สำหรับท่านที่สนใจจะ ปลูกบ้าน เองจากที่ดินเปล่า หรือท่านจะเลือกซื้อจากโครงการที่หลายๆท่านให้ความสนใจ แต่ว่ายังไม่มีประสบการณ์เลย จะต้องทำอะไรยังไงบ้าง เอาตั้งแต่เริ่มต้น ยันมีเข้าอยู่บ้านกันได้เลย
9 ขั้นตอนการ ปลูกบ้าน จากที่ดินเปล่า
1.ตรวจสอบโฉนดที่ดินว่าเป็นชื่อที่ดินเป็นของเราหรือไม่
สำหรับท่านใดที่มีที่ดินเปล่า สิ่งแรกที่ต้องทำคือให้ดูที่โฉนดที่ดินว่าเป็นชื่อที่ดินเป็นของเราหรือไม่ โดยสามารถเช็คได้ที่กรม ฯ ที่ดิน ประจำจังหวัดที่เราอาศัยอยู่นั้นๆ จากนั้น เราต้องเตรียมเงินไว้สำหรับในขั้นตอนการปลูกบ้านโดยท่านที่มีที่ดินแต่เงินไม่พออาจจะต้องทำเรื่องกู้บ้าน โดย สามารถอ่านเพิ่มได้ที่ อยากกู้ปลูกบ้านในฝันบนที่ดินเปล่า ต้องทำอย่างไร
2.หาแบบบ้านที่จะปลูก
จากนั้นหาแบบบ้านที่จะปลูก โดยคำนวนเเบบเผื่อไว้ โดยสามารถปรึษาผู้รับเหมา บริษัทรับสร้างบ้าน หรือจะลองหาข้อมูลหรือไอเดียการปลูกบ้านจากเหล่า คนที่นำมาแชร์ตามในลิงค์นี้เลย แบบบ้านต่างๆ หรือจะจ้างคนเขียนแบบบ้านโดยจะอยู่ที่ราคาตั้งแต่ 2000-6000 บาท โดยแบบบ้านนั้นสำคัญมากๆในแบบต้องมีรายละเอียดทั้งหมดว่า ความยาวเท่าไหร่ ติดแอร์ตรงไหน หน้าต่าง มีกี่บาน อยากมีปลั๊กไฟกี่จุด ในแปลนมีอธิบายการวางท่อน้ำทั้งบ้าน การวาง สายไฟทั้งบ้าน เรื่องแปลนบ้านนั้นสำคัญมากๆสำหรับคนที่ซื้อแบบบ้านต่างหาก
3.ขออนุญาติสร้างที่บ้าน
เมื่อได้แบบบ้านแล้ว ต่อมาต้องขออนุญาติสร้างที่ เขตหรืออบต. ต้องขอติดต่อกับทาง เขตสำหรับ ต่างจังหวัดแจ้งที่ อบต. ประจำตำบล เพื่อที่จะเเจ้ง ทาง อบต.ว่า เราจะทำการสร้างบ้าน โดยนำใบ ลายเซ็น วิศวกร(โยธา)ส่วนถ้าขนาดบ้านเกิน 150 ตรม. ต้องให้สถาปนิกเซ็นรับลองแบบปบ้านให้เพิ่มเพื่อนำ ไปแสดงโดยราคาเซ็นจะอยู่ที่ประมาณ 10,000 บาทบวกลบแล้วแต่ที่ โดยในส่วนนี้จะมี
สำหรับลายเซ็น วิศวกร(โยธา) และ สถาปนิก
1.รายการคำนวนแบบบ้าน พร้อมลายเซ็นทุกหน้า
2.ค่าเซ็น แปลนบ้าน
3.หนังสือรับรอง วิศวกรรมควบคุม 1 ชุด (พร้อมสำเนาใบ กว)
4.หนังสือผู้ควบคุมงาน (แบบ น.4 ) 1 ชุด (พร้อมสำเนาใบ กว)
ด้านเจ้าของบ้าน
5.สำเนาโฉนดที่ดินพร้อมเซ็นรับรองทุกหน้า (เจ้าของ)
6.สำเนาบัตรประชาชน (ผู้ขออนุญาติ)
7.สำเนาบัตรประชาชน (ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน)
8.สำเนาทะเบียนบ้าน (ผู้ขออนุญาติ)
9.สำเนาทะเบียนบ้าน (ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน)
10.ใบรับรองที่ดิน (ให้ผู้ใหญ่บ้านเซ็น)
11.ใบมอบอำนาจการขออนุญาติสร้าง (ถ้าเจ้าของที่ดิน ไม่ได้ขอเอง)
4.ขอเลขที่บ้าน
เมื่อเขตหรือ อบต.รับเรื่องแล้วจากนั้น ก็รอทาง เขต/อบต ออกใบขออนุญาติ จากนั้นก็ขอเลขที่บ้าน สำหรับที่เราจะนำไปยื่นขอไฟฟ้า ขอน้ำต่อ ที่การไฟฟ้าและการประปานั้นเอง อันดับต่อมาคือ การถมที่ดิน ควรถมเพื่อแปลนบ้านพอประมาณเพื่ออนาคตเราอาจจะต่อเติม โดยแนะนำว่าถ้าอยากได้ดินที่มีคุณภาพ ควรที่จะถม ทิ้งไว้เฉย ๆ สัก 2 ปี หรืออย่างน้อยสัก 1 ปีเพื่อทำให้ มวลดินที่ถมไปมันจะหน่าแน่น จากนั้นถ้าใครหาแบบบ้านเองโดยไม่ได้จ้างบริษัทรับสร้างบ้าน หรือผู้รับเหมา เวลานี้จะเป็นเวลาที่เราจะต้องหาบริษัทรับสร้างบ้าน หรือผู้รับเหมา มาทำการสร้างบ้านให้เรา ถ้าอยากประหยัดราคาก่อสร้างบ้านให้ไม่แพงเราอาจจะต้องมาคุมงานก่อสร้างเองโดยหาผู้รับเหมาที่ น่าเชื่อถือ โดยท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้รับเหมาได้ที่ ลิงค์นี้ แนวทางจ้างผู้รับเหมาแบบเบ็ดเสร็จอย่างไรให้ได้ผลงานดี
5.ตกลงและให้สิทธิ์ผู้รับเหมา
เมื่อได้ผู้รับเหมามาแล้วให้เรานำใบที่ทาง เขตหรือ อบตเซ็นรับรองแล้ว ไปคุยกับผู้รับเหมาครับ และจัดการตกลงกันว่าจะ ให้สิทธิ์ผู้รับเหมาจัดการทั้งหมดเลยหรือ ทางเราจะซื้ออุปกรณ์มาให้ทั้งหมดเลยโดยเราแค่จ่ายถ้าแรงในการก่อสร้างเท่านั้น แน่นำให้พยายามเลือกซื้อของเองเพราะนอกจากจะได้ของที่เราถูกใจแล้ว ราคายังประหยัดขึ้นอีกด้วยจากนั้นมาถึงในส่วนที่สำคัญมากๆที่หลายๆท่านไม่ค่อยสนใจ นั้นคือ สัญญา กับผู้รับเหมา ไม่ว่าจะเป็นกำหนดวันที่บ้านจะเสร็จภายในกี่เดือนถ้าช้าเสร็จไม่ทันกำหนดจะทำอย่างไร โดยอ่านเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์นี้ แนวทางรับมือผู้รับเหมา แบบง่ายทำได้จริง
6.จ้างบริษัทฉีดยาฆ่าปลวก
จากนั้นเมื่อเราทำทุกขั้นตอนที่เราว่ามาแล้วจากนั้นให้เรา ทำการจ้างบริษัทฉีดยาฆ่าปลวกในพื้นดินที่เราจะทำการสร้างบ้าน ไว้ก่อนที่จะทำการสร้างบ้านโดยเฉพาะคนที่จะปลูกบ้านไม้ โดยราคาจะอยู่ที่ประมาณ 10,000-15,000 บาท จากนั้นก่อนสร้างบ้านถ้าใครเชื่อถือฤกษ์ปลูกบ้าน ก็ลองหาฤกษ์วันลงเสาเอก เพื่อความสบายใจหรือใครไม่ทราบสามารถอ่านเพิ่มได้ที่ รู้ก่อนเฮงก่อน “พิธียกเสาเอก” ฤกษ์มงคลที่เศรษฐีต้องรู้ก่อนสร้างบ้าน
7.ตรวจดูงานก่อสร้างบ้านตลอด
ในเวลาที่ผู้รับเหมาหรือบริษัทรับสร้างบ้านกำลังก่อสร้างควรที่เจ้าของบ้านควรจะไปดูงานก่อสร้างบ้านตลอด ไปดูบ้านได้ทุกวันยิ่งดี หรือให้ดียิ่งขึ้นไปอาจจะนำวิศวกรออกแบบไปตรวจบ้าง เพราะวิศวกรจะทราบดีว่า ช่างหรือบริษัทรับสร้างบ้านนี้คุณภาพดีหรือไม่ เช่นผสมปูนน้อยไป ฉาบปูนได้มาตราฐานหรือไม่ เป็นต้น โดยเราแนะนำให้จ้างวิศวกรแบบเหมาจ่ายไปเลย 5 เดือนหรือเหมาจนบ้านเสร็จเลยก่อได้ราคาประมาณ 32,000-50,000 บาทถ้าเกินกว่านี้จะแพงไปหรือถ้าเก่งจริงก็แล้วแต่เจ้าของบ้าน อย่างน้อยบ้านเราก็ได้คุณภาพอย่างแน่นอน จ่ายแล้วจบดีกว่าเสียดายและไปเสียในระยะยาวนะคะ
8. ขอมิเตอร์น้ำ และมิเตอร์ไฟ
เมื่อบ้านใกล้เสร็จแล้วใครที่ไม่ได้ ขอทำเรื่องเลขที่บ้านครับก็ควรไปจัดการตรงนี้เพื่อที่เราจะได้ มิเตอร์น้ำ และมิเตอร์ไฟ มาใช้ในตอนสร้างบ้านเสร็จสนใครที่ขอแล้วก็ข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลยคะ
9.ให้วิศวกรตรวจสอบบ้านครั้งสุดท้าย
สุดท้ายเมื่อบ้านเสร็จแล้วก็อย่างลืมให้วิศวกรตรวจสอบบ้านครั้งสุดท้ายและถ้าใครงบเหลือจะ ฉีกยาฆ่าปลวกปิดท้ายก็ได้คะ จากนั้นท้ายสุดแล้วสำหรับชาวไทยก่อนเข้าไปอยู่บ้านก็อาจจะหาฤกษ์สำหรับทำบุญขึ้นบ้านใหม่ไว้ด้วยก็ดีคะ
คนปกติรับฝุ่นได้ขนาดไหน และคนกลุ่มไหนสี่ยงอันตรายสุดสำหรับ PM 2.5