เป็นปัญหาไม่จบสักทีกับร่างสัญญาเจ้าปัญหา การก่อสร้างโครงการ รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ที่มีวงเงินสร้างสูงถึง 2.2 แสนล้านบาท โดยที่เวลานี้ทางกลุ่มยังคงกังวลในหลายๆเรื่องเพราะกลัวเสร็จไม่ทันอาจจะโดยปรับปีละ 3,240 ล้านบาท
เจาะปม ไฮสปีด เพราะอะไรรัฐถึงเคลียร์กับกลุ่มซีพี ไม่ลงตัวสักที
เวลานี้ กลุ่มซีพี โดยบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ได้ทำการ ส่งหนังสือถึงคณะกรรมการคัดเลือกฯโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเพื่อที่จะต้องการลงนามในสัญญาตามกำหนดเวลา แต่ทางกลุ่มซีพี ได้ให้ความเห็นว่าทางกลุ่มยังคงกังวลใจเรื่องการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการล่าช้าการจัดหาขบวนรถ ไม่ตรงตามเวลา รวมไปจนถึงจำนวนผู้โดยสารไม่ได้ตามเป้า ทั้งหมดทั้งมวลนี้อาจจะส่งผลให้ผู้รับสัมปทานก่อสร้างล่าช้าต้องจ่ายค่าปรับ โดยมีรายละเอียดดังนี้
ร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการ รถไฟความเร็วสูง เชื่อม3สนามบิน วงเงินลงทุน 2.2 แสนล้านบาท มีอะไรบ้าง
- ในร่างสัญญาได้กำหนดค่าปรับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ไม่แล้วเสร็จตามสัญญา จะต้องจ่ายสูงถึง 9,000,000 บาทต่อวัน หรือปีละ 3,240 ล้านบาท ให้แก่ รฟท.
- ส่วนกรณี แอร์พอร์ต เรลลิงก์ ที่เอกชนคู่สัญญาดําเนินงานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ส่วนต่อขยายไม่แล้วจะต้องชําระค่าปรับให้แก่ รฟท. เป็นจํานวนเงิน 2,280,000 บาทต่อวัน และหากมีความล่าช้าก่อให้เกิดความเสียหายแก่ รฟท. และค่าเสียหายมีจํานวนมากกว่าค่าปรับที่กําหนดไว้ กลุ่มซีพีจะต้องชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวให้แก่ รฟท. เท่ากับค่าเสียหาย ที่เกิดขึ้นจริงอีกด้วย
- กรณีที่ กลุ่มซีพีที่เป็น คู่สัญญาดําเนินงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วน งานโครงสร้างพื้นฐานหรือสิ่งปลูกสร้างทางโยธาที่จะเป็นโครงสร้างของโครงการ รถไฟสายสีแดงอ่อนช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และโครงการรถไฟ สายสีแดงเข้มช่วงบางซื่อ-หัวลําโพง ซึ่งอยู่บริเวณหน้าพระตําหนักจิตรลดารโหฐาน ไม่แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาห้5ปีนับจากวันที่เริ่มต้นนับระยะเวลาของ โครงการฯ กลุ่มซีพีที่เป็น คู่สัญญาจะรับผิดชําระค่าปรับให้แก่ รฟท. เป็นจํานวนเงิน 320,000 บาทต่อวัน
- กรณีที่ กลุ่มซีพีที่เป็น คู่สัญญา ดําเนินงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของ งานโครงสร้างพื้นฐานหรือสิ่งปลูกสร้างทางโยธาที่จะเป็นโครงสร้างทางวิ่งร่วมกับ โครงการรถไฟความเร็วสูงสายเหนือและโครงการรถไฟความเร็วสูงสาย ตะวันออกเฉียงเหนือช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองไม่แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลา5 ปี นับจากวันที่เริ่มต้นนับระยะเวลาของโครงการฯ กลุ่มซีพีที่เป็น คู่สัญญาจะรับผิดชําระ ค่าปรับให้แก่ รฟท. เป็นจํานวนเงิน 400,000 บาทต่อวัน
5 ปัญหาหลักที่ รฟท. ต้องรีบเคลียร์ โดยเร็ว
- บอกเลิก 400 สัญญา
ยกเลิก 400 คู่สัญญาเช่าพื้นที่ระหว่างเอกชนกับ รฟท. จากดอนเมือง-อู่ตะเภา - รีบเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
โดยมีทั้งหมด2 ช่วงได้แก่ ช่วงแรก ดอนเมือง-พญาไท ทั้งหมด 25 แปลง รวมสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ทั้งหมด 21 หลังคาเรือน ช่วงที่สอง ลาดกระบัง-อู่ตะเภา ทั้งหมด 1,226 แปลง รวมสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ทั้งหมด 250 หลังคาเรือน รวมเนื้อที่ทั้งหมด 850 ไร่ - เคลียร์และรื้อถอน 3000 ครัวเรือน
มีสิ่งปลูกสร้างที่ รฟท ต้องเคลียร์ ตั้งแต่ บางซื่อ, หัวหมาก, มักกะสัน, พญาไท, ดอนเมือง รวมทั้งหมด3000 ครัวเรือน - เคลียร์ตอม่อโฮปเวลล์
รฟท. ต้องทำการจ่ายค่า ทุบทำลายตอม่อโฮปเวลล์ จำนวน 90 ต้น ตั้งแต่ บางซื่อ-พญาไท โดยค่าใข้จ่ายต้นละประมาณ 2-3 แสนบาท รวมเป็นเงินประมาณ 27,000,000 บาท ให้แก่กลุ่มซีพี รับผิดชอบทุบทำลาย - รื้อย้ายสาธารณูปโภคของหน่วงงานรัฐ
รฟท. ต้องเคลียร์สาธารณูปโภคของหน่วงงานรัฐ ทั้งมดในพื้นที่ การก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
เพราะอะไร มอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรี ถึงสร้างช้ากว่าแผน 2 ปี
ต.ค.นี้ เปิดใช้ สะพานยกระดับข้ามมอเตอร์เวย์เชื่อม “ ถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า ”