DotProperty.co.th

แชร์ไอเดีย อยากมีบ้าน แต่ไม่มีเงินเก็บ ตัดสินใจยังไงดี…?

วันนี้เรามีเรื่องราวดีๆมาฝากกันอีกเช่นเคย โดยเฉพาะท่านที่กำลังมองหาบ้านแต่ยังกังวลใจในหัวว่าเราจะสามารถซื้อบ้านได้หรือไม่และพร้อมหรือยังและถ้าไม่มีเงินเก็บเลยละจะเป็นการเสี่ยงหรือไม่ ดังนั้นวันนี้เรามีไอเดียและข้อคิดมาฝากสำหรับ คนที่ อยากมีบ้าน แต่ไม่มีเงินเก็บควรตัดสินใจยังไงดี  เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปชมกันเลย

 

อยากมีบ้าน แต่ไม่มีเงินเก็บ จะไปหาไหนต่อดี

หากเรา ต้องการซื้อบ้าน ราคา 3.0-3.2 ล้าน  รายได้ต่อเดือน 30,000 บาทมีภาระหนี้สินบัตรเครดิต 2 ใบ  ที่นี้เราสามารถที่จะทำเรื่องกู้คนเดียว โดยไม่ต้องมีคนค้ำ วงเงินเกือบๆ 3.5 ล้านได้หรือไม่ และบวกกับตอนนี้ไม่มีเงินเก็บเลย โดยที่อยากจะรีบซื้อบ้านตอนนี้ไม่รอเก็บเงินเพราะกลัวว่าบ้านจะราคาขึ้นไปมากกว่าเดิมเพราะโครงการที่จะซื้อ อนาคตมีรถไฟฟ้าฝากอาจจะทำให้ราคาบ้านขยับขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องรีบซื้อ โดยเราสามารถผ่อนได้ ประมาณ 20,000 บาท/เดือน   ส่วนค่าใช้จ่ายในบ้าน  ค่ากินอยู่เป็นหน้าที่ของ คนในครอบครัวแทน ทำให้ตอนนี้ยังกังวลใจและลังเล ว่าจะซื้อเลยดีมั้ย หรือเก็บเงินไปก่อน หรือจะไปในแนวทางไหนดี

 

แชร์ไอเดียแนวทาง อยากมีบ้านแต่ไม่มีเงินเก็บ ตัดสินใจยังไงดี…?

ถามตัวเองว่าทุกวันนี้อยู่กันที่ไหนและเป็นอย่างไร?  เช่าอยู่ หรืออาศัย ใครอยู่เงินเดือน อยู่คนเดียวสบายขนาดไหนและคนในครอบครัวเป็นอยู่อย่างไร หากคนในครอบครัวความเป็นอยู่ดี ยิ่งน่าจะซื้อได้เรื่อง..”เงินเก็บ”. ก็ต้องคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าคิด ว่า จะเก็บไปเพื่ออะไร?  เพื่อ อนาคตของใครหรือเพื่อไว้ใช้จ่าย ยามฉุกเฉิน!!  บลาๆๆๆ หากเป็นไปได้ถ้าที่ทำงานมีสหกรณ์ออมทรัพย์” ของหน่วยงาน หรือ หากที่ทำงานไม่มี ก็ควรเปิดบัญชีเงินออมได้แล้ว เพราะยังไงเราก็ต้องแก่และหากเราแก่จะเอาเงินที่ไหนไปใช้มันคือ “คำตอบ”. ของเกือบจะทุกๆอย่างในชีวิต เพราะการซื้อบ้านไม่ได้จบด้วยการมีบ้านเท่านั้น แต่ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆได้แก่

ค่าน้ำค่าไฟ ค่าประกัน ค่าซ่อมแซมบ้าน และยังมีค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน ฯลฯ

ดังนั้นถ้าไม่รีบร้อนนัก ยืดเวลาออกไป เก็บเงินให้ได้สักก้อน ค่อยกู้บ้าน อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ลองเก็บเงินเท่ายอดผ่อนจริง จะได้ลองดูด้วยว่า ถ้ากู้บ้านผ่าน เมื่อต้องผ่อนจริง จะไหวมั้ย เพราะผ่อนบ้านหมด ก็ใช้เวลาหลายปี ซึ่งเงินที่เก็บสามารถเป็นเงินดาวน์บ้าน เพื่อไม่ต้องขอวงเงินกู้ที่สูงเกินไป ช่วยให้เสียดอกเบี้ยน้อยลง และหมดหนี้เร็วขึ้นด้วยอีกอย่างหนึ่ง ควรมีเงินก้อนเตรียมไว้สำหรับค่าใช้จ่ายจากการซื้อบ้านด้วย เช่น ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินกู้ ค่าโอน 2% ของราคาประเมิน (ค่าโอนขึ้นอยู่กับการตกลงของผู้ซื้อผู้ขาย) ค่าเฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งซ่อมแซมบ้าน  และอย่าลืมว่า กู้บ้าน ไม่ได้มีแค่ค่าผ่อนบ้าน ยังมีค่าประกัน ค่าส่วนกลาง ค่าน้ำไฟ เป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเข้ามา ต้องกันเงินแต่ละเดือนไว้ด้วย ที่สำคัญ ควรมีเงินก้อนสำรองเตรียมไว้รองรับเหตุการณ์ฉุกเฉินสัก 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เช่น เจ็บป่วย ไม่ว่าจะเป็นตัวเรา หรือคนในครอบครัว ต้องใช้เงินซ่อมรถ ซื้อของใช้จำเป็น รวมถึงเกิดว่างงานขาดรายได้ขึ้นมา จะได้มีเงินสำรองใช้จ่ายโดยไม่เดือดร้อน ลองวางแผนพิจารณาดู

สุดท้ายเราไปควรไปคิดว่าอนาคตบ้านจะมีแต่ราคาขึ้นจนไม่สามารถซื้อได้ แต่หากเรารีบร้อนซื้อบ้านมาตอนที่เราไม่พร้อมและไม่มีเงินเก็บเลยเมื่อเจอปัญหาเข้ามาในชีวิต จนถึงขั้นต้องโดยยึดบ้านไปสุดท้าย มันจะต่างกับตอนที่เราไม่มีบ้านตรงไหนแถมแยกกว่าด้วยซ้ำเพราะต้องเป็นหนี้ ชีวิตนี้ไม่มีอะไรที่แน่นอน

ฝันร้ายคนชั้นกลาง บ้าน ราคาต่ำกว่า 2 ล้านต่อจากนี้คงเป็นแค่ความฝันเท่านั้น

 

แชร์ประสบการณ์ เลือกซื้อบ้าน ไม่รอบคอบ คิดผิดจนตัวตาย

 

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก