โดยเมื่อเร็วๆนี้ ทาง โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี คุณ ณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ได้กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี เห็นชอบกับ แผนการคลังระยะปานกลางระยะ 3 ปี ตั้งแต่ ปี 2562 ถึงปี 2564 กรอบการบริหาร หนี้สาธารณะ ตาม พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังภาครัฐ พ.ศ.2561 โดยมีผลใช้ตั้งแต่ 20 เม.ย. ที่ผ่านมา นั้น จากเดิมที่ ประเทศไม่เคยมีแผนเลยนั้นประมาณการ คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยขยายตัว 3.5-4.5% เฉลี่ยปีละ 4% ปี 2561 ประมาณการรายได้ 2.45 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 4.6% ส่วนปี 2564 ประมาณการรายได้เพิ่มเป็น 2.77 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1% จากปีก่อน
ในส่วนด้านกรอบรายจ่ายปี 2561 คาดการณ์ไว้ที่ 2.9 ล้านล้านบาท เพิ่ม 6.1% จากปีก่อน หรือ เพิ่มขึ้น 3.4% ส่วนในปี 2564 คาดการณ์รายจ่าย 3.3 ล้านล้านบาท หรือ 3.1% ของปีก่อน ส่วนแผนการคลังระยะปานกลางทางรัฐจะทำการจะลดบทบาท โดยให้ ภาคเอกชนเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแทน โดยคลังสรุปงบประมาณขาดดุลต่อเนื่องทุกปี ได้ดังนี้
- ปี 2562 ขาดดุล 4.5 แสนล้านบาท
- ปี 2564 ขาดดุล 5.24 แสนล้านบาท
ส่วนทางด้าน หนี้สาธารณะที่จะเพิ่มขึ้นจาก 6.92 ล้านล้านบาท หรือ สรุปง่ายคือ ปีนี้ 2561 จีดีพี จะเพิ่มขึ้น 42.6% ทำให้หนี้สาธารณะที่จะเพิ่มขึ้น 9.28 ล้านล้านบาท หรือ 47% ในปี 2564
รัฐเตรียมรับมือ การขาดดุล และ หนี้สาธารณะ ที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น จากข้อมูลที่ทางรัฐบาลคาดการณ์จะเห็นว่า จำนวนการขาดดุลและหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ภาครัฐมีแผนการให้แผนการคลังไปเน้นให้ความสำคัญกับการลดรายจ่ายประจำ โดยไปเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้แทนก็จะพอได้เห็นภาพ การขาดดุลงบประมาณลดลงในปี 2565 จากนั้นก็จะดีขึ้นในระยะต่อไป
โดย แผนฉบับนี้ได้มีข้อการกำหนดและมีการกำหนดกรอบความยั่งยืนทางการคลังเป็นหมาย ดังเช่น สัดส่วนภาระหนี้ของภาครัฐจะต้องไม่เกิน 35% ของประมาณการรายได้ต่อปี สัดส่วนหนี้สาธารณะจะต้องไม่เกิน 60% ของจีดีพี หนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศจะต้องไม่เกิน 10% ของหนี้สาธารณะ สัดส่วนภาระหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศจะต้องไม่เกิน 5% ของรายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการ
นอกจากนี้ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คุณ กอบศักดิ์ ภูตระกูล กล่าวว่า สถาบันไอบีเอ็มปรับ ได้ทำการลดอันดับประเทศไทยจาก จากอันดับ 27 เป็นอันดับ 30 จึงเป็นผลให้ นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สั่งตรงให้ ให้หน่วยงานทุกๆด้านที่เกี่ยวข้องให้เน้นทุมเท่ความสำคัญในส่วนการปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อ ที่จะสนับสนุนขีดความสามารถแข่งขันประเทศให้ดียิ่งขึ้น
และนอกจากนี้สาเหตุที่ทางสถาบันไอบีเอ็ม ให้ลดอันดับประเทศไทยเพราะว่า ไทยทำงบประมาณที่ขาดดุล จากเหตุผลที่ ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องลงทุนอีกมากเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต แต่ทางรัฐบาลไทยกลับไม่ยอมจะลดการขาดดุลลง นั้นเป็นสาเหตุให้โดนปรับลดคะแนนลง แต่สุดท้ายแล้วรัฐบาลต้องเดินหน้านโยบายขาดดุลต่อไป เพราะภาครัฐจำเป็นต้องผลักดันให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว อย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะเตรียมรับมือสังคมผู้สุงอายุเต็มตัวในอนาคต ทำให้ภาครัฐเน้นลงทุนในเรื่องโครงการพื้นฐาน เพื่อเตรียมพร้อมในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันนั้นเอง