เราจะมาต่อจากตอนที่แล้วกันเลยครับ เพราะความพิเศษของ ที่ดิน นั้นมีเยอะเหลือเกิน ว่าแล้วก็ไปรับชมกันต่อเลยครับ
การขอโฉนด ที่ดิน
หลักฐานที่จะต้องนำไปแสดงประบอกขอออกโฉนดที่ดิน มีดังนี้
- บัตรประจำตัว
- แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1)
- ใบรับแจ้งความประสงค์จะได้สิทธิในที่ดิน
- ใบจองหรือใบเหยีบย่ำ
- ตราจองเป็นใบอนุญาติ
- หนังสือรับรองการทำประโยชน์ หรือใบสำคัญแสดงการนำที่ดินขึ้นทะเบียน
- หนังสือแสดงการทำประโยชน์ ในกรณีที่ได้รับการจัดที่ดินในนิคมสร้างตนเองหรือสหนิคม
- หลักฐานการเสียภาษีที่ดินหรือหลักฐานอื่นในกรณีที่ไม่ได้แจ้งการครอบครองและไม่อยู่ในท้องที่ประกาศเป็นเขตเดินสำรวจออกแนดที่ดินทั้งตำบล
วิธีการขอออกโฉนดที่ดิน
- ผู้ขอต้องยื่นคำขอพร้อมหลักฐานการได้มาซึ่งที่ดินตามที่กล่าวมาแล้วต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินสาขา แล้วแต่กรณี
- เมื่อได้รับคำขอแล้ว เจ้าหน้าที่จะไปทำการรังวัดและทำการไต่สวนเจ้าของที่ดินผู้ปกครองท้องที่ และเจ้าของที่ดินข้างเครียง
- เมื่อรังวัดเสร็จแล้วเรียบร้อยและไม่มีข้อขัดข้อง เจ้าพนักงานที่ดินจะประกาศแจกโฉฉนดมีกำหนด 30 วัน โดย ปิดไว้ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินสาขา ที่ว่าการอำเภอหรือดิ่งอำเภอ ที่ทำการกำนันและบริเวณที่ดินที่ขอออกโฉนดที่ดินแห่งละ 1 ฉบับ ในเขตเทศบาลให้ปิดไว้ ณ สำนักงานเขตเทศบาลอีก 1 ฉบับ
- ถ้ามีผู้คัดค้าน เจ้าหน้าที่จะทำการสอบสวนเปรียบเทียบ ถ้าตกลงกันได้ก็จะดำเนินการไปตามที่ตกลง ถ้าตกลงกันไม่ได้เจ้าพนักงานที่ดินก็จะเสนอเรื่องพร้อมความเห็นไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งการ เมื่อผู้ว่าสั่งแล้ว ถ้าฝ่ายใดไม่พอใจฝ่ายนั้นสามารถไปฟ้องต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันรับทราบคำสั่ง
ที่ดินมือเปล่า
เป็นถ้อยคำที่นักกฎหมายหรือคำพิพากษาฎีกานิยมใช้เรียกกันไม่มีบัญญัติในกฎหมายแต่อย่างใด ที่ดินมือเปล่าตามที่เข้าใจหมายถึงที่ดินที่ไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์อย่างใดอย่างหนึ่งใน 4 ฉบับดังต่อไปนี้ โฉนดที่ดิน โฉนดแผนที่ แนดตราจอง และตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว หรือจะไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินแต่อย่างใดอย่างหนึ่งเลย หรือมีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินบางอย่างก็ได้
ที่ดินมือเปล่าจึงหมายถึงที่ดินในปัจจุบันที่มีวิทธิครอบครองเนื่องจากมีหลักฐานดังต่อไปนี้
- หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เป็นแบบเก่า
- หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) โดยใช้รูปถ่ายทางอากาศ
- น.ส.2 ใจจอง เป็นหนังสือที่รัฐอนุญาตให้ครอบครองที่ดินชั่วคราว
- น.ส.5 ใบไต่สวน เป็นหนังสือที่ทำขึ้นเพื่ออกโฉนดที่ดิน
- ใบนำ เป็นหนังสือที่ออกให้แก่ผู้ครอบครองที่ดินนำเจ้าพนักงานรัวงวัดที่ดิน
- ส.ค.1 เป็นหนังสือแจ้งการครอบครอง
- ส.ท.ก.1 เป็นหนังสืออนุญาตให้ได้การผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
- ที่ดินที่มีสิทธิครอบครอง แม้ไม่ม่หนังสือใดๆแสดงสิทธิเลย
ข้อแตกต่างระหว่างที่ดินมือเปล่ากับที่ดินมีโฉนด
- ที่ดินมีโฉนด เจ้าของมีกรรมสิทธิ์ เช่น ใช้สอย จำหน่าย ได้ดอกผลหรอตามเอาคืน มีสิทธิขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นสิดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินนั้นๆ ในขณะที่ที่ดินมือเปล่าเจ้าของมีสิทธิแค่ครอบครองซึ่งเกิดจากการยึดถือที่ดินนั้นไว้โดยเจตนายึดเพื่อตนเอง
- ที่ดินมีโฉนดสามารถถูกครอบครองปรปักษ์ได้ หากมีบุคคลอื่นเข้ามาครอบครองโดยสงบเปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของนาน 10 ปี บุคคลนั้นสามารถฟ้องร้องขอที่ดินผืนนั้นมาเป็นของนโดยชอบธรรมได้ แต่ต้องให้ศาลสั่งว่าได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์และคำสั่งศาลไปจดทะเบียนประเภทได้มาโดยการครอบครองต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ส่วนที่ดินมือเปล่าถูดครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ ต่อสามารถต่อสู้ในชั้นศาลโดยระบุว่า ตนได้สิทธิในที่ดินนั้นแล้วเนื่องจากเจ้าของเดิมถูกแย่งการครอบครองแล้วไม่ฟ้องร้องภายใน 1 ปี ผู้ครอบครองเดิมย่อมสูญสิ้นในที่ดินของตนไปโดยปริยาย (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375)
- ที่ดินมีโฉนด พนักงานเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียนได้แก่ เจ้าพนักงานจังหวัด หรือเจ้าพนักงานที่ดินสาขาซึ่งที่ดินตั้งอยู่ ส่วนที่ดินมือเปล่า พนักงานเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียน คือนายอำเภอหรือผู้ทำแทนปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอหรือผู้ทำการแทนซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่
- ที่ดินมีโฉนด อายุความการทอดทิ้งให้ตกเป็นของรัฐ อยู่ที่ 10 ปีติดต่อกัน (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 6) สำหรับที่ดินมือเปล่า หากเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ไม่ได้ทำประโยชน์ในพื้นที่ติดต่อกัน 5 ปี ที่ดินนั้นจะตกเป็นของรัฐ สำหรับที่ดินมือเปล่าประเภทอื่นเช่น ส.ค.1 ใบจองหากผู้ครอบครองไม่ยึดถือทรัพย์สินนั้นต่อไป การครอบครองย่อมสิ้นสุดลงที่ดินจะตกเป็นของรัฐทันที
การสิ้นสิทธิของที่ดินมือเปล่า
- โดยเจ้าของที่ดินมือเปล่าโอนที่ดินของต้นให้ผู้อื่น หากเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์โอนโดยการจดทะเบียนต่อนายอำเภอท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ หากเป็นที่ดิน ส.ค.1 โอนโดยการส่งมอบการครอบครองยันใช้ได้ระหว่างเอกชนเท่านั้นจะใช้ยันต่อรัฐไม่ได้
- โดยการสละเจตนาครอบครอง เช่นเจ้าของที่ดินมือเปล่า ส.ค.1 ทำหนังสือโอนขายกันเองเป็นการแสดงเจตนาว่าผู้ขายสละเจตนาครอบครองและไม่ยึดติดกับที่ดินนั้นอีกต่อไป
- โดยไม่ยึดถือทรัพย์สินนี้อีกต่อไป
- โดยถูกแย่งการครอบครอง
- โดยการถูกเว้นคือให้ตกเป็นที่ดินของรัฐ
- โดยเจ้าของละทิ้ง เช่น ที่ดิน ส.ค.1 ใบจอง หากเจ้าของสละเจตนาครอบครองการครอบครองย่อมสิ้นสุดลงที่ดินจะตกเป็นของรัฐทันที
ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …
ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่