หลังจากเมื่อเร็วๆ ได้มีการ ขีดเส้นข้อกำหนด จากทาง ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ที่ได้ออกกฎคุมหนี้ครัวเรือน ทำให้เหล่าสถาบันการเงินในประเทศไทยหลายๆที่มีการออก กฎเกณฑ์ พิจารณา สินเชื่อ ใหม่กันหลายที่เพื่อรับมือ หนี้ครัวเรือนที่พุ่งที่เริ่มมีอัตราการขยายตัวเร็วกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
หนี้ครัวเรือนไทยขยายตัวเร็วกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
จากการที่ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมานั้นมีอัตราการขยายตัวเร็วกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจนที่ส่วนใหญ่มาจากการขยายตัวของสินเชื่อส่วนบุคคล ทั้งการขอกู้ซื้อบ้าน กู้ซื้อรถยนต์ และ หนี้บัตรเครดิต ทำให้หนี้ครัวเรือนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว จนทำให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จำเป็นต้องรีบกำหนดมาตรการควบคุมการก่อหนี้ครัวเรือนด้วยการกำหนดให้สถาบันการเงินคำนวณภาระหนี้ต่อรายได้ในการปล่อยกู้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยจะต้องกำหนดนิยามของหนี้และ รายได้ต่างๆ ให้ชัดเจน ว่าผู้ทำเรื่องขอกู้ มีรายได้เท่าไร มีค่าล่วงเวลาหรือไม่ นอจากนี้ยังต้องทราบไปจนถึงรายได้ของคนค้ำประกันด้วยเพื่อจะได้มาคำนวณสินเชื่อเพื่อปล่อยกู้
ทางด้าน นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพทางการเงิน ธปท. ได้ออกมาแสดงความเห็นว่า ในเดือนมิถุนายน ธปท.จะกำหนดสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ (DSR) ที่เป็นมาตรฐานกลางเพื่อให้ธนาคารใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อ เพราะก่อนหน้านี้ทางเราได้ทำการรวบรวมข้อมูลและประเมินจากการเข้าไปตรวจสอบแต่ละธนาคารจนพบว่า การกำหนดสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ที่เป็นมาตรฐานกลางในการพิจารณาสินเชื่อของแต่ละธนาคาร(โดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์) ยังมีความเปราะบางในการปล่อยสินเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดอัตราหนี้ต่อรายได้ไว้สูง เกิดความจำเป็นทำให้ ลูกหนี้มีปัญหาโดยเฉพาะเมื่อถึงเวลาจ่ายหนี้จะทำให้ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการครองชีพอาจที่ไม่เพียงพอ
เกณฑ์พิจารณา สินเชื่อ กสิกรไทยคุมหนี้ต่อรายได้ต้อง 50% ขึ้นเป็นหลัก
นายสุรัตน์ ลีลาทวีวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย ได้ให้ความเห็นว่า สัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ของธนาคารกสิกรไทย จะกำหนดหลักการพิจารณาปล่อยสินเชื่อเฉลี่ยอยู่ในระดับ 50% ขึ้นอยู่กับประเภทสินเชื่อและความสามารถการชำระหนี้ของลูกค้าเป็นหลัก กรณีที่ธปท.ต้องการคุมภาระหนี้ต่อรายได้มาจากสัญญาณหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากสินเชื่อสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่และสินเชื่อรถยนต์ที่เวลานี้กำลังขยายตัวต่อเนื่อง คาดว่าในปีนี้สินเชื่อทั้ง 2 ประเภทยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าธปท.จะออกมาตรการเพื่อควบคุมภาระหนี้ของครัวเรือนไม่ให้เพิ่มขึ้นมาก่อนหน้านี้ก็ตาม
ธนชาต มั่นใจแบงก์ชาติทำถูก
นายประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคาร ธนชาต จำกัด (มหาชน) ได้ให้ความเห็นว่า เวลานี้ทางธนาคารธนชาตมีเกณฑ์พิจารณา DSCR ในการอนุมัติสินเชื่อเป็นปกติอยู่แล้ว โดยพิจารณารายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าตามประเภทสินเชื่อ โดยธนาคารจะแบ่ง ลูกค้าออกประมาณ 15 กลุ่ม โดยจะวิเคราะห์ตามพฤติกรรมการใช้จ่าย รายได้ และนำมาคัดกรองคัดกรอง เพื่อพิจารณาปล่อยสินเชื่อ ให้ โดยระบบคัดกรองแบบนี้เรียกว่า ระบบ Master Scale นอกจากนี้ทาง นายประพันธ์ ยังมั่นใจว่าที่ ธปท.จะออกหลักเกณฑ์กำกับดูแลเรื่อง DSCR จะไม่ส่งผลกระทบต่อ ทางธนาคาร ธนชาต อย่างแน่นอน เพราะสิ่งที่ทาง ธปท.ทำนั้นเป็นเรื่องที่ดีทั้งต่อระบบของทางสถาบันการเงินในประเทศแล้วยัช่วยทำให้ประชาชนมีวินัยทางการเงินมากขึ้นส่งผลให้ช่วยลดหนี้ครัวเรือนที่ปัจจุบันอยู่ในระดับสูงได้อย่างแน่นอน
ธปท. มั่นใจสร้างมาตรฐานใหม่ในการปล่อยกู้
สิ่งที่ ธปท.ทำนั้นเพื่อให้ สถาบันการเงินแน่ใจว่าการปล่อยสินเชื่อจะเป็นการปล่อยสินเชื่อเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ทำให้ทาง ธปท. จำเป็นต้องออกมาตรฐานสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ ให้มีบรรทัดฐานที่เหมือนกัน เพื่อแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนให้สามารถเดินหน้าไปอย่างยั่งยืน รวมทั้งอนาคตอาจจะใช้ปัจจัยอื่นพิจารณาด้วยเพื่อทำให้แก้ปัญหาได้หลากหลาย เพราะในช่วงที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)และ สมาคมธนาคารไทย (TBA) กับตัวแทนสมาชิกธนาคารได้เข้าร่วมประชุมหารือเรื่อง อัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ DSCR เพื่อหาแนวทางสำหรับการกำหนดวิธีคำนวณรายได้และภาระหนี้ให้มีวิธีการคำนวณออกมาให้ชัดเจนไปในแนวทางเดียวกันหมดทุกๆธนาคารในประเทศไทย เพื่อแก้ปัญหาการปล่อยสินเชื่อของแต่ละธนาคารที่แตกต่างกันออกไป
ผ่านแล้ว บิ๊กตู่อนุมัติให้ ซี.พี. ลงทุนไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน งบ 149,650 ล้านบาท
กทม. บอกเอง ผังเมือง ใหม่ เน้นพัฒนาที่ดินแถวแนวรถไฟฟ้าเป็นหลัก