สิทธิเหนือพื้นดิน คืออะไร สิทธิเหนือพื้นดินคือทรัพยสิทธิอย่างหนึ่ง หรือก็คือสิทธิในการเป็นเจ้าของเรือน สิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งเพาะปลูกบนดินหรือใต้ดินในพื้นที่ของบุคคลอื่นนั่นเอง ขอบเขตสิทธิเหนือพื้น คือ สิทธิเฉพาะปลูกสร้างสิ่งต่างๆ ลงบนดินของบุคคลอื่นได้ แต่จะไม่สามารถแสวงหาผลประโยชน์ในที่ดินเช่น ขุดดิน ขุดแร่ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง : ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๑๐ ถึง มาตรา ๑๔๑๖
ประเภทการจดทะเบียน
1.สิทธิเหนือพื้นดิน หมายถึง กรณีที่เจ้าของที่ดินทำให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินในที่ดินของตนทั้งหมด
2.สิทธิเหนือพื้นดินเฉพาะส่วน หมายถึง กรณีเจ้ารวมคนใดคนหนึ่งหรือหลายคนในที่ดิน แต่ไม่ใช่ทุกคนทำให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินในที่ดินเฉพาะส่วนของตน
3.แบ่งก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดิน หมายถึง กรณีที่เจ้าของที่ดินทำให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินไว้แค่บางส่วนแบบไม่เต็มแปลง
4.ปลอดสิทธิเหนือพื้นดิน หมายถึง กรณีที่ได้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินไว้แล้ว ต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินดังกล่าว และคู่กรณีตกลงกันให้ที่ดินแปลงที่แบ่งแยกออกไป หรือที่ดินแปลงที่เหลือจะไม่มีสิทธิเหนือพื้นดินต่อไป
5.การจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดิน หมายถึง กรณีที่ได้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินไว้แล้ว ต่อมาผู้ถือสิทธิเสียชีวิต ทายาทผู้ถือสิทธิต้องมาขอรับมรดกสิทธิเหนือพื้นดินที่ได้จดทะเบียนไว้เท่านั้น
6.เลิกสิทธิเหนือพื้นดิน หมายถึง กรณีที่ได้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินไว้แล้ว ต่อมาเจ้าของที่ดินและผู้ถือสิทธิตกลงกันให้เลิกสิทธิเหนือพื้นดิน
สาระน่ารู้ที่สำคัญ
-สิทธิเหนือพื้นดินนั้นจะทำให้เกิดขึ้นได้โดยมีกำหนดเวลา (ห้ามเกิน 30 ปี) หรือตลอดชีวิตเจ้าของที่ดิน หรือตลอดชีวิตผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินนั้นก็ได้
-สิทธิเหนือพื้นดินอาจจะสามารถโอนได้หรือรับตกทอดทางมรดกกันก็ได้ กรมที่ดินได้พิจารณาตอบข้อหารือจังหวัดสระบุรี กรณีมีราษฎรประสงค์จะทำหนังสือสัญญาอาศัยที่ดินเพื่อทำนาไว้ตามหนังสือกรมที่ดินและโลหกิจ ที่ ๑๖/๒๖๓๐ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๔๗๗ ว่า สัญญาให้ผู้อาศัยที่ดินทำนาเข้าลักษณะสิทธิเหนือพื้นดิน จึงให้ทำสัญญาและแก้ทะเบียนเป็นประเภท “สิทธิเหนือพื้นดิน”
อย่าปล่อยให้ที่ดินรกร้างไร้ประโยชน์ กับภาษี ที่ดินเปล่า ที่ควรระวัง
ขั้นตอนง่ายๆ สำหรับ การขอกู้ ปลูกบ้าน บนที่ดินของตัวเอง