ภาษี Gift Tax เป็นการเรียกเก็บจากการโอนทรัพย์สินให้ผู้อื่นก่อนตาย โดยคิดคำนวณจากการโอนทรัพย์สิน กล่าวคือเมื่อมีการโอนทรัพย์สินรวมทั้งเงิน หรือการใช้ประโยชน์หรือเงินได้จากทรัพย์สินโดยปราศจากผลตอบแทนใดๆ โดยทั่วไป Gift Tax จะละเว้นไม่จัดเก็บภาษีสำหรับการให้ระหว่างพ่อแม่ให้บุตรแต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม การให้ระหว่างบุพการีหรือผู้สืบสันดานหรือระหว่างคู่สมรส และการให้ในกรณีอื่น ๆ
ทั้งนี้ได้กำหนดขอบเขตของการให้ทรัพย์สินดังกล่าวไว้ หากมีการให้ที่เกินขอบเขตจะไม่ได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษี สำหรับภาษีการให้ Gift Tax ในประเทศต่างๆ มักจะมีการออกกฎหมายภาษีการให้ หรือ Gift Tax ควบคู่ไปกับภาษีมรดกเสมอ เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ซึ่งในเรื่องนี้กฎหมายของไทยก็ได้มีการร่างแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดเก็บภาษีการรับมรดกดังกล่าวด้วยเช่นกัน เนื่องด้วยกฎหมายเดิมยังมีการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เมื่อมีการโอนทรัพย์สินให้ผู้อื่นก่อนตาย ในการจัดเก็บภาษี Gift Tax จะแบ่งเป็น 3 กรณีที่ไม่ต้องเสียภาษีหากให้ไม่เกินขอบเขตที่กำหนดดังนี้
พ่อแม่ให้บุตรแต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม เมื่อได้รับเงินที่ได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน
การให้ระหว่างบุพการีกับผู้สืบสันดานหรือระหว่างคู่สมรส เป็นเงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะหรืออาจจะเป็นการให้ด้วยความเสน่หา
การให้ในกรณีอื่นๆ เป็นการให้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยเป็นหน้าที่จากธรรมจรรยาหรือการให้โดยการเสน่หาอาจจะเป็นการให้ในพิธีการต่างๆ หรือการให้ตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี
จาก 3 กรณีที่กล่าวมาถ้าได้รับทรัพย์สินรวมแล้วเงิน 20 ล้านบาทตลอดปีภาษี เงินได้ส่วนที่เกินกว่าเกณฑ์จะต้องเสียภาษีโดยผู้โอนจะต้องทำการหักภาษีไว้ 5% ของส่วนที่เกินกว่าเกณฑ์ เงินได้ของส่วนที่เกินกว่าเกณฑ์จะต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตรา 5% ของเงินได้หรือนำไปรวมการคำนวณกับเงินได้สุทธิ แล้วจึงเสียภาษี Gift Tax ตามกฎหมาย