เปิดใช้ใช้แล้ว อุโมงค์ทางลอด เชื่อมจังหวัดหนองคาย หลังกรมทางหลวงเร่งเดินหน้าโครงการแล้วเสร็จพิ่มประสิทธิภาพให้ถนนวงแหวนรอบเมืองอุดรธานีด้านเหนือ ให้ผ่านจุดตัดทางแยกได้โดยไม่ต้องหยุดรอสัญญาณไฟจราจรแต่อย่างใด สนับสนุนการเดินทางท่องเที่ยวของประชาชนเชื่อมโยงการเดินทางระหว่าง 3 จังหวัด ทั้งอุดรธานี หนองคาย และสกลนคร
เปิดใช้ อุโมงค์ทางลอด อุดร-หนองคาย วิ่งฉิวยาวๆ ไม่ต้องหยุดรอสัญญาณไฟ
ตามข้อมูลของกรมทางหลวงโครงการนี้เป็นการก่อสร้างทางแยกต่างระดับจุดตัดทางหลวงหมายเลข 2-กับถนนวงแหวนรอบเมืองอุดรธานี (ด้านเหนือ) จ.อุดรธานี ด้วยวงเงินกว่า 1,048 ล้านบาท มี “ห้างหุ้นส่วนจำกัด นภาก่อสร้าง” เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างเริ่มงานตั้งแต่ปี 2560 จนเร่งให้เสร็จเปิดใช้ก่อนปีใหม่ 2563
จุดที่ตั้งของโครงการอยู่ทางแยกจุดตัดระหว่างทางหลวงหมายเลข 2 สายอุดรธานี-หนองคาย กับทางหลวงหมายเลข 216 หรือถนนวงแหวนรอบเมืองอุดรธานีด้านเหนือ จ.อุดรธานี ที่ กม.15+330.000 ถึง กม.17+393.000 ทางหลวงหมายเลข 216 หรือถนนวงแหวนรอบเมืองอุดรธานีที่ กม.119+630.000 ถึง กม.121+400.000 ทางหลวงหมายเลข 2
ละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการประกอบด้วย งานก่อสร้างสะพานยกระดับคู่กันสองสะพานข้ามทางแยก ทางลอดขนาดรวม 4 ช่องจราจร ความยาวประมาณ 990 เมตร โครงสร้างกำแพงกันดิน diaphragm wall หนา 0.80 เมตร ความลึก 14-20 เมตร สะพานลอยคนเดินข้ามจำนวน 4 แห่ง สร้างคันทางใหม่และขยายคันทางเดิมบนทางหลวงหมายเลข 2 และทางหลวงหมายเลข 216 ระยะทางรวม 3.833 กม. ยังมีอาคารควบคุมระบบไฟฟ้าและระบบสูบน้ำ งานอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย งานประติมากรรม งานปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณทางแยกและเกาะกลาง งานไฟฟ้าแสงสว่าง ป้ายจราจร งานสีตีเส้นจราจร งานวางท่อระบายน้ำในทางลอดและบนสะพาน
ไฮไลต์ของโครงการนี้จะมีสถาปัตยกรรมและประติมากรรม ผนังอุโมงค์ทางลอดให้สอดรับกับศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตของท้องถิ่น ในเบื้องต้นจะเป็นลายขันหมากเบ็งในผ้าขิด ส่วนเสาสะพานทางข้ามจะนำเอกลักษณ์ไหบ้านเชียงมาใช้ เป็นแลนด์มาร์กให้กับเมืองอุดรธานี เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรบริเวณจุดตัดดังกล่าวให้เกิดความคล่องตัวของการสัญจร รองรับปริมาณจราจรในอนาคต ช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางระหว่างจังหวัดอุดรธานี และจังหวัดหนองคาย
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
เมือง สระบุรี ดันปรับผังเมือง อัพที่ดินให้พุ่ง 10 ล.ต่อไร่ รับรถไฟความเร็วสูงและมอเตอร์เวย์
มาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจ ของรัฐ สำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์ ดีจริงหรือไม่