DotProperty.co.th

การวางทรัพย์ กับ สำนักงานวางทรัพย์ ขั้นตอนที่จะทำให้ไม่ผิดนัด และ ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย

สวัสดีค่ะ วันนี้เราจะพูดถึงอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญของ กรมบังคับคดี ที่ลูกหนี้ในคำพิพากษาควรรู้ไว้ เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของตัวท่านเอง นั้นก็คือ การวางทรัพย์  ซึ่งมันก็คือ วิธี การชำระหนี้ ทึ่กฎหมายกำหนดขึ้น เมื่อมีการชำระหนี้ที่มีอุปสรรคอันเกิดจากตัวเจ้าหนี้ โดยผู้วางทรัพย์ได้นำเงินหรือทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งหนี้ไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์ ซึ่งผลของการางทรัพย์ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ ไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา ไม่เสียดอกเบี้ย ค่าเสียหาย ค่าสินไหมทดแทน หรือเบี้ยปรับ และเจ้าหนี้จะร้องต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ไม่ได้ การไถ่ถอนการขายฝากโดยการวางทรัพย์ ทำให้ได้กรรมสิทธิ์กลับคืนสู่ผู้ว่าง

เหตุที่จะขอวางทรัพย์ กับ สำนักงานวางทรัพย์

  1. เจ้าหนี้บอกปัดหรือปฎิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ โดยปราศจากมูลเหตุอันอ้างตามคู่สัญญากฎหมายได้ เช่น ผู้ให้เช่นได้ทำสัญญาเช่ามีกำหนด 30 ปี โดยได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายที่สำนักงานที่ดิน ซึ่งมีผลผูกพันคู่สัญญาตามระยะเวลาท่ำหนดไว้ในสัญญา แต่ต่อมาผู้ให้เช่าอยากจะเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญา จึงปฏิเสธไม่ยอมรับค่าเช่าหรือจะขอขึ้นเงินค่าเช่า โดยไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย เพื่อผู้ให้เช่าจะถือเอาเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาเช่า
  2. เจ้าหนี้ไม่สามารถรับชำระหนี้ได้ เช่น เจ้าหนี้ไปต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ หรือหาตัวเจ้าหนี้ไม่พบ หรือต้องขังอยู่ในเรือนจำ
  3. ลูกหนี้ไม่สามารถหยั่งรู้สิทธิของเจ้าหนี้ หรือรู้ตัวเจ้าหนี้ได้แน่นอน เช่นลูกหนี้ไปทำสัญญาเช่ากับ นาง ก. ต่อมา นาง ก.ตาย ทายาทของนาง ก.ต่างเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระค่าเช่าให้แก่ตน โดยอ่างว่าตนมีสิทธินการรับเงินค่าเช่า ลูกหนี้จึงไม่อาจหยังรู้ได้ว่าจะต้องชำระหนี้กับใคร ระหว่างทายาท

 

ผู้มีสิทธิวางทรัพย์

  1. ลูกหนี้
  2. ผู้รับมอบอำนาจลูกหนี้
  3. บุคคลภายนอกที่เต็มใจชำระหนี้แทนลูกหนี้แทนลูกหนี้ เว้นแต่ สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บุคคลภายนอกชำระแทนได้ หรือขัดกับเจตนาที่คูกรณีแสดงไว้และจะต้องไม่เป็นการฝืนใจหรือขัดใจลูกหนี้

สำนักงานวางทรัพย์(ที่รับวางทรัพย์)

ทรัพย์อะไรที่วางได้

  1. เงินสด
  2. แคชเชียร์เช็คของธนาคารในส่วนกลาง (กรม) สั่งจ่าย สำนักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1-6 ในกรณีวางทรัพย์ในส่วนกลางภูมิภาค สั่งให้จ่ายในนามสำนักงานบังคับคดีจังหวัดนั้น
  3. ทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งหนี้และสามารถส่งมอบกันได้ตามกฎหมาย เช่น รถยนต์ ตู้เย็น สร้อยทอง แหวนเพชร

 

ทรัพย์ที่ไม่ควรวาง

  1. สภาพทรัพย์ที่ไม่ควรแก่การวาง หรือเป็นที่พึงวิตกว่าทรัพย์นั้นต่อไปจะเสื่อมเสียหรือทำลายหรือบุบสลายได้ เช่นน้ำแข็งที่สลักเป็นรูปต่างๆในงานสมรส
  2. มีค่ารักษาทรัพย์แพงเกินควร
  3. ตึกแถวโรงแรม คอนโดมิเนียม เครื่องจักร หรือทรัพย์ที่ขนย้าย ไม่สะดวก หรือน้ำมัน วัตถุไวไฟเป็นต้น

 

วิธีปฏบัติหน้าที่ของผู้วางทรัพย์

  1. เขียรคำร้องขอวางทรัพย์ ตาม ว.1 หากมอบอำนาจให้บุคคลอื่นวางทรัพย์แทน ต้องทำใบมอบอำนาจตามแบบ ว.4
  2. แสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดทางราชการออกให้(มีรูปถ่าย)
  3. กรณีมอบอำนาจ ยื่นใบมอบอำนาจตาม ว.4 ติดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วน พร้อมสำเนาบัตรประชาชนหรือหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้(มีรูปถ่าย) ทั้งของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
  4. กรณีนิติบุคคลให้นำหนังสือรับรองการจดทะเบียน ซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือนมาแสดงด้วย
  5. แนบแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร(ท.ร. 14/1) หรือหนังสือรับรองฐานะนิติบุคคลของเจ้าหนี้รับรองไม่เกิน 1 เดือน
  6. หลักฐานที่เกี่ยสข้องกับการวางทรัพย์ในเรื่องนั้นๆ มาแสดง เช่น
  1. เงินประกันค่าใช้จ่าย(ขั้นต่ำ) จำนวน 300 บาท
  2. ผู้วางทรัพย์หรือผู้มอบอำนาจ ต้องมาให้เจ้าพนักงานสอบสวน ทำการสอบสวนที่มาของมูลหนี้
  3. ผู้วางทรัพย์ต้องแจ้งการวางทรัพย์ให้เจ้าหนี้หนี้ทราบโดนพลัน จึงจะมีผลสมบูลว่าเป็นการสทรัพย์โดยชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้นเป็นการวางเงินไถ่ถอนการฝากขาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งพานิชย์ ตามมาตรา 492

 

วิธีปฏิบัติของเจ้าหนี้ผู้ประสงค์จะรับทรัพย์ที่วาง

  1. เขียนคำร้องขอรับทรัพย์หรือเงิน ตามแบบ ว.3
  2. แสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ (มีรูปถ่าย)
  3. กรณีมอบอำนาจ ยื่นใบมอบอำนาจตามแบบ ว.4 ติดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วน พร้อมนำบัตรประชาชนหรือหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ มีรูปถ่ายทั้งของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจมาแสดงต่อเจ้าพนักงาน
  4. กรณีเป็นนิติบุคคล ให้นำหนังสือรับรองการจดทะเบียนซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือนมาแสดงด้วย
  5. กรณีวางทรัพย์โดยมีเงื่อนไข ให้เจ้าหนี้แสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงาน ว่าได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแล้ว

 

ผลของการวางทรัพย์

  1. ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ที่ต้องชำระ ไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด และไม่ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้หลังจากวันที่วางทรัพย์
  2. เจ้าหนี้มีสิทธิมารับทรัพย์ที่วางภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ได้รับคำบอกกล่าวการวางทรัพย์ หากเจ้าหนี้ไม่มารับ สิทธิของเจ้าหนี้เหนือทรัพย์ท่างเป็นอันระงับไป

 

การถอนหรือขอรับทรัพย์ที่วาง

ผู้วางทรัพย์อาจถอนหรือขอรับทรัพย์ที่วางคืนได้ เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้

  1. ผู้วางทรัพย์ได้แสดงเจตนาสละสิทธิ์ที่จะถอนไว้
  2. เจ้าหนี้ได้แจ้งต่อสำนักงานวางทรัพย์ ว่าจะรับทรัพย์ที่วางนั้นแล้ว
  3. การวางทรัพย์ตามคำสั่งศาล
  4. ผู้วางทรัพย์อยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีล้มละลาย
  5. หากบุคคลใดวางทรัพย์ชำระหนี้แทนลูกหนี้บุคคลนั้นจะถอนการวางทรัพย์ได้ต่อเมื่อลูกหนี้ยินยอม

 

ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …

ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่