DotProperty.co.th

หลักปฏิบัติอาคารเก่า-ใหม่ เพื่อรับมือแผ่นดินไหว ไม่ใช่เรื่องไกลตัว หลักปฏิบัติอาคารเก่า-ใหม่ เพื่อรับมือแผ่นดินไหว

หลังจากเมื่อเร็วๆนี้ได้เกิด แผ่นดินไหว ขนาด 5.9 ริกเตอร์ที่เกิดขึ้นใน สปป.ลาว ถึงแม้ว่าสถานที่เกิดจะหากจากกรุงเทพถึง  600-700 กม. แต่กระนั้นอาคารสูงหลายแห่งในกรุงเทพยังได้รับผลกระทบ เพราะจนรู้สึกได้ถึงแรงสั่นสะเทือน แต่เพราะอะไรทำไมแผ่นดินไหวไกลขนาดนั้นเราถึงได้รับผลกระทบและจะมีแนวทางรับมืออย่างไร

หลักปฏิบัติอาคารเก่า-ใหม่ เพื่อรับมือแผ่นดินไหว

โดยหลังจากผลกระทบจากแผ่นดินไหวในประเทศลาวต่อประเทศไทย ทำให้เวลานี้ทาง สมาคมวิศวกรโครงสร้างไทย และสมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร  จัดเตรียมแนวทางเตรียมความพร้อมรับมือเหตุการณ์แผ่นดินไหว  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแบบปี 2557   โดย ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างไทย ได้เผยถึงสาเหตุทำไม เราถึงได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวขนาด 5.9 ริกเตอร์ที่เกิดขึ้นใน สปป.ลาว โดยมี 3 ปัจจัยสำคัญดังนี้

1.ชั้นดิน

สภาพชั้นดินกรุงเทพฯเป็นดินเหนียวอ่อน ทำให้ขยายคลื่นแผ่นดินไหวให้แรงขึ้น 3-4 เท่า

2.ค่าความถี่ธรรมชาติพ้องกับดิน

รู้หรือไม่ตึกสูงทั้งคอนโดมิเนียม ออฟฟิศ โรงแรม ฯลฯ ตั้งแต่ 10 ชั้นขึ้นไปในประเทศไทยมีค่าความถี่ธรรมชาติพ้องกับดิน ทำให้เกิดการสั่นที่จะแรงผิดปกติ

3.คอนโดในไทยไม่ได้ออกแบบรองรับแผ่นดินไหว

อาคารสูงหลายๆแห่งในประเทศไทยนั้นที่สร้างมาก่อนปี 2550 นั้นส่วนใหญ่จะไม่ได้ออกแบบรองรับแผ่นดินไหว ทำให้ไม่มีความปลอดภัยของเกิดแผ่นดินไหนในอนาคต

 

อาคารแบบไหนที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหว

  1. อาคารพื้นท้องเรียบไร้คาน
  2. อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปราคาถูกข้อต่อไม่แข็งแรง
  3. ตึกที่มีลักษณะเสาเล็กแต่คานใหญ่ ส่วนใหญ่จะนิยมสร้างเป็นตึกแถว
  4. อาคารที่ต่อเติมเพื่อทำให้สามารถทำทางเดินเชื่อมต่อกัน
  5. อาคารสูงที่มีลักษณะพื้นที่ชั้นล่างเปิดโล่ง

 

คู่มือตรวจสอบอาคารหลังแผ่นดินไหว

  1. ”ของที่ร่วงหล่นได้” เช่น เครื่องปรับอากาศ กระถางต้นไม้ วัสดุอาคาร ฯลฯ
  2. ”ลิฟต์” ทดสอบวิ่งขึ้น-ลงจากล่างสุดถึงบนสุด ดูว่ามีการติดขัดหรือสั่นสะเทือนผิดปกติหรือไม่
  3. ”ท่อน้ำแนวดิ่ง” ได้แก่ ท่อประปา ท่อน้ำระบบแอร์ มีการแตกรั่วซึมหรือไม่
  4. ”ท่อก๊าซหุงต้ม” ตรวจดูที่ตั้งถังก๊าซและตลอดแนวท่อก๊าซมีการรั่วซึมหรือมีกลิ่นก๊าซรั่วหรือไม่
  5. ”สายไฟฟ้าและตัวนำไฟฟ้าแนวดิ่ง” ตรวจมีการลัดวงจร กลิ่นไหม้ มีความร้อน มีสิ่งผิดปกติหรือเปล่า ทั้งนี้ กรณีอาคารที่ใช้บัสดักต์ (busduct) ที่ไม่รองรับแผ่นดินไหวแทนสายไฟ อาจทำให้ฉนวนเสียหาย เมื่อใช้อาจเกิดระเบิดได้
  6. ”คูลลิ่งทาวเวอร์-ถังเก็บน้ำดาดฟ้า” ตรวจความเสียหาย ความมั่นคงดูว่ามีการแตกร้าว น้ำรั่ว ยึดติดแข็งแรงอยู่กับฐานหรือไม่
  7. ”ระบบดับเพลิง” ตรวจให้อยู่ในทิศทางที่ถูกต้องทั้งท่อดับเพลิง สปริงเกอร์ วาล์วควบคุมการจ่ายน้ำ
  8. ”งาน hot work” กรณีอาคารที่อยู่ระหว่างรีโนเวตหรือกำลังก่อสร้าง ตรวจดูการรั่วไหลของก๊าซในอาคาร และความพร้อมของระบบดับเพลิงก่อนทำงาน
  9. อาคารขนาดใหญ่ อาคารสูง ควรได้รับการตรวจสอบอาคารจากผู้ตรวจสอบอาคารที่มีความรู้ก่อนการใช้งาน

 

สรุป

หากเป็นอาคารสร้างใหม่ ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดใน กฎกระทรวงการรับน้ำหนักความต้านทานความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ที่ได้เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2550  ส่วนอาคารเก่าสร้างก่อนปี 2550 ที่ไม่ได้ออกแบบให้รองรับแผ่นดินไหว ต้องรีบประเมินและเสริมความแข็งแรงอาคารในกรณีที่ตรวจพบว่าอาคารไม่แข็งแรงพอโดยเร็ว ด้านวิศวกรผู้ออกแบบต้องใช้มาตรฐานการออกแบบอาคารต้านแผ่นดินไหว โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือ ยผ.1302

 

อ้างอิงข้อมูลจาก  สมาคมวิศวกรโครงสร้างไทย

สถานีบางโพ สถานีเดียวที่ครบเครื่องเรื่องการเชื่อมต่อ

 

 

โค้งสุดท้ายกับ บ้านในฝัน-บ้านดีมีดาวน์  อยากมีสิทธิ์ต้องทำอย่างไร

 

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก