หลังจากที่แบงก์พาณิชย์ได้รวมตัวกันเพื่อที่จะกับทางหารือสมาคมที่อยู่อาศัย เพื่อที่จะได้หาทางรับมือหนี้เสีย สินเชื่ออสังหา พร้อมกันกับให้ทางแบงก์ชาติ ออกมาตรการ สกัดดีมานด์เทียม ด้านฝั่งที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ได้แสดงความเป็นห่วงสินเชื่อที่อยู่อาศัยแข่งสูงขึ้น อาจจะเกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
สอดคล้องกับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ในกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นั้นอาจจะเป็นการส่งสัญญาณว่าในเร็วๆนี้ ทางธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)อาจจะออกมาตรการดูแลการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์
ความเสี่ยงในการปล่อย สินเชื่ออสังหา
หลังจากที่มีการหารือร่วมกันถึงสาเหตุของ ความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่ออสังหาฯ เพื่อหาทางป้องกันการเข้าไปปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยร่วมกันมากขึ้น โดยมีแนวปฏิบัติร่วมกันระหว่างธนาคารพาณิชย์ที่เป็นแนวปฏิบัติกลาง เพื่อนำใช้ในการปล่อยสินเชื่อหรือป้องกันการเกิดหนี้เสีย เพราะทาง ธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มเป็นห่วง สินเชื่อที่อยู่อาศัยว่ามีอะไรบ้างและเป็นสัญญาณอันตราย เหล่านี้ก็เพื่อมาแชร์ร่วมกันให้แบงก์อื่นๆเอาสิ่งต่างๆไปใช้ระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
โดยเฉพาะในกลุ่มที่ไม่มีศักยภาพและกลุ่มที่มาจากดีมานด์เทียม ที่เป็นตัวทำให้เกิดหนี้เสียในระบบเพิ่มขึ้น แต่จากที่ว่ามายังไงธนาคารต่างๆยังต้องการนโยบายกลางถึงหลายๆธนาคารจะ ปล่อยสินเชื่อ และ คัดกรองลูกค้ามากขึ้น แต่ยังไงธนาคารก็ยังต้องการนโยบายกลาง เพื่อให้แบงก์นำแนวทางดังกล่าวไปปฏิบัติ และสามารถออกมาตรการกำกับดูแลหรือจะเรียกว่าเป็นการออกมาคุมสัดส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าต่อหลักประกัน(LTV)นั้นเอง
ภาพรวมสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ของธนาคารพาณิชย์
สัดส่วน MPL เริ่มจาก ไตรมาสที่ 4 ปี2560 อยู่ที่ 3.23% พอมาไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ขยับสูงขึ้นไปที่ 3.38%และไตรมาส 2 ของปี 2561 ก็ขยับไปอยู่ที่ 3.39% จะเห็นได้ว่าสัดส่วน MPLมีอัตราแนวโน้มที่จะสูงขึ้นไปอีกในอนาคต
ด้านสินเชื่อจัดชั้นพิเศษ(SIM) เริ่มจาก ไตรมาสที่ 4 ปี2560 อยู่ที่ 1.91% พอมาไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ขยับลดลงไปที่ 1.72%และไตรมาส 2 ของปี 2561 ก็ขยับสูงไปอยู่ที่ 1.82% จะเห็นได้ว่าสัดส่วน
ด้านสินเชื่อจัดชั้นพิเศษ(SIM)ก็มีอัตราแนวโน้มที่จะสูงขึ้นหรืออาจจะกลับไปเท่ากับไตรมาสที่ 4 ของ ปี2560
ด้านการเติบโตสินเชื่ออสังหาฯภาคธุรกิจ ไตรมาสที่ 4 ปี2560 อยู่ที่ 6.8% พอมาไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ขยับสูงไปอยู่ที่ 9.7% และไตรมาส 2 ของปี 2561 กลับมาลดลงเหลือ 4.4 % จะเห็นได้ว่าสัดส่วนลดลง
ด้านการเติบโตสินเชื่ออสังหาฯที่อยู่อาศัยรายย่อย ไตรมาสที่ 4 ปี2560 อยู่ที่ 5.5 พอมาไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ขยับสูงไปอยู่ที่ 5.8% และไตรมาส 2 ของปี 2561 ก็ขยับสูงขึ้นไป 6.2% จะเห็นได้ว่าสัดส่วนยังคงมีแนวโน้มที่จะเพิ่งสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม สาเหตุหนึ่งที่เป็นตัวทำให้เกิดหนี้เสียในระบบคือการออกมาเชิญชวนในโซเชียลรวมไปจนถึงการจัดสัมมนาของผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ต่างๆที่ให้การการันตีว่าหากซื้อบ้านและเปิดให้เช่าแล้วจะได้ผลตอบแทนสูงโดยทั้งนี้คือการสร้างดีมานด์เทียมมาหลอกกลุ่มผู้ซื้อนั้นเอง