“เอสซีจี กรีนบิลดิ้ง โซลูชั่น” เผย 5 ข้อดีของการพัฒนาอาคารเขียว
ภายใต้หลักการออกแบบอย่างยั่งยืน “สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ”
ด้วยสภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน “กระแสกรีน” หรือกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน จึงเป็น เมกะเทรนด์ที่ทั่วโลกต่างพร้อมใจให้ความสำคัญ ซึ่งประเทศไทยเองก็มีความตื่นตัวในเรื่องกระแสกรีนมากขึ้นเรื่อยๆ จะเห็นได้จากการที่องค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่มีการวางวิสัยทัศน์และทิศทางในการดำเนินธุรกิจให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ “เอสซีจี กรีนบิลดิ้ง โซลูชั่น” ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอาคารเขียว จึงนำเสนอ 5 ข้อดีของการพัฒนาทั้งอาคารเก่าและอาคารใหม่ให้เป็น “กรีนบิลดิ้ง” หรือ “อาคารเขียว” ที่สามารถช่วยลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งยังช่วยประหยัดพลังงาน เพิ่มมูลค่าด้านธุรกิจ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้ใช้งานอาคารได้อย่างยั่งยืน และยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับเจ้าของอาคารได้อีกด้วย
คุณภาณุพันธ์ ผาพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอาคารเขียว จากเอสซีจี กรีนบิลดิ้ง โซลูชั่น กล่าวว่า เทรนด์ “กรีนบิลดิ้ง” หรือ “อาคารเขียว” และกำลังได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากผู้ประกอบการในธุรกิจต่างๆ หลายรายเริ่มหันมาให้ความสำคัญและลงทุนในด้านการพัฒนาอาคารเขียวมากขึ้น รวมถึงจำนวนโครงการที่ลงทะเบียนขอมาตรฐานอาคารเขียวในประเทศไทยและอาเซียน โดยเฉพาะมาตรฐาน LEED หรือ Leadership in Energy and Environmental Design มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงภาคอุตสาหกรรมมีโครงการก่อสร้างอาคารเขียวและสถาปัตยกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น นับเป็นแนวโน้มที่ดีต่อทั้งสิ่งแวดล้อม สังคม และองค์กรธุรกิจ
โดย “อาคารเขียว” ไม่ได้มีจุดเด่นเพียงแค่การเป็น “อาคารประหยัดพลังงาน” เท่านั้น แต่ยังเป็นอาคารที่ออกแบบอย่างยั่งยืน (Sustainable Design) ที่คำนึงถึงความสมดุลขององค์ประกอบหลัก 3 ด้าน คือ สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ มีการพัฒนาปรับปรุงทุกระบบในอาคาร ทั้งระบบไฟฟ้า น้ำ สภาวะแวดล้อมในอาคาร คุณภาพอากาศภายในอาคาร การพัฒนาพื้นที่ภายนอกอาคารอย่างยั่งยืน และการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เหมาะสม เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตผู้ใช้อาคาร และลดค่าใช้จ่ายของอาคารในระยะยาว อย่างไรก็ตามเพื่อให้เจ้าของอาคารเล็งเห็นถึงประโยชน์ของการพัฒนาอาคารเขียวมากขึ้น “เอสซีจี กรีนบิลดิ้ง โซลูชั่น” จึงรวบรวม 5 ข้อดีของอาคารเขียว มานำเสนอดังนี้
- เป็นการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยปกติอาคารเขียวจะช่วยลดการใช้พลังงานได้ประมาณ
10-48% ผ่านการจัดการพลังงานอย่างเหมาะสม เลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่ช่วยประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการควบคุมงานในระหว่างการก่อสร้าง ไม่ให้รบกวน หรือส่งผลกระทบต่อชุมชมที่อยู่รอบข้าง มีการกำจัดวัสดุเศษวัสดุที่เกิดขึ้นในโครงการอย่างเหมาะสม มุ่งเน้นคุณประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์เป็นหลัก ตลอดจนการรักษาพื้นที่สีเขียวภายใน โครงการ ได้อย่างน้อย 20% ของพื้นที่โครงการ - ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการอาคาร หลักการพื้นฐานของการพัฒนาอาคารเขียว คือต้องใส่ใจในการเลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์สาธารณูปโภคที่ช่วยประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น นอกจากนี้อาจมีการนำระบบจัดการอาคารแบบอัตโนมัติ (Building Automation System หรือ BAS) ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ระบบสาธารณูปโภคทั้งหมดของอาคารทั้งระบบไฟและระบบปรับอากาศมาใช้งาน เพื่อควบคุมการใช้พลังงานของอาคารผ่านระบบคอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การปรับระดับของอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะกับผู้ใช้อาคาร ปรับแสงสว่าง หรือปิดไฟอัตโนมัติเมื่อไม่มีผู้ใช้งานบริเวณนั้นๆ
- เพิ่มคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้อาคาร เนื่องจากต้องคำนึงถึงทั้งการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ การเลือกใช้สารเคลือบผิว เช่น สีที่มีสารอินทรีย์ระเหยง่ายต่ำ และช่วยเพิ่มคุณภาพให้กับสภาพแวดล้อมภายในอาคารเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับผู้ใช้อาคารและตอบสนองการใช้งานได้อย่างมีความสุข อาทิ อากาศภายในอาคารจะต้องเป็นอากาศบริสุทธิ์ มีการไหลเวียนของอากาศได้ดี เสียง อุณหภูมิ และแสงสว่างภายในอาคารมีการควบคุมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ตลอดจนสถานที่ตั้งของอาคารที่ควรตั้งอยู่ใกล้ระบบขนส่งมวลชนเพื่อลดมลภาวะจากการใช้รถยนต์ส่วนตัว เป็นต้น
- สะท้อนวิสัยทัศน์การพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร การพัฒนาอาคารเขียวช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับเจ้าขององค์กร หรือเจ้าของอาคาร เพราะการให้ความสำคัญกับการพัฒนาอาคารเขียวนับเป็นการแสดงวิสัยทัศน์
ในการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สะท้อนถึงหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นด้านธุรกิจและการลงทุนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย - ทำให้มูลค่าอาคารเพิ่มสูงขึ้น หากมองในแง่ของอาคารที่เปิดให้เช่าพื้นที่ เมื่อมีการพัฒนาอาคารเขียวจะทำให้สามารถเพิ่มค่าเช่าพื้นที่ได้มากกว่าอาคารทั่วไป นอกจากนี้มูลค่าเพิ่มของอาคารสามารถสะท้อนผ่านการ
ลดค่าใช้จ่ายภายในอาคารในระยะยาว ซึ่งจะเห็นชัดเจนได้จากต้นทุนในการบริหารจัดการอาคารที่ลดลง รวมถึงสะท้อนผ่านประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้นของพนักงานเมื่อมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
นอกจากข้อดีของอาคารเขียวแล้วยังมีข้อแนะนำสำคัญสำหรับเจ้าของอาคารที่ต้องการพัฒนาอาคารให้เป็นอาคารเขียว คือ ควรมีผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาอาคารเขียวมาให้คำแนะนำและดูแลในทุกขั้นตอน การมีที่ปรึกษาเป็นผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้การพัฒนาอาคารเขียวเป็นไปตามมาตรฐานที่ถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งการพัฒนาอาคารเขียวสามารถทำได้ทั้งอาคารเก่าและอาคารใหม่ รวมถึงเจ้าของอาคารสามารถปรับพัฒนาทั้งอาคาร หรือปรับเฉพาะบางส่วนภายในอาคารก็ได้เช่นกัน สำหรับขั้นตอนในการพัฒนาอาคารเขียวแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนหลักๆ ได้แก่ ขั้นตอนแรกคือการประเมินและวางแผนในการออกแบบ เป็นการเตรียมการตั้งแต่การพูดคุยทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาคารเขียว ประเมินความเป็นไปได้ในการทำอาคารเขียว ออกแบบวางระบบน้ำและไฟฟ้า ตลอดจนเลือกวัสดุที่เหมาะสม เป็นต้น เพื่อบริหารจัดการวัสดุที่ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนที่สอง คือ ช่วงระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ในระหว่างก่อสร้างต้องมีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาให้คำปรึกษาด้านการดูแลความสะอาด การจัดการวัสดุ การคัดกรองฝุ่นและการจัดเก็บขยะระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง ทั้งนี้ การพัฒนาอาคารเขียวแม้จะมีต้นทุนในการก่อสร้างสูงกว่าอาคารปกติและสามารถคืนทุนได้ ทั้งในแง่ทางตรง เช่น ความคุ้มทุนจากการประหยัดทรัพยากร และเวลาในการก่อสร้าง และในทางอ้อม เช่น การเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ใช้อาคาร เป็นต้น
เรียกได้ว่า “อาคารเขียว” ไม่เพียงเป็นอาคารรักษ์พลังงานและรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นอาคารที่น่าอยู่อาศัย เพราะคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ใช้งานอาคาร รวมถึงสภาพแวดล้อมรอบอาคาร อีกทั้งยังส่งผลดีต่อองค์กร ทั้งด้านภาพลักษณ์ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว อีกทั้งยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาคารได้เป็นอย่างดี จึงไม่น่าแปลกใจที่แนวโน้มของการพัฒนาอาคารเขียวในประเทศไทย จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เอสซีจี คอนแทค เซ็นเตอร์ โทร. 02-586-2222 และเว็บไซต์ http://www.scgbuildingmaterials.com/th/
คุณภาณุพันธ์ ผาพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอาคารเขียว จากเอสซีจี กรีนบิลดิ้ง โซลูชั่น
ตัวอย่างอาคารเขียวที่ได้รับมาตรฐาน LEED หรือ Leadership in Energy and Environmental Design
เลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อสุขภาพผู้ใช้งาน ช่วยประหยัดน้ำและไฟ
พื้นที่สีเขียวภายในอาคาร ต้องมีอย่างน้อย 20% ของพื้นที่ใช้สอยในอาคารทั้งหมด
ระบบจัดการอาคารแบบอัตโนมัติ (Building Automation System หรือ BAS) ซึ่งช่วยควบคุมการใช้พลังงานของอาคารผ่านระบบคอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ
การรับคำปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอาคารเขียวเพื่อพัฒนาอาคาร
เพิ่มคุณภาพให้กับสภาพแวดล้อมภายในอาคารเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับผู้ใช้อาคารและตอบสนองการใช้งานได้อย่างมีความสุข