พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมความพร้อมการปรับโครงสร้างประชากรไปสู่สังคมผู้สูงอายุโดยให้ไปศึกษาต้นแบบการออมเงินเพื่อใช้เป็นหลักประกันในช่วงวัยหลังเกษียณอายุ ทั้งของยุโรป สิงคโปร์ และญี่ปุ่นว่า รูปแบบใดเหมาะสมกับไทยมากที่สุด
ยุโรป
:: รัฐจัดระบบสวัสดิการเต็มรูปแบบ โดยวิธีการรับดูแลตลาดช่วงอายุ ข้อเสียก็คือในช่วงวัยทำงานจะต้องเสียภาษีส่วนบุคคลชนิดต่างๆ ในอัตราที่สูง
สิงคโปร์
:: ใช้รูปแบบตามวิถีชีวิตคนเอเชีย คือเมื่อถึงวัยเกษียณลูกต้องดูแลพ่อแม่ปู่ย่าตายาย
ญี่ปุ่น
:: รัฐมีนโยบายบังคับให้คนที่ทำงานไประยะหนึ่งจนถึงอายุ 40 ปี จากนั้นก็ให้นำเงินมาใส่ในกองทุนเพื่อเป็นหลักประกันดูแลในช่วงวัยสูงอายุ
ทั้ง 3 รูปแบบ ก็มีความแตกต่างกัน อยู่ที่ว่าจะเลือกแนวทางไหน รูปแบบของญี่ปุ่นจะเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยกำหนดให้คนที่ทำงานต้องเข้าไปมีค่าใช้จ่ายดูแลสุขภาพตัวเองหลังเกษียณอายุเมื่อเริ่มทำงานไประยะหนึ่ง ก็ต้องถูกบังคับให้เก็บเงินออม เช่น หลังจากจบการศึกษาอายุ 21 – 22 ปี พอทำงานไป 10 – 15 ปี จนถึงอายุ 40 ปี ก็จะถูกบังคับให้ใส่เงินเข้าไปกองทุนเพื่อจะได้มีค่าใช้จ่ายดูแลสุขภาพช่วงเกษียณ เป็นต้น
ที่มา : เดลินิวส์