DotProperty.co.th

เจ้าบ้าน กับ เจ้าของบ้าน สิทธิและหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร

เชื่อว่ายังมีหลายท่านที่แยกไม่ออกระหว่าง เจ้าบ้าน กับ เจ้าของบ้าน นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร และมีอีกหลายท่านที่ยังสับสนและเข้าใจว่ามันก็คืออันเดียวกันมาโดยตลอด แค่เรียกต่างกันเท่านั้นด้วยซ้ำ วันนี้เราจึงอยากจะมาขออธิบายถึงความแตกต่างที่ เจ้าบ้าน ต่างกัน หรือเหมือนกันกับเจ้าของบ้านยังไง มีสิทธิหน้าที่ทางกฎหมายอย่างไรบ้าง ในทะเบียนราษฎร

 

หน้าที่ของ เจ้าบ้าน และ เจ้าของบ้าน

เจ้าของบ้าน คือ ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อใน โฉนดที่ดิน อันเป็นหลักฐานในการทำสัญญาซื้อขาย กล่าวคือ เป็นผู้ที่มีสิทธิ์ที่จะ จำหน่าย จ่ายโอน ในที่ดินและบ้านหลังนั้น ตามกฎหมายแพ่งและพานิชย์ อีกทั้งยังมีอำนาจที่จะแต่งตั้งใครก็ตามมาเป็นเจ้าบ้านหลังนั้น เพื่อให้เป็นผู้มีหน้าที่ดูแลภายในบ้านได้อีกด้วย

เจ้าบ้าน คือ คนที่มีหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัวในบ้านหลังนั้น ซึ่งดารครอบครองนี้อาจเป็นเจ้าของบ้าน ผู้เช่า หรือในฐานะอื่นๆก็ได้ และหน้าที่ของผู้เป็นเจ้าบ้านในบ้านหลังนั้น ตามกฎหมายทะเบียนราษฎร ได้กำหนดให้ผู้เป็นเจ้าบ้าน มีหน้าที่ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนดังต่อไปนี้

  1. มีคนเกิดในบ้าน
  2. มีคนตายในบ้าน
  3. มีคนย้ายออก – ย้ายเข้ามาบ้านหลังนั้น
  4. มีสิ่งปลูกสร้างบ้านใหม่ หรือรื้อถอน
  5. ขอเลขที่บ้าน
  6. เมื่อมีการรื้อถอนบ้าน

โดยที่เกือบทุกกิจกรรมจะต้องทำการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่นายทะเบียน ภายในระยะเวลา 15 วันหลังจากที่มีการกระทำการทำอันใดไปแล้ว ยกเว้นเสียแต่หากมีคนเสียชีวิต จะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลา 24 ชม. หากไม่แจ้งถือว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 โทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

จะเห็นได้ว่าเจ้าบ้านมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการกรรมเหตุการต่างๆที่เกิดขึ้นในบ้านหลังที่ตนเป็นเจ้าบ้านเกือบทั้งหมด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เจ้าบ้านก็จะไม่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ในการทำธุรกรรมซื้อขายใดๆทั้งสิ้น นอกเสียจากเจ้าบ้านจะเป็นคนเดียวกันกับเจ้าของบ้านผู้มีชื่ออยู่ในหนังสือกรรมสิทธิ์ หรือโฉนดที่ดินนั้น

 

ทำไมเป็นเจ้าของบ้านหลายหลังได้ แต่เป็นเจ้าบ้านเองทุกหลังไม่ได้

กรณีที่ผู้เป็นเจ้าของบ้าน ที่มีบ้านมากกว่า 1 หลัง แต่ไม่สามารถเป็นเจ้าบ้านเองได้ทุกหลังนั้นเพราะในทะเบียนราษฎร ได้กำหนดไว้แล้วว่า 1 บุคคลสามารถมีภูมิลำเนาได้เพียงภูมิลำเนาเดียวเท่านั้น จึงเป็นเหตุให้ผู้เป็นเจ้าของบ้าน สามารถมีชื่อเป็นเจ้าของบ้านได้เพียงที่เดียว ส่วนบ้านที่เหลือ ผู้เป็นเจ้าของบ้านจะต้องทำการแต่งตั้งเจ้าบ้านขึ้นมาเพื่อให้มีหน้าที่ดูแลการย้ายเข้าย้ายออกของผู้อยู่อาศัยภายในบ้านนั้นๆ

 

พินัยกรรม นิติกรรมสำหรับการกำหนดผู้มีสิทธิรับมรดก

 

 

หลักเกณฑ์การขออนุญาต จัดสรรที่ดิน สำหรับแบ่งขาย

 

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก