แบงก์ชาติห่วง สินเชื่อบ้าน หลังพบหนี้เสียพุ่งต่อเนื่อง สวนทางเอ็นพีแอล ทั้งระบบที่เริ่มดีขึ้น ชี้ส่วนหนึ่งจากสถาบันการเงินเปิดรับความเสี่ยง ปล่อยสินเชื่อ ให้คนมีภาระหนี้สูง ขณะประชาชนบางกลุ่ม กู้ซื้อหวังเก็งกำไร-ปล่อยเช่า แต่ผลตอบแทนไม่ได้ตามเป้า กดดันเอ็นพีแอลพุ่ง
สินเชื่อบ้าน พบหนี้เสียพุ่งต่อเนื่อง
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ในการรายงาน การประชุมของกนง.ในช่วง 2 ครั้งล่าสุด มีการพูดถึงความเสี่ยงในสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาธปท.ได้หารือกับธนาคารพาณิชย์เพื่อให้ดูแลความเสี่ยงและปล่อยกู้อย่างระมัดระวังด้วย
“อีกด้านที่กนง.ให้ติดตามใกล้ชิดคือจำนวนอุปทานส่วนเกินของที่อยู่อาศัย ที่พบว่าอยู่ในระดับสูง จากการคาดหวังของ ประชาชนว่าราคาที่อยู่อาศัยอาจจะเพิ่มขึ้น จึงเกิดการเข้าไปเก็งกำไร หรือซื้อเพื่อ การลงทุน รวมถึงเอามาให้เช่าต่อ และเมื่อไม่มีผลตอบแทนหรือได้ค่าเช่าอย่างที่ตั้งใจ จึงเป็นผลทำให้เกิดเอ็นพีแอลในกลุ่มที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้น “นายวิรไทยกล่าว
เกาะติดปัจจัยเสี่ยงตปท.-ในปท.
ขณะที่การประกาศเก็บภาษีใหม่ๆ ที่ออกมาหลังจากนั้น เชื่อว่าแม้วันนี้จะยังไม่เกิดผลกระทบโดยทันที แต่จะกระทบต่อภาคการส่งออกและการลงทุนของ ภาคเอกชนได้ในปีหน้า
อีกทั้งยังต้องติดตามเรื่องความผันผวนของค่าเงินสกุลเงินหลักๆ ซึ่งอาจมาจาก ความไม่แน่นอนของการดำเนินนโยบาย การเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลักด้วย ซึ่งเป็นผลให้ค่าเงินในช่วงที่ผ่านมาเคลื่อนไหวผันผวนมากขึ้น
เศรษฐกิจไตรมาส2เริ่มกระจายตัว
ส่วนการเติบโตของเศรษฐกิจไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ถือว่าเริ่มเห็นการกระจายตัว มากขึ้น ทั้งการบริโภคที่มีการกระจายตัวได้ดี ขณะที่การจ้างงานก็มีอัตราเพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ และอานิสงค์ส่งไปถึงประชาชน วงกว้าง ขณะที่สินเชื่อของระบบ เริ่มเห็นการขยายต่อเนื่องในสินเชื่อขนาดกลาง ขนาดย่อมมากขึ้น
“อินทนนท์”เพิ่มประสิทธิภาพโอนเงิน
อีกทั้งยังช่วยให้ธนาคารพาณิชย์ ไม่ต้องดำรงสภาพคล่องส่วนเกินเอาไว้จำนวนมากเหมือนกับการใช้ระบบชำระดุล Real Time Gross Settlement (RTGS) ในปัจจุบัน ที่เป็นระบบชำระดุลที่ใช้ธปท.เป็นตัวกลางซึ่งถือเป็นระบบรวมศูนย์ที่มีเวลาเปิดปิด แต่หากเป็นเทคโนโลยี DLT จะทำให้การชำระดุลทำได้ตลอด24ชั่วโมง และทำได้ตลอด7วัน ทั้งนี้ยังสามารถไป เชื่อมกับต่างประเทศได้ด้วย Token ที่ธนาคารกลางในแต่ละประเทศออกเพื่อทำให้การชำระดุลข้ามประเทศทำได้ง่ายขึ้นสะดวกขึ้นและต้นทุนถูกลงมาก
อย่างไรก็ตาม การออกสกุลเงินดิจิทัล ที่เป็นเงินบาท หรือ (central bank digital currency) แตกต่างกับการออก digital currency โดยเอกชน เพราะการออกสกุลเงินดิจิทัลในรูปเงินบาทครั้งนี้ เพื่อนำมาเป็นกลไกช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการชำระดุล ไม่ได้เป็นเงินตราที่มีความผันผวน ดังนั้นในเรื่องของเทคโนโลยี จึงเป็นต้องมีการแยกออกจากกัน ระหว่างการนำเทคโนโลยีมาประยุทต์ใช้เพื่อเก็งกำไร หรือนำมาใช้ประโยชน์ในด้านชำระเงิน
ขณะเดียวกัน ธปท.มีแผนที่จะนำเทคโนโลยีเรื่อง DLT มาใช้ในการออกพันธบัตรด้วยระบบไร้ใบหลักทรัพย์ (Scripless)ด้วย เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการออกพันธบัตร จากเดิมที่ต้องใช้ เวลาออก 15 วัน เหลือเพียง 2 วันเท่านั้น
” อนาคต เราก็อาจมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพใน การชำระอื่นๆมากขึ้นด้วย เช่นล่าสุดธปท.อยู่ระหว่างการศึกษาเรื่อง Next Generation Bath Net ที่อยู่ระหว่างการออกแบบ ในอนาคตว่าจะใช้เทคโนโลยีอะไร เพื่อเป็นการพัฒนาการชำระเงินในอนาคตด้วย” นายวิรไทกล่าว
แบงก์กรุงเทพผนึกอาร์3
ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ