และราคาในที่นี้ก็หมายถึง การพิจารณาถึงราคาพื้นที่ใกล้เคียงว่า พื้นที่ใกล้เคียงบ้านที่จะประเมินเนี่ยมีราคาเท่าไหร่
- Place ที่แปลว่า สถานที่ ในที่นี้ก็คือดูราคาของพื้นที่ ราคาที่ดินว่าพื้นที่โซนที่จะทำการประเมินนี้มีราคาตารางเมตรละเท่าไหร่ค่ะ
แต่…ก็ไม่ได้หมายความว่าธนาคารเค้าจะประเมินบ้านหรือที่ดินกันทุกพื้นที่นะคะ ทีนี้เราลองมาดูกันดีกว่าว่า พื้นที่ที่ธนาคารจะไม่รับประเมิน คือพื้นที่แบบไหนกัน อ้ะ…หลายคนคงเดากันถูกแล้วแน่ๆ
ใช่แล้วล่ะค่ะ พื้นที่ที่ธนาคารจะไม่รับประเมินก็คือ “พื้นที่ตาบอด”
พื้นที่ตาบอด คือ พื้นที่ที่ไม่ติดทางสาธารณะ หรือไม่มีทางเชื่อมไปสู่สาธารณะได้ซึ่งทางสาธารณะ อาจหมายถึง ทางคนเดิน, ทางรถวิ่ง, แม่น้ำ, ลำคลอง หรือว่า ทางรถไฟ
แต่หากเป็นที่ดินตาบอดขึ้นมาก็อย่าเพิ่งตกใจค่ะ ให้เริ่มจากการหายใจเข้าออก แล้วตั้งสติก่อน เพราะว่า ถ้าพื้นที่ตาบอดนั้นๆ มีการ ”จดภาระจำยอม” ทางธนาคารก็สามารถทำการประเมินให้ได้ค่ะ
การจดภาระจำยอม คือ การที่เจ้าของที่ดินยินยอมให้ใช้สิทธิ์ในทรัพย์สินของตน เช่น ในกรณีนี้อาจหมายถึง ทางผ่านเข้าออกในที่ดินนั้นๆ
ซึ่งคำถามต่อมาก็คือ แล้วหากที่ดินนี้ถูกเปลี่ยนผ่านมือขึ้นมาแล้วเจ้าของคนใหม่ไม่อนุญาติหล่ะ จะทำยังไง…?
คำตอบคือ ภาระจำยอม ถือเป็น ทรัพยสิทธิอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเป็นสถานะตามติดพื้นที่นั้นๆไปไม่สามารถเพิกถอนได้ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุให้ต้องบอกยกเลิก หรือปิดภาระยินยอมนั้นไปจริงๆ ถึงจะสามารถปิดภาระยินยอมนั้นๆได้นั่นเองค่ะ
นี่ก็คือ ข้อมูลเล็กๆน้อยๆที่เราเอามาแชร์กันค่ะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านบ้าง ไม่มากก็น้อยนะคะ (รู้สึกเหมือนเขียนคำนำส่งอาจารย์ …ฮา..)
ก่อนจะจบเรื่องวันนี้เรามาทบทวนกันหน่อย วิธีที่ธนาคารใช้ประเมินหลักทรัพย์มีอยู่ 2 อย่างด้วยกัน คือ Price และ Place ค่ะ ถึงเราจะไม่ได้ต้องลงไปประเมินเอง แต่ก็รู้ไว้ใช่ว่า เป็นความรู้เก๋ๆ ก็ยังดีกว่าใช่ใยล่ะคะ…วันนี้ต้องขอลาไปก่อน พบกันใหม่ตอนหน้า ขอบคุณและสวัสดีทุกคนค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก เจ้าหน้าที่ซุปเปอร์ไวเซอร์ธุรกิจสินเชื่อ คุณบรรเจิด ภู่ผกาพันธ์พงษ์
สอบถามข้อมูลด้านสินเชื่ออื่นๆได้ที่ [email protected]