DotProperty.co.th

เปรียบเทียบให้เข้าใจ…ข้อดี-ข้อเสีย และข้อควรระวังในการลงทุนกับ NPA

ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าแม้NPA ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินรอการขายของสถาบันการเงิน หรือเป็นทรัพย์สินขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี
จะมีราคาถูก แต่ก็เป็นของมือสอง ดังนั้นจะตัดสินใจซื้อเพียงจากราคาอย่างเดียวไม่ได้ ผู้ที่ต้องการจะลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์มือสอง NPA
จึงต้องหาข้อมูลเปรียบเปรียบข้อดีข้อเสียก่อนทำการตัดสินใจ

ข้อดี-ข้อเสีย และข้อควรระวังในการลงทุนกับ NPA01

ข้อดีของบ้านและคอนโดNPA
1. มีโอกาสได้ของดี ราคาถูก

2. มีทางเลือกหลากหลาย

3. สะดวกขอสินเชื่อ ในกรณีที่ต้องการกู้กับสถาบันการเงิน เพราะสถาบันการเงินจะเสนอวงเงินในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าสินเชื่อทั่วไป
เพราะสถาบันการเงินเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และย่อมต้องการลดภาระจากสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อย่าง NPA

4. มักมีโปรโมชั่น สถาบันการเงินมักจะมีโปรโมชั่นต่างๆ เช่น ฟรีค่าทำเนียมทุกรายการ ทำให้เราเบาภาระการเสียค่าทำเนียม เช่น ค่าโอนเป็นต้น

5. เอกสารมีความชัดเจน แน่นอน เพราะสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จะเป็นผู้ดำเนินการให้อย่างครบถ้วน เพียงคุณชำระเงินตามกำหนดเวลา
ก็แทบไม่ต้องกังวลอะไรเลย

ข้อดี-ข้อเสีย และข้อควรระวังในการลงทุนกับ NPA02

ข้อเสียของบ้านและคอนโดNPA

1. สภาพทรุดโทรม โดยบ้านและคอนโดมือสอง NPA อาจมีสภาพที่ทรุดโทรมกว่าบ้านหรือคอนโดที่ถูกปล่อยขายโดยเจ้าของบ้านโดยตรงหรือบริษัทนายหน้า

2. ปัญหากับเจ้าของเก่า เนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่ถูกยึดจากการไม่ชำระหนี้ คุณจึงอาจเสียเวลากับการฟ้องขับไล่ ดังนั้นการเลือกบ้านหรือคอนโดมือสองNPA
ควรเลือกที่ไม่มีผู้อยู่อาศัย โดยอาจลองไปสำรวจพื้นที่เองก่อน และลองสอบถามผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้ว่าบ้านหลังนี้มีคนอาศัยอยู่หรือไม่ หากยังมีคนอาศัยอยู่ต้องให้ทางสถาบันการเงินจัดการให้รีบร้อยก่อน

ข้อดี-ข้อเสีย และข้อควรระวังในการลงทุนกับ NPA03

แม้ว่าการลงทุนกับNPAจะมีความเสี่ยง แต่ความเสี่ยงก็สามารถลดลงได้ด้วยการหาข้อมูลและทำความเข้าใจอย่างรอบด้าน เพื่อช่วยให้การตัดสินใจง่ายขึ้น