เมื่อครั้งก่อนเราได้รู้ถึง เอกสารสิทธิ์ที่ดิน ก่อนกฎหมายที่ดินจะมีผลบังคับใช้กับหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินกันไปแล้ว วันนี้เราจะมาพูดถึง เอกสารแสดงสิทธิที่ดินหลังประมวลกฎหมายที่ดินบังคับใช้ และอื่นๆ เราไปรับชมกันพร้อมๆกันเลยครับ
เอกสารสิทธิ์ที่ดิน หลังประมวลกฎหมายที่ดินบังคับใช้
แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1)
แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) เป็นใบแจ้งว่าใครเป็นคนผู้ครอบครองที่ดินแปลงนั้นอยู่ ปัจจุบันจะไม่มีการแจ้ง ส.ค.1 แล้ว ส.ค.1ไม่ใช่หนังสือแสดงสิทธิที่ดิน เพราะไม่ใช่หลักฐานที่ทางราชการออกให้ แต่เป็นแค่การแจ้งการครอบครองที่ดินของราษฎรเท่านั้น ดังนั้นตามกฎหมายที่ดินที่มี ส.ค.1จึงทำการโอนกันได้เพียงแต่แสดงเจตนาสละการครอบครอง ผู้ที่มี ส.ค.1 มีสิทธินำมาขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 น.ส.3 ก. หรือ น.ส.3 ข.) ได้ 2 กรณีคือ
- กรณีที่ 1 นำมาเป็นหลักฐานในการขอออกโฉนดที่ดินตามโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินทั่วประเทศกรณีทางราชการจะเป็นผู้ออกให้เป็นท้องที่ไปโดยจะมีการประกาศก่อนล่วงหน้า
- กรณีที่ 2 นำมาเป็นหักฐานในการขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 น.ส.3 ก. หรือ น.ส.3 ข.) เฉพาะราย คือกรณีที่เจ้าของที่ดินมีความประสงค์จะขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก็ไปยื้นคำขอ ที่สำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่
ใบจอง (น.ส.2)
คือหนังสือที่ทางราชการออกให้เพื่อเป็นการแสดงความยินยอมให้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินชั่วคราว จะออกให้แก่ราษฎรที่ทางราชการได้จัดที่ดินให้ทำกินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งทางราชการจะมีประกาศเปิดโอกาสให้จับจองเป็นคราวๆ ทั้งนี้การออกใบจองจะได้ 2 กรณีด้วยกัน
- อธิบดีกรมที่ดินจัดที่ดินของรัฐให้แก่ประชาชน ซึ่งเรียกกันว่า “ การจัดที่ดินผืนใหญ่ ” เมื่อใครได้ครอบครอบแล้ว เจ้าหน้าที่จะออกใบจองไว้ให้เป็นหลักฐาน
- ราษฎรของจับจองที่ดินซึ่งเป็นที่ดินแปลงเล็กๆ หรือเรียกว่า “ หัวไร่ปลายนา ” เมื่อเจ้าหน้าที่อนุญาตแล้วก็ก็จะออกใบจองให้ไว้เป็นหลักฐาน
ผู้มีใบจองจะต้องเริ่มทำประโยชน์ในที่ดินภายใน 6 เดือนและต้องทำประโยชน์ในที่ดินให้เสร็จภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้รับใบจองและจะต้องทำประโยชน์ให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 75 ของที่ดินที่จัดให้ ที่ดินที่มีใบจองจะไม่สามารถโอนให้แก่ผู้อื่นได้ยกเว้นจะตกทอดจากมรกดเมื่อทำประโยชน์ครบตามเงื่อไขแล้ว็มีสิทธินำใบจองนั้นมาขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3, น.ส.3 ก. และ น.ส.3 ข.) หรือโฉนดที่ดินได้ แต่หนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินนั้นจะต้องตกอยู่ภายใต้ข้อบังคับห้ามโอนตามกฎหมาย
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ,น.ส.3 ก. และ น.ส.3 ข.)
เป็นหนังสือที่เจ้าหน้าที่ออกให้แก่ผู้ซึ่งทำประโยชน์ในที่ดินจนครบตามหลักเกณฑ์ของทางราชการ ซึ่งจมีคุณค่าในการรับรองสิทธิมากกว่าใบจอง หรือ ส.ค.1 การออกหนังสือรับรองกการทำประโยชน์จะมีการรังวัดสอบสวนเนื้อที่ให้แน่นอนยิ่งขึ้น มีการปักหลักทำเครื่องหมายที่ดิน ต่างจาก ส.ค.1 โดยที่เจ้าหน้าที่ไม่ได้ออกไปตรวจดูที่ดินเลย ในทางกฎหมายที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์เจ้าของจะมีสิทธิครอบครองที่ดินนั้น แต่ยังไม่มีสทธิ์เหมือนที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน
ปัจจุบันหนังสือรับรองการทำประโยชน์เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการที่รัฐบาลกำลังเร่งรัดออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั่วประเทศ โดยใช้เครื่องบินถ่ายรูปทางอากาศ มีการลงแผนที่ระวางคำนวนเนื้อที่อย่างละเอียดคล้ายกับการออกโฉนดที่ดิน และทางราชการได้กำหนดแบบหนังสือรับรองการทำประโยชน์อีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า น.ส.3 ก. จะออกให้เฉพาะที่ดินซึ่งได้สร้างระวางรูปถ่ายทางอากาศแล้วเท่านั้นโดยหนังสือรับรองการทำประโยชน์ประเภท น.ส.3 ก. สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทขอออกแล้วโอนทันที และ ประเภทที่บังคับห้ามการโอนภายในระยะเวลา 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แบบ น.ส.3 ข. ใช้สำหรับท้องที่ที่ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศยกเลิกอำนวจของหัวหน้าเขต นายอำเภอ ปลัดอำเภอ
ส่วน น.ส.3 นั้นออกให้แก่ผู้ครอบครองที่ดินทั่วๆไปในพื้นที่ที่ไม่มีระวาง มีลักษณะเป็นแผนที่รูปลอยไม่มีกำหนดตำแหน่งที่แน่นอน หรือออกในท้องที่ที่ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ ซึ่งรัฐมนตรียังไม่ได้ประกาศยกเลิกอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติการตามประมวลกฎหมยที่ดินของหัวหน้าเขต นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าเขต นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหย้าประจำกิ่งอำเภอ นายอำเภอในท้องที่จะเป็นผู้ออกให้ที่ดินซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วสามารถทำนิติกรรมใดๆ ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย หากเนื้อที่ใน น.ส.3 ไม่ครงกับเนื้อที่ใน ส.ค.1 ต้องถือว่าเนื้อที่ที่ปรากฎใน น.ส.3 ถูกต้องกว่าเสมอ
ใบไต่สวน (น.ส.5)
เมื่อเจ้าหน้าที่จะออกแนกที่ดินให้กับผู้ใดจะมีการเดินสำรวจที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดินจะต้องนำเจ้าหน้าที่ชี้วัดเขต ให้ความสะดวก นำรังวัด เจ้าหน้าที่จะสอบสวนรายระเอียดเกี่ยวกับเขตที่ดิน ประวัติของที่ดิน ว่าได้มาอย่างไร ใครเป็นเจ้าของติดต่อกับที่ดินข้าวเคียงของใคร โดยเจ้าหน้าที่จะจดรายละเอียดไว้ในใบไต่สวน แล้วประกาศแจกโฉนดที่ดิน เมื่อไม่มีใครคัดค้านก็จะนำรายละเอียดที่อยู่ในใบไต่สวนมาจดลงบนโฉนดที่ดินตามแบบฟอร์มแล้วแจกโฉนดที่ดินไปให้ใบไต่สวนจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
คือใบไต่สวนชนิดที่เจ้าของมีกรรมสิทธิครอบครอง ที่ดินที่เจ้าของเคยมีกรรมสิทธิ์มาก่อนแล้ว เช่น ที่ดินที่มีโฉนดแบบเก่าหรือที่ดินที่มีความจำเป็นต้องออกโฉนดใหม่ รวมทั้งที่ดินที่เคยเป็นบ้านที่สวนตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จด้วยนั้น เมื่อมีการออกใบไต่สวนให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นการชั่วคราวเพื่อออกโฉนด ใบไต่สวนก็จะก็จะถือวาเป็นเอกสารแสดงกรรมสิทธ์ในที่ดิน ส่วนใบไต่สวนที่ออกให้สำหรับที่ดินที่ยังไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ใบไต่สวนก็จะเป็นแค่เพียงใบแสดงสิทธิครอบครองเท่านั้น
ใบนำ
มีฐานะเหมือนใบไต่สวน เจ้าหน้าที่รังวัดที่ดินของตนเพื่ออกโฉนดที่ดิน ตาม พระราชบัญญัติการออกโฉนดที่ดิน ร.ศ.127 เมื่อผู้นั้นจะขอรับโฉนดที่ดินจะต้องนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินที่มีใบไต่สวนหรือใบนำ ถือเป็นที่ดินที่ทำประโยชน์แล้ว สามารถทำนิติกรรมได้ ไม่จำเป็นต้องขอคำรับรองการทำประโยชน์จากทางราชการ
โฉนดที่ดิน
เป็นหนังสทอสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งออกให้ตามประมวลกฎหมายที่ดินในปัจจุบันนอกจากนี้ยังรวมถึงโฉนดแผนที่ โฉนดตราจองและตราจองที่ว่า “ ได้ทำประโยชน์แล้ว ” ที่ออกให้ตามกฎหมายเก่าแต่ก็ถือว่ามีกรรมสิทธิ์เช่นกัน ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดิน มีสิทธิขัดขวางไม่ให้ผู้ใดมาเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิจำหน่าย ฯลฯ
หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด
ออกตามประราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 เจ้าของห้องชุดแต่ละห้องจะมีกรรมสิทธิ์ใน “ ทรัพย์ส่วนบุคคล ” คือห้องชุดของอาคาร และยังมีกรรมสิทธิ์ร่วมใน “ ทรัพย์ส่วนกลาง ” เช่น บันได้ ทางเดิน สนามเด็กเล่น สนามกีฬา และสระว่ายน้ำเป็นต้น
ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …
ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่