สวัสดีค่ะวันนี้เรากลับมาพบกันอีกเป็นประจำกันเช่นเคยนะค่ะโดยวันนี้ เราขอเอาใจคนที่กำลังจะ ซื้อที่ดิน สักแปลง แต่ติดตรงที่ ที่ดิน แปลงนี้ติดจำนองกับธนาคาร และยังค้างจ่ายธนาคารด้วย จะทำอย่างไรดีเดี๋ยววันนี้เราไปดูกันค่ะว่า จะแก้ปัญหาได้อย่างไรและควรระวังอะไรบ้างเพื่อที่จะทำให้การซื้อที่ดินติดจำนองไม่เป็นปัญหาเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปชมกันเลยค่ะ
ข้อควรรู้และระวังเกี่ยวกับการ ซื้อที่ดิน ติดจำนอง
จากนั้นผู้ซื้อก็ต้องเตรียมเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คก็ได้ ถ้าเป็นแคชเชียร์เช็คก็ใช้ 2 ใบ แต่แนะนำให้ทำเป็นแคชเชียร์เช็คดีกว่า โดยแคชเชียร์เช็ค
- ใบแรก ก็คือยอดเงินต้น+ดอกเบี้ยถึงวันไถ่ถอน เพื่อสำหรับนำมามอบให้ธนาคาร เพื่อธนาคารจะได้ไถ่ถอนจำนองให้
- ใบที่สอง คือ ยอดเงินที่จะจ่ายให้แก่ผู้ขายที่ดิน ได้แก่ ราคาที่ตกลงซื้อขาย – (ยอดเงินต้น+ดอกเบี้ยถึงวันไถ่ถอนที่จ่ายให้แก่ธนาคาร) – ค่าโอนที่ผู้ขายต้องจ่าย(แล้วแต่จะทำการตกลงกัน)
เมื่อถึงวันไถ่ถอนที่กรมที่ดิน ทั้ง 3 ฝ่าย(ผู้ขายที่ดิน , ผู้ซื้อที่ดิน , ธนาคาร) มาถึงกรมที่ดินแล้ว ผู้ซื้อก็มอบแคชเชียร์เช็ค(เงินต้น+ดอกถึงวันไถ่ถอน)ให้ธนาคาร ธนาคารก็จะไถ่ถอนจำนองให้ แล้วมอบโฉนดให้ เพื่อทำการซื้อขายต่อไป
จากนั้นผู้ซื้อจะมอบแคชเชียร์เช็คใบที่สองให้ผู้ขายเมื่อได้ทำการซื้อขายเกือบเสร็จสิ้น โดยเจ้าหน้าที่ที่ดินจะถามว่า ผู้ขายได้รับเงินแล้วหรือยัง ผู้ซื้อก็จะมอบแคชเชียร์เช็คให้ และจะต้องทำให้เสร็จภายในวันเดียวกันเท่านั้น โดยจะจต้องอย่าให้เกิดกรณีไถ่ถอนแล้วซื้อขายในวันถัดไป เพราะอาจมีปัญหาได้ ดังนั้น ทั้ง 3 ฝ่าย (ผู้ขายที่ดิน , ผู้ซื้อที่ดิน, ธนาคาร) ต้องไปกรมที่ดินแต่เช้า
ยกตัวอย่างง่ายๆคือ ถ้ามีการตกลงซื้อขายที่ดิน 3ล้านบาท ผู้ขายที่ดินมียอดหนี้ธนาคาร+ดอกเบี้ยถึงวันไถ่ถอนที่กรมที่ดินเป็นเงิน 1แสนบาท ตกลงกับผู้ขายหลังจ่ายธนาคารไปแล้วในราคา 5 แสน โดยผู้ขายและผู้ซื้อตกลงชำระค่าค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินแปลงนี้คนละครึ่ง สมมติค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินทั้งหมด 20,000 บาทผู้ซื้อเตรียมแคชเชียร์เช็ค สองใบ
- ใบแรก สำหรับจ่ายให้ธนาคาาร และ
- ใบที่สองสำหรับผู้ขาย โดยใบแรกจะมี ยอดคือ 3ล้าน – 1แสน(ยอดหนี้บวกดอกเบี้ยถึงวันไถ่ถอน) – ค่าธรรมเนียมการโอนครึ่งหนึ่ง ก็คือ 10,000 = ยอดแคชเชียร์เช็คใบที่สอง คือยอด 5แสนบาท เพื่อมอบให้ผู้ขาย
โดยส่วนใหญ่ปัญหาคือ ค่าธรรมเนียมการโอนเราจะยังไม่ทราบว่าจริงๆ สุทธิ เท่าไหร่ ทราบแต่เพียงประมาณการเท่านั้น ดังนั้น เราต้องควรถือเงินสดไปด้วย และลดยอดแคชเชียร์เช็คใบที่สองลง เช่น แคชเชียร์เช็คใบที่สอง ยอด 4 แสน แล้วถือเงินสดไป 1.2 แสน เพื่อจ่ายค่าธรรมเนียมโอนที่ดินเป็นเงินสด 20,000 เหลือเงินสด 100,000 ก็มอบให้ผู้ขายไป
โดยเราควรจะต้องทำทุกขั้นตอนให้เสร็จภายในวันเดียวจะดีที่สุดและก่อนจะมอบแคชเชียร์เช็คใบที่สองและเงินสดที่เหลือให้ผู้ขาย ขั้นตอนการซื้อขายที่ดินจะต้องเกือบแล้วเสร็จแล้วเท่านั้นและส่วนมากเจ้าหน้าที่ที่ดินจะเป็นคนบอกเองค่ะ
สรุป
- เราจะไปหรือไม่ไปติดต่อธนาคารก็ได้ จะให้ผู้ขายเดินเรื่องทุกอย่างก็ทำได้เสร็จกัน
- นัดโอนที่สำนักงานที่ดินเท่านั้น ค่อยจ่ายเช็คให้ในขณะที่โอน ห้ามจ่ายก่อนเด็ดขาดไม่ว่ากรณีใดๆ
- ควรให้ผู้ขายไปต่อรองกับธนาคาร เพื่อนำโฉนดออกมา ที่สนง.ที่ดินในวันนัดโอน ถ้าวันโอนธนาคารไม่นำโฉนดมาไม่ก็ไม่ควรซื้อขาย
- ตกลงเรื่องจำนวนเงินตัวเลขและเช็คว่าจะใช้กี่ฉบับปกตินิยม2 ควรตกลงกันให้ชัดเจนก่อนวันโอน
- ตกลงกันให้ละเอียดเรื่อง ค่าใช้จ่ายในการโอน ค่าธรรมเนียม ค่าภาษี ค่าอากร ว่า ใครจ่ายส่วนไหนบ้าง สำหรับค่าโอนทั้งหมด
ดังนั้นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดคือการที่ผู้รับจำนองและเจ้าของที่ดินควรที่จะไปทำเรื่องพร้อมกันที่สำนักงานที่ดินตรวจสอบยอดหนี้รวมดอกเบี้ยของผู้รับจำนองว่ามีเท่าไร ชำระเงินแบบไหนและเราสามารถยื่นทำเรื่องไถ่ถอนจำนองแล้วขายได้เลยหรือไม่ ไม่ควรที่จะยอมให้เงินไปก่อนในกรณีที่ผู้ขายอ้างว่าจะขอเงินไปไถ่ถอนก่อนแล้วมาทำเรื่องขายทีหลัง
โดยวิธีนี้เสี่ยงมีปัญหาเจ้าของที่ดินเล่นไม่ซื่อถึงแม้จะทำสัญญากันไว้ก็ตาม ต้องฟ้องร้องกันเสียเวลาเสียค่าทนายค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกนานกว่าคดีจะจบ ส่วนในกรณีที่มีบ้านมาในที่ดินด้วยนั้นราคาประเมินคงไม่มากดังนั้นควรจะแจ้งประเมินไปด้วยเพื่อที่จะช่วยลดปัญหายุ่งยากทีหลังในกรณีคุณต้องการใช้ประโยชน์บ้านในทางทะเบียนหรือถ้าไม่และบ้านไม่มีคนอยู่ก็ไม่ต้องแจ้งสิ่งปลูกสร้างไปก็ได้บ้านถือเป็นส่วนควบของที่ดินอยู่แล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราจะต้องแน่ใจว่าจะไม่มีใครมาอ้างเป็นเจ้าของทีหลัง ดังนั้นเพื่อตัดปัญหาควรแจ้งประเมินจะดีที่สุดค่ะ
ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …
ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่