เอาใจมนุษย์เงินเดือนที่อยากมีบ้าน Ep3 ตอนจบ ผ่อนดาวน์ ทางเลือกสำหรับคนไม่ชอบเก็บเงิน

ผ่อนดาวน์,เงินดาวน์,เงินผ่อนดาวน์,กู้ร่วม,กู้ร่วมซื้อบ้าน
ผ่อนดาวน์,เงินดาวน์,เงินผ่อนดาวน์,กู้ร่วม,กู้ร่วมซื้อบ้าน
ผ่อนดาวน์,เงินดาวน์,เงินผ่อนดาวน์,กู้ร่วม,กู้ร่วมซื้อบ้าน
ผ่อนดาวน์,เงินดาวน์,เงินผ่อนดาวน์,กู้ร่วม,กู้ร่วมซื้อบ้าน

สวัสดีค่ะวันนี้เรากลับมาพบกันอีกครั้ง จากความเดิมเมื่อวานนี้ที่เราอธิบายขั้นตอนต้องจ่ายและเสียเงินสำหรับคนที่กำลังจะซื้อบ้านไปแล้ว บวกกับเจาะรายละเอียดไปบางส่วน วันนี้เราจะมาติดตามรายละเอียดส่วนที่เหลือกันต่อเกี่ยวกับการ ผ่อนดาวน์ แต่สำหรับท่านไหนสนใจรับชมบทความก่อนหน้านี้ สามารถรับชมได้ที่ลิงค์นี้เลยค่ะ

EP1 บ้านหลังใหม่กับเงินในกระเป๋า
EP2 เงินเดือน 15,000 อยากได้บ้านราคา 4 ล้านทำไงดี
Ep3 เก็บเงินอย่างไรถึงจะซื้อบ้าน ตอนแรก

หลังจากเมื่อวานที่เราอธิบาย เงินจองกับเงินทำสัญญาไปแล้ว วันนี้เรามาต่อให้จบในส่วนที่เหลือกันเลยค่ะกับการ ” ผ่อนดาวน์ ”

ผ่อนดาวน์,เงินดาวน์,เงินผ่อนดาวน์,กู้ร่วม,กู้ร่วมซื้อบ้าน
เงินดาวน์,เงินผ่อนดาวน์,กู้ร่วม,กู้ร่วมซื้อบ้าน_1

เงินดาวน์ กับ เงินผ่อนดาวน์ สำคัญไฉนไปหาคำตอบกัน จากที่เราตกลงที่จะซื้อบ้านหลังนี้แล้วทำการจ่ายเงินจองและทำสัญญาผ่านเสร็จไปเรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการจ่ายเงินดาวน์กันแล้ว เพราะปกติการจ่ายเงินดาวน์ส่วนใหญ่จะอยู่ราว 10-30 % ของราคาตัวบ้าน ในกรณีที่ตัวบ้านอยู่ที่ราคา 4 ล้านบาท ดังนั้นเงินดาวน์จะอยู่ที่ 4 แสนบาท ซึ่งถ้าบางคนมีเงินสำหรับเตรียมไว้จ่ายดาวน์คงไม่มีปัญหา แต่ถ้าใครที่ไม่มีเงินเก็บ การที่เราจะจ่ายเงินดาวน์คงเป็นปัญหาแน่นอน ดังนั้นทางออกของปัญหานี้ คือ

เงินผ่อนดาวน์ ส่วนใหญ่โครงการจะมีการปรับให้มีรูปแบบเงื่อนไขสำหรับการผ่อนชำระเงินดาวน์เป็นงวดๆได้ เช่น ชำระเงินดาวน์งวดละ 15,000-20,000 บาทจำนวน 20 งวด โดยส่วนมากจะไม่มีอัตราดอกเบี้ยใดๆทั้งสิ้น ซึ่งจะเป็นผลดีมากๆ สำหรับท่านใดที่ไม่มีเงินดาวน์ นอกจากนี้บางโครงการอาจจะมีข้อเสนอพิเศษ อีกมากมายเลยด้วยซ้ำค่ะ ดีไม่ดีอาจจะได้ส่วนลดอีกจำนวนมาก

-ค่าส่วนกลาง เนื่องจากบ้านจัดสรรโดยส่วนใหญ่จะมีพื้นที่ส่วนกลาง ดังนั้นทางเจ้าของโครงการเลยจัดตั้งนิติบุคคลเป็นผู้ดูแล ไม่ว่าจะเรื่อง ท่อน้ำประปา ถนน ผนังอาคาร ลูกบ้าน แม่บ้าน สโมสรและอีกหลายๆอย่าง จะจัดเป็นค่าส่วนกลาง ดังนั้นทางโครงการบ้านจึงจำเป็นต้องเก็บเงินค่าส่วนกลาง โดยปกติจะเก็บเป็นรายปี โดยวิธีการจัดเก็บจะมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ บ้านที่มีพื้นที่ 30 ตารางเมตร ค่าส่วนกลาง 30 บาท ดังนั้น ให้เราเอา 30 บาทไปxพื้นที่ 30 ตารางเมตร ดังนั้นเราจะต้องจ่าย 900 บาท ในวันโอนกรรมสิทธิ์ค่ะ

-ค่าจดจำนอง ธนาคารจะเรียกเก็บในส่วนของวงเงินกู้ซื้อบ้าน โดยจะมีอัตราส่วนคือ 1% ของวงเงินสำหรับกู้ จากตัวอย่าง 34,000 บาท เมื่อจะกู้ธนาคาร 3,580,000 บาท

ผ่อนดาวน์,เงินดาวน์,เงินผ่อนดาวน์,กู้ร่วม,กู้ร่วมซื้อบ้าน
เงินดาวน์,เงินผ่อนดาวน์,กู้ร่วม,กู้ร่วมซื้อบ้าน_2

สรุปง่ายๆจากที่เราแนะนำว่า จะเก็บเงินอย่างไรถึงจะซื้อบ้าน ใกล้ BTS ในราคา 4 ล้านได้

เราควรจะเก็บเงินก้อน โดยแบ่งเป็น 2 กอง กองแรก ไว้สำหรับค่าเงินจองกับส่วนทำสัญญา เป็นจำนวนเงิน 120,000 บาท จากนั้นก็เตรียมผ่อนดาวน์ระยะเวลาประมาณ 20 เดือน จำนวนเดือนละ 15,000-20,000 บาท กองที่ 2 สำหรับใช้จ่ายในวันโอนในจำนวนเงิน 122,300 บาท ทำเรื่องขอกู้จากธนาคารให้ได้ในวงเงิน 3,580,000 บาท ซึ่งมีวิธีที่ง่ายที่สุดคือการ กู้ร่วม

สุดท้ายถ้าคนที่จะย้ายเขาไปอยู่อาจจะต้องเอาไว้เป็นค่าตกแต่งเพิ่มเติมในกรณีที่บ้านไม่มีเฟอร์นิเจอร์มาให้ค่ะ

เป็นอย่างไรบ้างคะ เมื่อเรารู้ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เรากล่าวไปแล้ว เราจะต้องคิดและวางแผนให้รัดกุมรับรองเลยว่าบ้านหลังแรกจะไม่ไกลเกินเอื้อม

ต้องการซื้อ-เช่ !!!คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่

ลงประกาศขาย-ให้เช่า ฟรี !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินกับ Dot Property ขายง่าย ขายไว ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย