DotProperty.co.th

เจาะความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้า มาหาหรือยัง?

หลังจากช่วงปลายปี 2562 และต้นปี 2563 ชาวกรุงเทพฯ ได้สัมผัสกับรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสถานีใหม่ถึงสองสายแล้ว ทั้งสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย หัวลำโพง-บางแค ที่เรียกความน่าสนใจด้วยความสวยงามของสถานี และรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่ ที่เชื่อมกรุงเทพ ตั้งแต่ทิศเหนือจรดทิศใต้ได้อย่างสมบูรณ์ โดยสำหรับปี 2563 ความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าก็ยังคงดำเนินหน้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งสายที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง และสายที่อยู่ระหว่างดำเนินการ รถไฟฟ้า กรุงเทพ แต่ละสายมีความคืบหน้าอย่างไรบ้างนั้น ติดตามได้ในบทความนี้

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (ตะวันออก) และ ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ (ตะวันตก)

รถไฟฟ้าสายสีส้ม เป็นอีกหนึ่งสายที่หลายคนรอคอยการถึง เนื่องจากแนวเส้นทางวิ่งผ่าตะวันออกสู่ตะวันตก ตัดเข้าใจกลางเมืองอย่าง ดินแดง ประตูน้ำ ราชเทวี ราชดำเนิน สนามหลวง ไปจนสุดที่บางขุนนนท์ ทำให้ศักยภาพทำเลและศักยภาพด้านการเดินทางนั้นเพิ่มขึ้นอย่างยิ่งยวด โดยสำหรับเฟสแรก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ที่ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปี 2561 โดยความคืบหน้าเมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคม 2563 อยู่ที่ 62.42% นับว่าเร็วกว่าแผนถึง 3.07% คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2565

         สำหรับรถไฟฟ้าสายสีส้ม เฟสสอง ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ (ตะวันตก) เป็นรูปแบบวิ่งผ่านอุโมงค์ใต้ดิน โดยจะทำการเปิดประมูลว่าจ้างเอกชนผู้รับสัมปทาน โดยคาดว่าจะเกิดขึ้นภายในเดือนมิถุนายน 2563 นี้ และจะสามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในช่วงต้นปี 2564

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง

รถไฟฟ้าสายสีเหลืองเป็นรถไฟฟ้าที่มีแนวเส้นทางวิ่งรอบชานเมือง ทำหน้าที่เป็น feeder ในการขนส่งประชากรจากชานเมืองเข้าสู่รถไฟฟ้าสายหลัก สำหรับย่านที่ขึ้นชื่อเรื่องการประสบปัญหารถติดอย่างลาดพร้าว นับว่ารถไฟฟ้าสายสีเหลืองนั้นเป็นเหมือนพระเอกขี่ม้าขาวเลยทีเดียวสำหรับความคืบหน้าหน้า ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2563 อยู่ที่ 59.42% เร็วกว่าแผน 1.03% คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้เร็วกว่าที่กำหนด คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการภายในปี 2564

โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม ช่วงสถานีกลางบางซื่อ-รังสิต และ รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ช่วงสถานีกลางบางซื่อ-รังสิต ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากวิกฤตโรคระบาด ทำให้การดำเนินการต้องล่าช้าไปกว่าแผน จากกำหนดการเดิมที่คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2564 ล่าสุดการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยว่าการก่อสร้างต้องล่าช้ากว่ากำหนด จากเดิมคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการในต้นปี 2564 อาจต้องขยับไปถึงปี 2565 โดยต้องขยายกรอบวงเงินเพิ่มเติมอีก 11,000 ล้านบาท โดยความคืบหน้าล่าสุด แบ่งเป็น 3 สัญญา ได้แก่

สำหรับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ที่เป็นส่วนต่อขยายเฟสสอง ระยะทางประมาณ 8.8 กิโลเมตร อยู่ในขั้นตอนของการเตรียมเปิดประมูลหาผู้รับเหมา ซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในปลายปี 2563 และเปิดให้บริการในปี 2565

โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน พญาไท-เดือนเมือง ที่มีแนวเส้นทาง ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา นับความโครงการที่ทุกคนรอคอยอยากเห็นกันเต็มที แนวเส้นทางจากสถานีพญาไท เป็นเส้นทางอุโมงค์ใต้ดิน ก่อนจะขึ้นบนดินที่บริเวณแยกประดิพัทธิ์ ยกระดับเพื่อเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อ และวิ่งบนทางยกระดับจนถึงสถานีดอนเมือง โดยหลังจากที่ได้ผู้ชนะการประมูลโครงการ โดยกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ก็ได้ทำการเซ็นสัญญาสัมปทานเป็นที่เรียบร้อย โดยรายละเอียดโครงการ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

         โดยระหว่างปี 2563-2564 เป็นช่วงของการเวนคืนที่ดินการเจรจารื้อย้ายบ้าน ที่มีการบุกรุกเส้นทาง เพื่อส่งมอบพื้นที่ให้กลุ่ม CP ดำเนินการก่อสร้าง โดยคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2568

         รถไฟฟ้า กรุงเทพ เป็นขนส่งมวลชนที่มีความสำคัญกับคนเมือง ไม่ต่างอะไรกับเส้นเลือดใหญ่ที่คอยสูบฉีดและหล่อเลี้ยงคนเมือง หากมีการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าเสร็จสิ้นครบทั้ง 10 สายในปี 2575 เชื่อว่ากรุงเทพมหานคร จะกลายเป็นเมืองระดับโลก ที่ทัดเทียมประเทศอื่นๆ ได้อย่างแน่นอน


 

ที่มา:

https://www.mrta.co.th/th/projectelectrictrain/construction_progress_report/

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/860239

https://mgronline.com/business/detail/9620000106110

https://www.prachachat.net/property/news-415171