DotProperty.co.th

วิธีป้องกันหนี้ท่วมหัว!!! จาก สินเชื่อธนาคาร ให้บ้านอยู่รอดปลอดภัยไม่โดนยึด

สวัสดีค่ะ วันนี้เรากลับมาพบกันอีกครั้ง โดยวันนี้เราจะมาว่ากันด้วยเรื่องของการเป็นหนี้ค่ะ ใครบ้างที่อยากเป็นหนี้คำถามนี้ถามใครไม่มีใครอยากเป็นหนี้ใช่ไหมละคะ แต่ถ้าเรามาดูปัจจัยความต้องการพื้นฐาน อย่างเช่นบ้าน หรือ รถ  ทีนี้เราก็ต้องมาดูเงินที่อยู่ในกระเป๋าหรือเงินเก็บต่างๆ บางคนอาจจะมีมากจนสามารถซื้อเงินสดได้เลยแต่สำหรับใครหลายๆคนการที่เราจะจ่ายเงินก้อนที่เราเก็บเงินมาทั้งชีวิตเพื่อจ่ายเงินซื้อบ้านหรือรถไปนั้นยังไม่รวมเงินฉุกเฉินต่างๆอีกทำให้ใครหลายๆคนคงทำใจจะจ่ายเงินก้อนยากใช่ไหมละคะ ดังนั้นการกู้เงินหรือขอ สินเชื่อธนาคาร จึงเป็นที่นิยมค่ะ ดังนั้น ก่อนที่จะก่อหนี้อะไร ควรพิจารณาหลายๆ อย่างด้วยกันค่ะ โดยวันนี้เราไปดูวิธีป้องกันหนี้ท่วมหัวจากการกู้เงินกันค่ะ

คิดให้มากๆและคิดให้ดีก่อนขอ สินเชื่อธนาคาร

โดยก่อนที่จะตัดสินใจกู้เงินมาซื้อบ้าน ให้เราคิดให้รอบคอบและคิดสักนิดว่าเราจะกู้เงินมาใช้กับสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น แล้วหลายๆคนคงถามว่าบ้านไม่สำคัญหรอ ตอบเลยค่ะว่าสำคัญแต่การที่เราจะซื้อบ้านสักหลังเราก็ควรจะดูอะไรหลายๆอย่างด้วยค่ะ โดยให้พิจารณาจากคำถามดังนั้น

เมื่อเราตั้งคำถามแบบนี้แล้ว เราก็จะสามารถมาวิเคราะห์แยกเป็นประเด็ดได้ ดังนี้

1.ถ้าไม่ซื้อบ้านจะเป็นอะไรหรือไม่ ถ้าตอนนี้เรายังไม่พร้อมบวกกับตอนนี้กำลังเช่าบ้านอยู่แล้วก็พอที่จะเก็บเงินได้ก็ควรเช่าอยู่ไปก่อนและก็เก็บเงินสักก้อนเพื่อเอาไปดาวน์บ้านหรืออาจจะรอให้รายได้เราเยอะกว่าเดิมก็จะช่วยให้เราสามารถผ่อนแบบสบายๆได้ค่ะ

2.มีบ้านหลังอื่นที่ดีกว่านี้ไหมถ้าใครที่เป็นคู่รักอยู่แค่2คนก็อาจจะลองหาบ้านแบบทาวน์โฮมถ้ารายได้เรายังไม่มากพอโดยอาจจะต้องเลือกทำเลที่คนนิยมสักหน่อยเพื่อที่จะสามารถขายได้ ในกรณีที่อนาคตเรามีลูกจะได้ขยับขยายได้ค่ะ ดังนั้นควรเลือกบ้านให้คุ้มค่าและสามารถขายได้ง่ายในอนาคตในกรณีที่จะขายต่อ

3.ชะลอการซื้อออกไปก่อนดีไหม คำแบบนี้จะเหมือนกับข้อแรกแต่ถ้าเรากำลังเดือนร้อนเรื่องเงินก็ควรจะชะลอการซื้อออกไปก่อนเพราะว่าถ้าเราดันทุรังซื้ออนาคตก็อาจจะทำให้บ้านเราโดยยึดได้ค่ะ

เมื่อจำเป็นต้องทำการก่อหนี้เพื่อซื้อบ้าน

บ้านนั้นเป็นจุดสูงอันดับที่หลายๆคนจะต้องมีเพราะบ้านเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ ดังนั้นการจะซื้อบ้านด้วยเงินสดอาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับใครหลายๆคนโดยเฉพาะมุนษย์เงินเดือนแบบเราๆ เพราะราคาบ้านหลังหนึ่งไม่ใช้ราคาถูกๆ บางคนต้องเก็บเงินทั้งชีวิตเพื่อให้ได้มีบ้านสักหลัง

โดยซึ่งธนาคารส่วนใหญ่ถึงมีให้การผ่อนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมีระยะเวลาผ่อนชำระยาวนานกว่าสินเชื่อประเภทอื่น แต่ข้อกำหนดนี้จะนานแค่ไหนส่วนหนึ่งขึ้นอยู่เงื่อนไขของอายุของผู้ขอสินเชื่อ โดยสูงสุดมักผ่อนไม่เกิน 30 ปี  ทำให้ธนาคารแต่ละแห่งจะคิดอัตราดอกเบี้ยแตกต่างกันไป โดยใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงแบบลอยตัว (Floating Rate) แบบ  MLR (Minimum Loan Rate) และ  MRR (Minimum Retail Rate) โดยในการขอสินเชื่อบ้านเราจะสามารถกู้ได้วงเงินเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับธนาคารที่เราไปยืนกู้นั้นจะพิจารณารายได้ว่าเราสามารถผ่อนหนี้ที่มีอยู่ในปัจจุบันได้เท่าไร

เพราะโดยปกติภาระการผ่อนสินเชื่อทุกประเภทรวมกันไม่ควรเกิน 40% ของรายได้ต่อเดือน เช่นเงิน 30,000 เราจะต้องผ่อนไม่เกิน 13,000-14,000 บาท ยิ่งถ้าเกิดเราไม่มีภาระผ่อนใดๆ เลย ก็มีโอกาสขอสินเชื่อบ้านได้ในวงเงินที่สูงขึ้น และโดยทั่วไปจะกู้ได้ไม่เกิน 80 – 90% ของมูลค่าบ้าน ดังนั้นถ้าเราจะตัดสินใจกู้ซื้อบ้านจะต้องเตรียมเงินก้อนไว้สำหรับดาวน์บ้าน อย่างน้อย 10-20% ของมูลค่าบ้านค่ะ  เพราะฉะนั้นเราก็ควรจะคำนวนเงินเราให้พอดีและดูสภาวะทางการเงินของเราให้รอบครอบด้วยนะค่ะ

ยังต้องเตรียมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกด้วย

นอกจากค่าบ้านแล้วเราก็ไม่ควรที่จะลิมค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกหลายอย่างด้วย เช่นค่าใช้จ่ายในการโอนจ่ายให้กรมที่ดิน 2% ของราคาประเมิน โดยผู้ซื้อและผู้ขายโดยสามารถตกลงกันว่าใครจะเป็นคนจ่าย หรืออาจจะคนละครึ่งทางคือจ่ายคนละครึ่ง ค่าธรรมเนียมในการจดจำนอง 1% ของสัญญาจำนอง ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ ค่าประกันอัคคีภัยประมาณ 0.35% ของราคาบ้าน ค่าประเมินหลักประกันประมาณ 3,000-3,500 บาท ค่ามิเตอร์น้ำ และไฟฟ้า ประมาณ 8,000 บาท ค่าใช้จ่ายส่วนกลางของตัวโครงการมีการเรียกเก็บ ซึ่งอาจจะฟรีปีแรกหรือบ้างโครงการต้องจ่ายล่วงหน้าเป็นปี  หรือ 3 ปีแล้วแต่ละโครงการ นอกจากนี้ยังมี ค่าตกแต่งภายในตามแบบสไตล์ของแต่ละบุคคลอีกด้วยค่ะ

เตรียมโล่และสร้างเกราะป้องกันหนี้ให้มั่นคง

โดยไม่มีใครที่อยากเป็นหนี้ใช่ไหมคะ แต่ถ้าเราเตรียมตัวมากพอโอกาสเกิดหนี้ก็จะน้อยลงไปอีกหลายเท่าค่ะ โดยหลักการง่ายๆ คือ เตรียมเงินสำหรับรับมือค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าคืออะไร เช่น

1. ค่าส่วนกลางล่วงหน้า 3 ปี  30,000 บาทในอีก 6 เดือนหน้า ก็ควรทยอยออมเงินเดือนละ 5,000 บาทล่วงหน้าทุกเดือนเพื่อจ่ายค่าส่วนกลางได้เต็มจำนวนค่ะ

2. เตรียมเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินให้ได้ 6-7 เท่าของค่าใช้จ่ายของครอบครัวรายเดือน เงินในส่วนนี้จะช่วยป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้พอสมควร โดย เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน นี้คืออะไร ก็เช่นถ้าเราตกงานเราก็สามารถที่จะผ่อนบ้านต่อได้อีก 2-3 เดือนเป็นอย่างน้อยจะได้ทำให้เราไม่เครียจในเวลาหางานใหม่ค่ะ

3. ทำประกันอุบัติเหตุประกันชีวิต เพราะ ปัจจุบันนี้ค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลนั้นถ้าเป็นรัฐบาลก็อาจจะไม่แพงมากแต่ถ้าเป็นเอกชนนี้บอกเลยค่ะว่าราคาแพงมากยิ่งถ้าต้องไปแอดมิดแล้วด้วยนั้นบอกเลยค่ะว่าถ้าเราไม่เตรียมเงินไว้ลำบากแน่นอนค่ะ ดังนั้นหากมีการทำประกันไว้จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้ค่ะ

เป็นยังไงกันบ้างคะ กับบทความสาระดีๆ ที่เราหามาฝากกัน หวังว่าเพื่อนๆ จะชอบกันนะคะ แล้วเรามาพบกันใหม่ครั้งหน้าค่ะ

ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย…

ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่