สำหรับภาพรวมของ บริษัทสร้างบ้าน ในประเทศไทยปี 2563 ยังคงสามารถคาดหวังได้บ้าง โดยหากพิจารณาจากภาพรวมทั้งหมดของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในประเทศไทยที่ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยาได้คาดการณ์ไว้ว่าระหว่างปี 2561 – 2563 ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 7-9 ต่อปี โดยเป็นผลมาจากการขยายการลงทุนทั้งของภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศ และการขยายตลาดไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
ย้อนดูธุรกิจ บริษัทสร้างบ้าน ที่ผ่านมา
หากมองในเชิงภาพรวมของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง จากศูนย์วิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา พบว่าในช่วงปี 2552 – 2561 ที่ผ่านมา มูลค่าการลงทุนก่อสร้างมีสัดส่วนเฉลี่ย 8.1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) โดยมีผลต่อการข้างงานและมีความเชื่อมโยงกับธุรกิจต่อเนื่องที่หลากหลาย โดยเฉพาะ ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง และ ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หากพิจารณาตามประเภทตามลักษณะผู้ว่าจางงของธุรกิจก่อสร้าง สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ งานก่อสร้างของภาครัฐและงานก่อสร้างของภาคเอกชน โดยมีสัดส่วนของมูลค่าการลงทุนเฉลี่ย 53:47 โดยมีอัตราการเติบโตที่สามารถคาดหวังได้ในปีนี้
สำหรับธุรกิจรับเหมาสร้างบ้านในปี 2563 แม้จะเป็นเพียงหนึ่งส่วนของวัฏจักรธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง แต่ก็มีอัตราการเติบโตที่น่าสนใจ โดยในปี 2562 ธุรกิจมีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 12,500 ล้านบาท เติบโตจากปี 2561 ที่มีมูลค่าตลาดประมาณ 12,000 ล้านบาท โดยกลุ่มผู้ประกอบการประเมินว่ามีส่วน market share ในตลาดธุรกิจรับเหมาก่อสร้างถึง 16,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 13% ของมูลค่าตลาดรวมทั่วประเทศ
ทิศทางตลาด บริษัทสร้างบ้าน และการแข่งขัน
ข้อมูลจาก สมาคมไทยรับสร้างบ้าน (Thai Home Builder Association: THBA) ได้ประเมินมูลค่าตลาดทั่วประเทศไทยตลาดปี 2562 พบว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคในช่วงครึ่งปีหลัง (ก.ค. – ธ.ค. 2562) เติบโตแบบชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับกำลังซื้อในครึ่งปีแรก ในขณะเดียวกันเองก็พบว่า ระดับราคาบ้านที่ผู้บริโภคในต่างจังหวัดมีความต้องการสร้างเป็นอันดับหนึ่ง คือบ้านในระดับราคา 1-2 ล้านบาท จึงทำให้ปี 2562 ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เน้นทำการตลาดเพื่อเจาะกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มนี้มากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก ที่ต่างมุ่งเน้นไปที่กลุ่มตลาดบ้านระดับราคาตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไปมากกว่า
เมื่อเจาะเฉพาะตลาดสร้างบ้านและบริษัทรับออกแบบบ้านในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีบิ๊กเนมเป็นผู้แข่งขันหลักรายใหญ่อยู่แล้ว มีการจับกลุ่มเน้นตลาดในระดับราคากว้างๆ ตั้งแต่ 3-10 ล้านบาท และระดับราคา 10-20 ล้านบาทขึ้นไป และยังเป็นที่น่าสังเกตว่า ตลาดรับสร้างบ้านในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลปี 2562 ที่ผ่านมา แทบไม่มีผู้ประกอบการรายใหม่ๆ เข้ามาแข่งขันในธุรกิจนี้ ในทางตรงกันข้ามกลับพบว่า ผู้ประกอบการรายเดิมๆ มีการเลิกกิจการหรือถอนตัวออกไปจากธุรกิจ สะท้อนให้เห็นถึงขีดความสามารถและการปรับตัวของผู้ประกอบการทั้งรายเดิมและรายใหม่ ที่ไม่สามารถปรับตัวและรับมือกับทิศทางการแข่งขันของธุรกิจในยุคที่ผู้บริโภคไม่เชื่อแค่คำโฆษณาอีกต่อไป
แนวโน้มและทิศทางตลาดบริษัทรับสร้างบ้านปี 2563
สำหรับในด้านภาพรวมของมูลค่าตลาดปี 2562 สมาคมไทยรับสร้างบ้านคาดว่ามีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยหรือแค่ทรงตัว เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่ผ่านมา โดยประเมินจากทิศทางภาพรวมเศรษฐกิจในประเทศ โดยมีปัจจัยหลักมาจาก การลงทุนของภาครัฐ การลงทุนจากภาคเอกชน การลงทุนและการเบิกจ่ายงบประมาณหลายๆด้าน โดยในส่วนของการลงทุนจากภาคเอกชนในปีนี้ คาดว่าจะได้รับการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอจากภาครัฐ เป็นผลให้ตลาดมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในสถานการณ์ที่ผู้ประกอบการและผู้บริโภค ต่างตกอยู่ในภาวะของความไม่มั่นใจในสภาวะเศรษฐกิจ ที่คาดจะปรับตัวแย่ลงจากภาวะโรคระบาด ทำให้การเติบโตของธุรกิจก่อสร้างอาจชะลอตัว และอาจปรับตัวน้อยลงกว่าที่คาด
โอกาสและการปรับตัวของบริษัทรับสร้างบ้าน
ปัจจัยที่น่ากังวลใจที่สุดสำหรับผู้ประกอบการในปี 2563 คือปัญหาขาดแคลนแรงงาน ที่นับวันจะสะสมและทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยผู้ประกอบการยุคใหม่ควรต้องปรับตัวให้มากขึ้น โดยเน้นศึกษาและทำความเข้าใจระบบการก่อสร้างแบบสำเร็จรูปและเทคโนโลยีในปัจจุบัน เพราะสุดท้ายไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายใดก็มิอาจหลีกเลี่ยงได้
สำหรับเทรนด์รับเหมาก่อสร้างและบริษัทรับออกแบบบ้านปี 2562 เชื่อว่าในกลุ่มผู้ประกอบการชั้นนำ จะมีการพัฒนาและนำวัสดุหรือเทคโนโลยีการก่อสร้างบ้านใหม่ๆ มาใช้ในการสร้างบ้านเพื่อให้มี่คุณภาพที่สูงขึ้น และย่นระยะเวลาให้สั้นลง และผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ก็คือผู้บริโภคเอง
สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิก