โดยคาดว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยให้ประชาชนที่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง สามารถซื้อบ้านได้ในราคาที่เหมาะสม ขณะที่ผู้ที่ซื้อเพื่อลงทุน ก็จะรับความเสี่ยงได้ดีขึ้น ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ สามารถวางแผนลงทุนได้เหมาะสม ลดความเสี่ยงในการเกิดโอกาสฟองสบู่ รวมถึง สถาบันการเงินก็จะมีคุณภาพสินเชื่อที่ดีขึ้น และมีความสามารถในการรองรับความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของมูลค่าหลักประกัน
ซึ่งหลังจากธปท.ประกาศจะใช้มาตรการดังกล่าวออกมา ก็มีทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย โดยในส่วนที่เห็นด้วยมองว่า บัณฑูร ธปท.คงเห็นถึงสัญญาณเสี่ยงจึงเร่งสกัดก่อนที่จะเกิดความเสียหาย และเชื่อว่า ธปท. พิจารณาถึงข้อดีข้อเสียแล้ว ขณะที่ในฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยก็มองว่าเป็นการแก้ปัญหาแบบเหมาเข่ง เพราะปัญหาเกิดแค่ไม่กี่สถาบัน
โดยนายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการธนาคารกสิกรไทย กล่าว่า การออกมาตรการสินเชื่อบ้านของ ธปท. เป็นเรื่องดีแล้ว ดีกว่าปล่อยให้บรรลัยกันอีกรอบ และเรื่องนี้เป็นดุลพินิจของ ธปท. เพราะแบงก์ชาติประเมินแล้วว่าจะมีความเสี่ยงก็ต้องหาวิธีป้องกัน ดีกว่าที่จะปล่อยให้เกิดปัญหาขึ้นมาก่อน “เรื่องนี้ไม่มีถูกหรือผิด ไม่มีขาวหรือดำ เป็นดุลพินิจของ บรรยงแบงก์ชาติ ซึ่งแบงก์ชาติก็เปิดรับฟังความคิดเห็น ใครอยากจะ ชี้แจง ก็ไปชี้แจงได้ แต่แบงก์ชาติก็ต้องเป็นคนตีกรอบว่าควรจะอยู่ตรงไหน” นายบัณฑูรกล่าว
ด้านนายบรรยง พงษ์พาณิช ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน ที่เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าว เพราะเมื่อเห็นว่ามีความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของระบบ ก็สามารถใช้มาตรการดูแลเสถียรภาพโดยรวมของเศรษฐกิจเข้ามาลดความร้อนแรง
ขณะที่นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กลับไม่เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าว เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากสถาบันการเงินเพียงไม่กี่แห่ง แต่กลับออกมาตรการควบคุมทั้งระบบ ทั้งที่สถาบันการเงินบางแห่งมีระบบการปล่อยสินเชื่อที่มีความสมดุล ในเรื่องผลตอบแทนกับความเสี่ยงภายในเกณฑ็ที่เหมาะสมอยู่แล้ว ไม่ควรทำแบบเหมาเข่ง อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกรุงไทยไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากมีการควบคุมความเสี่ยงอยู่แล้ว
ด้านนายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสินให้ความเห็นว่า มาตรการครั้งนี้ไม่ใช่การควบคุมฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ แต่เป็นการควบคุมการเก็งกำไรโดยเฉพาะคอนโดมิเนียม เพราะในช่วง 2 ไตรมาสที่ผ่านมา โครงการบ้านเกิดใหม่ชะลอตัวลง สต๊อกคงค้างก็ลดลง จึงตรงข้ามกับลักษณะฟองสบู่
นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่าถ้า ธปท. ยืนยันให้เก็บเงินดาวน์ 20% จริงๆ ก็ควรผ่อนปรนให้เก็บดาวน์คอนโดฯ 20% แต่บ้านควรปรับจาก 5% เป็น 10% เพื่อลดผลกระทบ โจทย์หลักที่มีผลกระทบจากมาตรการเงินดาวน์ 20% อยู่ที่ประเภทสินค้าแนวราบ หรือโครงการบ้านจัดสรร
เพราะพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าเกือบทั้งหมด เป็นการซื้อเพื่ออยู่จริง เพราะเมื่อตัดสินใจซื้อ ชาติชายผ่อนเงินดาวน์ตามงวด และสินค้าสร้างเสร็จ ลูกค้ารับโอนทั้งหมด จึงไม่ใช่สินค้าที่มีการซื้อเพื่อเก็งกำไรแตกต่างจากสินค้าแนวสูง หรือคอนโดฯที่ยอมรับว่า ปัจจุบันพฤติกรรมการซื้อเปลี่ยนแปลง โดยกลุ่มเรียลดีมานด์มีสัดส่วน 70% กับกลุ่มลูกค้าซื้อลงทุนเพื่อปล่อยเช่า กับซื้อลงทุนเก็งกำไรรวมกันอีก 30%
ในขณะที่โจทย์ของแบงก์ชาติตีความว่า สินค้าที่อยู่อาศัยมีการเก็งกำไร จึงออกมาตรการที่ครอบคลุมทั้งโครงการ แนวราบกับแนวสูง ทำให้สินค้าบ้านจัดสรรได้รับผลกระทบไปด้วย จึงเป็นจุดที่ต้องทำความเข้าใจกับ ธปท. และขอให้ อธิปยกเลิกมาตรการเรียกเก็บเงินดาวน์บ้านเท่าคอนโดมิเนียม
ที่มา : หนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์