DotProperty.co.th

เจาะตำนาน โฮปเวลล์ กว่า 29 ปี 6 รัฐบาล จบด้วยเสาโง่ๆกับเงิน 1.2 หมื่นล้านที่ต้องเสียแบบเอาผิดใครไม่ได้สักคน

หลายท่านที่ขับรถผ่านแถววิภาวดี รังสิตอาจจะเคยเห็นเศษซากอารยธรรม โฮปเวลล์ ที่เป็นเสาตอม่อ ไร้ซึ้งประโยชน์ใดๆมาหลายสิบปี  โดยเจ้าเสาโง่ๆนั้นมีค่าถึง 1.2 หมื่นล้าน ที่รัฐบาลของไทยเราต้องจ่าย มีจุดเริ่มต้นอย่างไร ใครเป็นผู้นำมันเข้ามา และสุดท้ายทำไมตอนจบรัฐบาลถึงต้องจ่ายเงินถึง 1.2 หมื่นล้าน ให้กับเจ้าเสาเหล่านี้ด้วย เดี๋ยววันนี้เราไปหาคำตอบกันเลย

จุดเริ่นต้นแห่ง ตำนาน โฮปเวลล์   โครงการเพื่ออนาคตจบลงด้วยเสาโง่ๆให้คนไทยดูเล่น

แนวคิดก่อสร้างโครงการเริ่มต้นในปี 2532 โดยกระทรวงคมนาคม ตัวโครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร หรือเรียกง่ายๆว่า โครงการโฮปเวลล์ โครงการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะก่อสร้างทางยกระดับ เพื่อแก้ปัญหาการจราจรเพื่อลดปัญหาการให้รถยนต์ต้องหยุดรอรถไฟ   ตัวโครงการมีระยะทางรวมกว่า 60.1 กิโลเมตร

โดยมีการคาดการณ์ในการใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 80,000 ล้านบาท ในสมัยรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ที่เวลานั้นมี นาย มนตรี พงษ์พานิช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ ประกาศเชิญชวนให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนก่อสร้างทางรถไฟยกระดับในเดือน ต.ค. แต่ข้อที่น่ากังขาคือมีผู้ยื่นเอกสารข้อเสนอเพียงรายเดียว เท่านั้นและรายนั้นคือ บริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิงส์ บริษัทสัญชาติฮ่องกง ของนายกอร์ดอน วู

และเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2533 ทางบริษัทโฮปเวลล์ก็ได้รับสัมปทานในการประกอบกิจการเดินรถไฟบนรางยกระดับ ระบบขนส่งทางถนนยกระดับ สามารถเรียกเก็บค่าผ่านทางคู่ขนานกับทางรถไฟยกระดับรวมไปจนถึงได้รับสัมปทานเดินรถบนทางรถไฟยกระดับด้วยนอกจากนี้บริษัทโฮปเวลล์ยังสามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่ใต้ทางรถไฟยกระดับและอสังหาริมทรัพย์สองข้างทาง ที่มีการคิดเป็นเนื้อที่ถึง   600 ไร่   มีอายุสัมปทาน 30 ปี ใช้เวลาทั้งหมด 8 ปี

 

แผนงานการก่อสร้างและระยะทางโครงการ

โดยตัวโครงการมีแผนการสร้างจะแบ่งออกเป็น5 ระยะ และเมื่อทั้ง 5 ระยะเสร็จจะมีระยะทางรวมทั้งสิ้น 60.1 กิโลเมตร ดังนี้

ระยะที่1 ยมราช-ดอนเมือง ระยะทาง 18.8 กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538

ระยะที่2 ยมราช-หัวลำโพง-หัวหมาก และ มักกะสัน-แม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 18.5 กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2539

ระยะที่3 ดอนเมือง-รังสิต ระยะทาง 7 กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 6 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2540

ระยะที่4 หัวลำโพง-วงเวียนใหญ่ และ ยมราช-บางกอกน้อย ระยะทาง 6.7 กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 7 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2541

ระยะที่5 วงเวียนใหญ่-โพธินิมิตร และ ตลิ่งชัน-บางกอกน้อย ระยะทาง 9.1 กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 8 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542

โดยโครงการโฮปเวลล์ มีอายุสัมปทาน 30 ปี ใช้เวลาทั้งหมด 8 ปี จะต้องสิ้นสุดในปี 2542  แต่พอเวลาสร้างจริงผลปรากฏว่า………

 

จุดเริ่มต้นแห่งหายนะ

การก่อสร้างโครงการโฮปเวลล์ มีจุดเริ่มต้นเมื่อปี 2532 แต่คณะรัฐมนตรีอนุมัติในตอนแรกแค่เพียง 3 ช่วง เป็นระยะทาง 13 กม. เท่านั้น และใช้เงินลงทุน 2,000 ล้านบาท นอกจากนี้โครงการโฮปเวลล์ ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการย้ายหัวลำโพง มายังที่สถานีบางซื่อ ซึ่งอยู่ในรายละเอียดของสัญญาที่บริษัทโฮปเวลล์ทำกับกระทรวงคมนาคม และ รฟท.

นอกจากนี้ รฟท. ยังได้จัดพื้นที่ ที่ดินบางซื่อและมักกะสัน แห่งละ 80 ไร่ สำหรับการก่อสร้างโรงเก็บ โรงซ่อมรถไฟชุมชน แต่ผลปรากฏว่าการก่อสร้าง เป็นไปอย่างล่าช้า จนเป็นเหตุให้ทาง มติคณะรัฐมนตรี จำเป็นต้องลงมาตรวจสอบถึงเหตุผลว่าเกิดจาก่สาเหตุอะไร โดยสาเหตุก็เพราะเกิดจากปัญหาเรื่องเงินทุน แหล่งเงินกู้ หลักทรัพย์ค้ำประกันสัญญา โดยทั้งหมดของปัญหาเกิดจากที่ทางรัฐบาลเร่งรัดการก่อสร้างและสั่งให้ทางโฮปเวลล์ เสนอแผนการเงิน และหลักฐานสัญญาเงินกู้จากสถาบันการเงินที่ให้การสนับสนุน โดยให้เสนอตัวสัญญาที่ลงนามแล้ว มิใช่เพียงเอกสารร่างสัญญาที่ไม่ชัดเจนแน่นอนส่งมอบให้ รฟท. ภายใน 90 วัน นอกจากนี้

ในเดือน พ.ค. 2540 รัฐบาลยังได้อนุมัติให้กระทรวงการคลัง สนับสนุนด้านเงินกู้วงเงิน 2,500 ล้านบาท ในเชิงพาณิชย์แก่โครงการ บวกกับในเวลานั้นรัฐบาลชาติชาย บริหารงานและทำให้เศรษฐกิจของไทยไม่เติบโตเท่าที่ควรแนวโน้มการลงทุนธุรกิจในอสังหาริมทรัพย์ซบเซาลงมาก

นอกจากนี้ตัวโครงการมียังปัญหาเรื่องแบบก่อสร้างไม่ว่าจะเป็น ระยะห่างระหว่างรางรถไฟกับไหล่ทางที่มีน้อยเกินไปเนื่องจากข้อจำกัดของพื้นที่และไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัยสากล ทำให้สะท้อนถึงความไม่รอบคอบในการอนุมัติและการดำเนินโครงการ รวมถึงการทุจริต ทำให้ตัวโครงการก่อสร้างผ่านไป 6 ปี จนถึงปี 2540 ผลความคืบหน้าเดินหน้าไปเพียงแค่ร้อยละ 13.77  จากแผนงานเดิมที่จะต้องคืบหน้าร้อยละ 90  ทำให้ คณะรัฐมนตรีของรัฐบาลนายชวน หลีกภัย จึงมีมติบอกเลิกสัญญาสัมปทาน ในเดือน ม.ค. 2541

นอกจากนี้แหล่งข่าวยังรายงานว่า ผู้บริหารโฮปเวลล์ จำเป็นต้องจ่ายเงินสินบนให้แก่ผู้มีอำนาจทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนรัฐบาลหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการต่อไปได้ นี้เป็นจุดกำเนิดค่าโง่ที่รัฐบาลจะต้องจ่ายคืนให้ทาง  บริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิงส์ในอนาคต

 

โครงการ โฮปเวลล์ ลากยาวถึง 6 รัฐบาล

ค่าโง่ที่รัฐบาลต้องจ่าย

จากสาเหตุที่ทางรัฐบาลไทยได้ทำการยกเลิกสัญญาสัมปทานไปนั้นทำให้ทาง  บริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิงส์ ทำการฟ้องร้องค่าเสียหาย เพราะความหละหลวมของข้อสัญญา ตามข้อสังเกตของทีดีอาร์ไอหลังบอกเลิกสัญญา รฟท. ถือว่าโครงสร้างทุกอย่างเป็นกรรมสิทธิ์ และมีความพยายามนำโครงสร้างบางส่วนมาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต แต่เจ้ากรรมบริษัทโฮปเวลล์ เห็นต่างเพราะว่าการที่ รฟท. เข้ามาใช้ประโยชน์จากโครงการก่อสร้างเดิมนั้น ทางบริษัทโฮปเวลล์ ถือเป็นการยึดหรือเวนคืนระบบหรือพื้นที่สัมปทาน ทำให้เสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ เรียกค่าเสียหายจากการยกเลิกสัญญาจาก กระทรวงคมนาคม และ รฟท. เป็นเงิน 59,000 ล้านบาท

และในปี2551 ช่วงเดือน พ.ย. คณะอนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยชี้ขาด ว่าทั้งสองหน่วยงาน บอกเลิกสัญญาไม่เป็นไปตามขั้นตอน จึงเป็นการบอกเลิกสัญญาโดยไม่มีสิทธิ และให้จ่ายเงินชดเชยแก่โฮปเวลล์ เป็นเงิน 11,889 ล้านบาท  รวมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 หลังจากนั้นทั้งกระทรวงคมนาคม และ รฟท. ก็ดำเนินการฟ้องต่อศาลปกครองจนกระทั่งคดีถึงที่สุดในวันนี้ และรัฐต้องเป็นผู้จ่ายค่าชดเชยแก่บริษัทโฮปเวลล์ ทั้งหมด   โดยระยะเวลาที่บริษัทโฮปเวลล์  ฟ้องร้อง เริ่มตั้งแต่ พ.ย. 2547   จนมาสิ้นสุดที่ เม.ย. 2562 โดยศาลปกครองสูงสุดพิพากษากลับ ยกคำร้องสองหน่วยงานรัฐ ให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการโดยให้ผู้ร้องทั้งสองปฏิบัติตามคำชี้ขาดให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด

สาเหตุของความผิดพลาดทั้งหมด ใครจะต้องรับผิดชอบ

จดเริ่มต้นสาเหตุความผิดพลาดคือทั้งหมด หลักๆเลยเกิดจากการวางแผนที่ไม่รอบคอบ เพราะจุดเริ่มต้นรัฐบาลพล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ  คิดเร็วทำเร็วไม่ดูสัญญาให้รอบคอบเซ็นสัญญา ทั้งๆที่ไม่มีความพร้อมหลายๆเรื่องทั้งการของการส่งคืนพื้นที่ ตามแนวรถไฟ บวกกับภาวะเศรษกิจ บวกกับทำไมถึงกล้าลงทุนให้สัญญาสัมปทานกับทาง

กอร์ดอน วู เจ้าของบริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิงส์มีประวัติ ที่ไม่ดีมาเยอะ  เช่นประมูลโครงการแล้วแบลกเมล์ มาแล้ว หลายที่แล้วเหมือนกัน  สัญญาที่ทำก็ ไม่อนุญาติ ให้ยกเลิกก่อน

ส่วนใครที่จะต้องรับผิดชอบนั้นหากมองกลางๆ  20% รสช. ทั้งคณะ ต้องรับผิดชอบเหตุควรหยุดไฟตั้งแต่เริ่ม   รัฐบาลชาติชายเอาไป 40%  เหตุคิดเร็วทำเร็วไม่ดูสัญญาให้รอบคอบเซ็นสัญญารัฐบาลบวกกับรัฐบาลชุดนี้มีการคอรัปชั่นสูง  รัฐบาลชวนหลีกภัย 40% เพราะทางแก้ปัญหาน่าจะดีกว่านั้นแต่รัฐบาลชุดนี้กลับเลือกการ ปล่อย จนหมดระยะสัญญา แล้วฟ้องเรียก ค่าเสียหาย หรือยกเลืกสัญญาก่อน แล้ว สู้คดี 10 ปี ทำให้ใน10ปีนี้ พื้นที่นั้น ห้ามทำอะไร โครงสร้างที่สร้างไว้ ก็จะใช้ไม่ได้ และยังต้องเสียค่ารื้อถอน

นอกจากนี้การขนส่งมวลชล บริเวณนี้ ต้องชะงักไปหลายสิบปีเพราะ ปชป  ไม่ยอมเสียรู้ กอร์ดอน วู เลยจำเป็น ต้องจ่ายค่าโง่และโอกาสในการพัฒนาประเทศไปหลายสิบปี  เพราะหากเมื่อรู้ว่าเสียท่า กอร์ดอน วู แล้วทำการยอมเสียค่าโง่ไปเลย เช่น   รัฐรับซื้อ คืนโครงการ มาทำต่อเอง กรณีนี้ รัฐต้องจ่ายเงิน ค่าก่อสร้าง รวมกับผลประโยชน์ ในอนาคต ของบริษัท ทั้งหมดเพราะถือว่าเสียรู้ไปแล้วแต่เรายังสามารถนำ พื้นที่นั้นมาใช้ประโยชน์ได้ไม่ใช้ทิ้งให้หมดสัญญาโดยประเทศชาติไม่ได้อะไร

รัฐออกคำสั่งเก็บ ค่าที่จอดรถ สายสีน้ำเงิน เพิ่ม 2 เท่า สูงสุด 400บาท/วัน

 

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก