เปิดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 3.16 แสนล้านบาท ภาคอสังหาริมทรัพย์ ประชาชนได้รับอานิสงส์อะไรกันบ้าง

มาแล้วมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจ วงเงิน 316,813 ล้านบาท กับ 4 มาตรการหลัก กระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้โตวันโตคืน ว่าแล้วภาคอสังหาริมทรัพย์ ได้รับอานิสงส์อะไรกันบ้างนะ หลังจากที่เมื่อเร็วๆนี้ทาง ครม.ได้มีมัติเห็นชอบออกอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใน วงเงินสูงถึง 316,813 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นเงินจาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ออมสิน กรุงไทย วงเงิน 270,000 ล้านบาท เงินโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 20,000 ล้านบาท และเงินในส่วนของ งบประมาณรัฐอีกจำนวน40,000 ล้านบาท  เพื่อสานฝันคนไทยให้มีความสุข กับ 4 มาตรการหลัก โดยในวันนี้เราจะพาไปดูกันว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์ ประชาชนได้รับอานิสงส์อะไรกันบ้าง

 

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 3.16 แสนล้าน ภาคอสังหาฯประชาชนได้รับอานิสงส์อะไรกันบ้าง

เศรษฐกิจ

1.สินเชื่อที่อยู่อาศัยดอกเบี้ยต่ำ

ธอส. และ ออมสิน  ขานรับตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ  ออกสินเชื่อบ้านพร้อมลดดอกเบี้ยเหลือร้อยละ 2.5-2.75 ตามนโยบายแม้ลดแล้วกระทบกำไรหายแต่ถ้าเป็นนโยบายพร้อมทำตาม  โดยล่าสุดทางฝั่ง ธอส.  เปิดเผยว่า ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในส่วนของธอส.วงเงิน 27,000 ล้านบาท ซึ่งจะใช้เงินจากการระดมทุนจากสลากออมทรัพย์ ธอส.รุ่นที่ 1 ชุดวิมานเมฆ วงเงิน 27,000 ล้านบาท โดยเบื้องต้นกำหนดเงื่อนไขกู้ซื้อบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ไม่จำกัดรายได้ผู้กู้ ส่วนอัตราดอกเบี้ย ขณะนี้สามารถลดเหลือ 3% ได้ทันที แต่ยังมีช่วงที่ปรับลดลงได้เหลือ 2.5-2.75% ซึ่งต้องเจรจากับกระทรวงการคลังถึงความเหมาะสมของอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง  โดยวงเงินที่ทั้งสองธนาคารเตรียมไว้อยู่ที่ เมล็ดเงิน 52,000 ล้านบาท

เศรษฐกิจ

2.รัฐสนับสนุนเอสเอ็มอีรายย่อย ให้กองทุนสำหรับการลงทุน

ผ่านกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยร่วมกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ให้วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย 1% ต่อปี และ 3.โครงการค้ำประกันสินเชื่อระยะที่ 8 (PGS8) วงเงิน 150,000 ล้านบาท ระยะเวลาค้ำประกัน 10 ปี ค่าธรรมเนียมค้ำประกันเฉลี่ยไม่เกิน 1.75% 4.มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการลงทุนของบริษัทเอกชนหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายลงทุนในเครื่องจักรได้ 1.5 เท่าของที่จ่ายจริง ตั้งแต่ 1 ก.ย.2562 ถึง 31 พ.ค.2563

เศรษฐกิจ

 

มาตรการหลัก กระตุ้นเศรษฐกิจไทยด้านอื่นจะประกอบด้วย

1.เพิ่มเงินช่วยเหลือผ่านบัตรคนจนและกองทุนหมู่บ้าน  ย้อนหลังระหว่างเดือน ส.ค.-ก.ย.

1.1.ผู้มีบัตรสวัสดิการฯ ทุกคน 14.5 ล้านคน จะได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มอีก 500 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นเวลา 2 เดือน

1.2ผู้สูงอายุที่ถือบัตรสวัสดิการฯ ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มอีก 500 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นเวลา 2 เดือน

1.3ช่วยเหลือการเลี้ยงดูบุตรแก่ผู้มีบัตรสวัสดิการฯ ที่มีอายุ 0 ถึง 6 ขวบ ได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มอีกจำนวน 300 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นเวลา 2 เดือน

1.4.พักชำระหนี้เงินต้นของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่คงค้างกับสถาบันการเงิน 50,732 แห่ง โดยเป็นหนี้ ธ.ก.ส. 27,249 แห่ง และธนาคารออมสิน 23,483 แห่ง โดยพักชำระหนี้เฉพาะเงินต้นเท่านั้น

เศรษฐกิจ

2.บรรเทาค่าครองชีพสำหรับเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้งปี 2562

2. 1 ตั้งแต่ วันที่ 1 ส.ค.2562 ถึงวันที่ 31 ก.ค.2563  เกษตรกรผู้ประสบภัยแล้งรับ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ จาก ธ.ก.ส.จะให้สินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ในอัตราดอกเบี้ย 0.1% ต่อปี วงเงินกู้ไม่เกิน 300,000 บาท ระยะเวลา 1 ปี

2.2.เพิ่มเวลาชำระหนี้เงินกู้ให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง เป็นเวลา  2 ปี

2.3.รัฐจะช่วยสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 จะจ่ายเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท แต่1 ครัวเรือนต้องไม่เกิน 20 ไร่

เศรษฐกิจ

3.กระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ

มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ “ชิมช็อปใช้”สนับสนุนการใช้จ่ายผ่านระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยภาครัฐ (g-Wallet)  โดยผู้ที่ผ่านการลงทะเบียนจะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้

1.รัฐบาลสนับสนุนเงิน 1,000 บาทต่อคน

2.ผู้ลงทะเบียนใช้เงินเพิ่มเพื่อใช้จ่ายค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าที่พัก โดยรัฐบาลจะชดเชยเงินคืนให้เป็นจำนวนเท่ากับ 15% ของยอดชำระเงินที่จ่ายจริง  แต่ไม่เกิน 4,500 บาทต่อคน

เศรษฐกิจเศรษฐกิจ

บ้านมือสอง

เทกระจาด บ้านมือสอง 1.4 แสนล้าน รับมาตรการปลดล็อกผู้กู้ร่วม

 

 

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก