การวางทรัพย์ กับ สำนักงานวางทรัพย์ ขั้นตอนที่จะทำให้ไม่ผิดนัด และ ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย

สำนักงานวางทรัพย์

สวัสดีค่ะ วันนี้เราจะพูดถึงอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญของ กรมบังคับคดี ที่ลูกหนี้ในคำพิพากษาควรรู้ไว้ เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของตัวท่านเอง นั้นก็คือ การวางทรัพย์  ซึ่งมันก็คือ วิธี การชำระหนี้ ทึ่กฎหมายกำหนดขึ้น เมื่อมีการชำระหนี้ที่มีอุปสรรคอันเกิดจากตัวเจ้าหนี้ โดยผู้วางทรัพย์ได้นำเงินหรือทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งหนี้ไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์ ซึ่งผลของการางทรัพย์ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ ไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา ไม่เสียดอกเบี้ย ค่าเสียหาย ค่าสินไหมทดแทน หรือเบี้ยปรับ และเจ้าหนี้จะร้องต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ไม่ได้ การไถ่ถอนการขายฝากโดยการวางทรัพย์ ทำให้ได้กรรมสิทธิ์กลับคืนสู่ผู้ว่าง

เหตุที่จะขอวางทรัพย์ กับ สำนักงานวางทรัพย์

  1. เจ้าหนี้บอกปัดหรือปฎิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ โดยปราศจากมูลเหตุอันอ้างตามคู่สัญญากฎหมายได้ เช่น ผู้ให้เช่นได้ทำสัญญาเช่ามีกำหนด 30 ปี โดยได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายที่สำนักงานที่ดิน ซึ่งมีผลผูกพันคู่สัญญาตามระยะเวลาท่ำหนดไว้ในสัญญา แต่ต่อมาผู้ให้เช่าอยากจะเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญา จึงปฏิเสธไม่ยอมรับค่าเช่าหรือจะขอขึ้นเงินค่าเช่า โดยไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย เพื่อผู้ให้เช่าจะถือเอาเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาเช่า
  2. เจ้าหนี้ไม่สามารถรับชำระหนี้ได้ เช่น เจ้าหนี้ไปต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ หรือหาตัวเจ้าหนี้ไม่พบ หรือต้องขังอยู่ในเรือนจำ
  3. ลูกหนี้ไม่สามารถหยั่งรู้สิทธิของเจ้าหนี้ หรือรู้ตัวเจ้าหนี้ได้แน่นอน เช่นลูกหนี้ไปทำสัญญาเช่ากับ นาง ก. ต่อมา นาง ก.ตาย ทายาทของนาง ก.ต่างเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระค่าเช่าให้แก่ตน โดยอ่างว่าตนมีสิทธินการรับเงินค่าเช่า ลูกหนี้จึงไม่อาจหยังรู้ได้ว่าจะต้องชำระหนี้กับใคร ระหว่างทายาท
  • ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ เช่น มาตรา 492 การไถ่ถอนการขายฝากโดยนำเงินค่าไถ่ถอนมาวางทรัพย์ และสละสิทธิถอรการวาง หรือ มาตรา 232, 302, 631, 679, 754 และ 947 เป็นต้น
  • ตามกฎบัญญัติของกฎหมายอื่น เช่น การวางเงินทดแทนตามพระราชบัญญัติเวนคืน พ.ศ. 2530
  • ตามคำสั่งศาล เช่น การคุ้มคลองชั่วคราวตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264

 สำนักงานวางทรัพย์

ผู้มีสิทธิวางทรัพย์

  1. ลูกหนี้
  2. ผู้รับมอบอำนาจลูกหนี้
  3. บุคคลภายนอกที่เต็มใจชำระหนี้แทนลูกหนี้แทนลูกหนี้ เว้นแต่ สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บุคคลภายนอกชำระแทนได้ หรือขัดกับเจตนาที่คูกรณีแสดงไว้และจะต้องไม่เป็นการฝืนใจหรือขัดใจลูกหนี้

สำนักงานวางทรัพย์(ที่รับวางทรัพย์)

  • ในส่วนกลาง สำนักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1-6
  • ในส่วนภูมิภาค สำนักงานบังคับคดีทั่วประเทศ

ทรัพย์อะไรที่วางได้

  1. เงินสด
  2. แคชเชียร์เช็คของธนาคารในส่วนกลาง (กรม) สั่งจ่าย สำนักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1-6 ในกรณีวางทรัพย์ในส่วนกลางภูมิภาค สั่งให้จ่ายในนามสำนักงานบังคับคดีจังหวัดนั้น
  3. ทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งหนี้และสามารถส่งมอบกันได้ตามกฎหมาย เช่น รถยนต์ ตู้เย็น สร้อยทอง แหวนเพชร

 

ทรัพย์ที่ไม่ควรวาง

  1. สภาพทรัพย์ที่ไม่ควรแก่การวาง หรือเป็นที่พึงวิตกว่าทรัพย์นั้นต่อไปจะเสื่อมเสียหรือทำลายหรือบุบสลายได้ เช่นน้ำแข็งที่สลักเป็นรูปต่างๆในงานสมรส
  2. มีค่ารักษาทรัพย์แพงเกินควร
  3. ตึกแถวโรงแรม คอนโดมิเนียม เครื่องจักร หรือทรัพย์ที่ขนย้าย ไม่สะดวก หรือน้ำมัน วัตถุไวไฟเป็นต้น

 

วิธีปฏบัติหน้าที่ของผู้วางทรัพย์

  1. เขียรคำร้องขอวางทรัพย์ ตาม ว.1 หากมอบอำนาจให้บุคคลอื่นวางทรัพย์แทน ต้องทำใบมอบอำนาจตามแบบ ว.4
  2. แสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดทางราชการออกให้(มีรูปถ่าย)
  3. กรณีมอบอำนาจ ยื่นใบมอบอำนาจตาม ว.4 ติดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วน พร้อมสำเนาบัตรประชาชนหรือหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้(มีรูปถ่าย) ทั้งของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
  4. กรณีนิติบุคคลให้นำหนังสือรับรองการจดทะเบียน ซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือนมาแสดงด้วย
  5. แนบแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร(ท.ร. 14/1) หรือหนังสือรับรองฐานะนิติบุคคลของเจ้าหนี้รับรองไม่เกิน 1 เดือน
  6. หลักฐานที่เกี่ยสข้องกับการวางทรัพย์ในเรื่องนั้นๆ มาแสดง เช่น
  • ถ้าวางตามสัญญาประนีประนอมยอมความของศาล ให้มีตำพิพากษาตามยอมที่เจ้าหน้าที่ศาลรับรอง
  • ถ้าวางตามสัญญาเช่า ให้มีสัญญาเช่า พร้อมถ่ายสำเนาสัญญาเช่าและรับรองสำเนาถูกต้อง
  • ถ้าวางตามสัญญาขายฝาก ให้มีสัญญาขายฝากพร้อมถ่ายสำเนาสัญญาขายฝากและรับรองสำเนาถูกต้อง
  • ถ้าวางตามสัญญาเช่าซื้อ ให้มีสัญญาเช่าซื้อพร้อมถ่ายสำเนาสัญญาเช่าซื้อและรับรองสำเนาถูกต้อง
  • ถ้าวางตามสัญญาจำนอง(ไถ่ถอน)ให้มีสัญญาจำนอง พร้อมถ่ายสัญญาจำนอง พร้อมถ่ายสำเนาสัญญาจำนองและรับรองสำเนาถูกต้อง
  1. เงินประกันค่าใช้จ่าย(ขั้นต่ำ) จำนวน 300 บาท
  2. ผู้วางทรัพย์หรือผู้มอบอำนาจ ต้องมาให้เจ้าพนักงานสอบสวน ทำการสอบสวนที่มาของมูลหนี้
  3. ผู้วางทรัพย์ต้องแจ้งการวางทรัพย์ให้เจ้าหนี้หนี้ทราบโดนพลัน จึงจะมีผลสมบูลว่าเป็นการสทรัพย์โดยชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้นเป็นการวางเงินไถ่ถอนการฝากขาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งพานิชย์ ตามมาตรา 492

 

วิธีปฏิบัติของเจ้าหนี้ผู้ประสงค์จะรับทรัพย์ที่วาง

  1. เขียนคำร้องขอรับทรัพย์หรือเงิน ตามแบบ ว.3
  2. แสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ (มีรูปถ่าย)
  3. กรณีมอบอำนาจ ยื่นใบมอบอำนาจตามแบบ ว.4 ติดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วน พร้อมนำบัตรประชาชนหรือหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ มีรูปถ่ายทั้งของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจมาแสดงต่อเจ้าพนักงาน
  4. กรณีเป็นนิติบุคคล ให้นำหนังสือรับรองการจดทะเบียนซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือนมาแสดงด้วย
  5. กรณีวางทรัพย์โดยมีเงื่อนไข ให้เจ้าหนี้แสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงาน ว่าได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแล้ว

 

ผลของการวางทรัพย์

  1. ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ที่ต้องชำระ ไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด และไม่ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้หลังจากวันที่วางทรัพย์
  2. เจ้าหนี้มีสิทธิมารับทรัพย์ที่วางภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ได้รับคำบอกกล่าวการวางทรัพย์ หากเจ้าหนี้ไม่มารับ สิทธิของเจ้าหนี้เหนือทรัพย์ท่างเป็นอันระงับไป

 

การถอนหรือขอรับทรัพย์ที่วาง

ผู้วางทรัพย์อาจถอนหรือขอรับทรัพย์ที่วางคืนได้ เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้

  1. ผู้วางทรัพย์ได้แสดงเจตนาสละสิทธิ์ที่จะถอนไว้
  2. เจ้าหนี้ได้แจ้งต่อสำนักงานวางทรัพย์ ว่าจะรับทรัพย์ที่วางนั้นแล้ว
  3. การวางทรัพย์ตามคำสั่งศาล
  4. ผู้วางทรัพย์อยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีล้มละลาย
  5. หากบุคคลใดวางทรัพย์ชำระหนี้แทนลูกหนี้บุคคลนั้นจะถอนการวางทรัพย์ได้ต่อเมื่อลูกหนี้ยินยอม

 

ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …

ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่