สำหรับภาษีสิ่งปลูกสร้างและภาษีซื้อขายที่ดิน ที่เข้าใจกันว่าคือ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่ (พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2563) ได้เริ่มบังคับใช้จริงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นมา ซึ่งผู้ที่ต้องเสียภาษีจะต้องจ่ายจริงในเดือนสิงหาคมปีนี้ โดยมาแทนที่ภาษีโรงเรือนและที่สิ่งปลูกสร้าง และจะเก็บภาษีรายปีตามราคาประเมิน ซึ่งหลายคนอาจยังสับสนว่าจะมีอัตราการจัดเก็บอย่างไร และใครที่เข้าข่ายที่จะต้องจ่ายภาษีสิ่งปลูกสร้างบ้าง
ภาษีสิ่งปลูกสร้างและภาษีซื้อขายที่ดินใหม่คืออะไร?
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นภาษีที่ดินฉบับใหม่ที่นำมาใช้แทน ภาษีบำรุงท้องที่ และ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ที่จะถูกยกเลิกไป โดยคนที่เคยเสียภาษีดังกล่าวจะไม่ต้องเสียภาษีนี้อีก แต่ให้ไปเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแทน โดยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะคิดอัตราการจัดเก็บภาษีตามมูลค่าราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่จะจัดเก็บเป็นรายปี โดยได้แก่
- ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประเภทเกษตรกรรม
- ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประเภทที่อยู่อาศัย
- ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ที่ไม่ใช่เกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย
- ที่รกร้างว่างเปล่า
ภาษีสิ่งปลูกสร้างและภาษีซื้อขายที่ดิน มีองค์ประกอบย่างไร กระทบกับใครบ้าง?สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ จะประกอบด้วยกัน 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่
- ฐานภาษี : โดยคำนวณจากมูลค่าทั้งหมดของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามราคาประเมินจากกรมธนารักษ์
- ผู้เสียภาษี : เจ้าของที่ดิน เจ้าของสิ่งปลูกสร้าง เจ้าของห้องชุด หรือผู้ที่ครอบครองสิทธิในการทำประโยชน์ทั้งในส่วนของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของรัฐ ซึ่งผู้ที่เข้าข่ายนี้จะต้องเสียภาษีทุกปี และต้องชำระให้เสร็จสิ้นภายในเดือนเมษายนของปีนั้น เช่นเดียวกับการชำระภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนที่ถูกยกเลิกไป ยกเว้นแต่ในปี 2563 ที่สามารถชำระได้ถึงเดือนสิงหาคม
- ผู้จัดเก็บภาษี : ให้หน่วยงานสำนักงานเขตเทศบาล, สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล, สำนักงานเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และศาลาว่าการเมืองพัทยา เป็นผู้รับผิดชอบในการเก็บภาษีของท้องที่นั้นๆ
ใครบ้างที่ต้องจ่ายภาษีสิ่งปลูกสร้าง และต้องจ่ายในอัตราเท่าไร
ผู้ที่จะต้องจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับนี้ คือผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยหากมีชื่อแต่ไม่ได้อยู่อาศัย จะเรียกว่าเป็น ‘บ้านหลังรอง’ ซึ่งจะต้องจ่ายภาษีตามมูลค่าราคาประเมินที่ดิน แต่หากมีชื่อในทะเบียนบ้านเป็น ‘บ้านหลังหลัก’ โดยเป็นเจ้าของบ้านในที่ดินคนอื่น ถ้าในกรณีราคาประเมินต่ำกว่า 10 ล้านบาท ก็สามารถยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีได้ แต่ในกรณีราคามากกว่า 10 ล้านบาทจะต้องเสียภาษี
หากมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของ ‘บ้านหลังหลัก’ และเป็นเจ้าของทั้งสิ่งปลูกสร้างและที่ดิน ถ้าหากราคาประเมินคต่ำกว่า 50 ล้านบาท สามารถยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี แต่ในกรณีราคามากกว่า 50 ล้านบาทจะต้องเสียภาษี โดยมีอัตราภาษี ดังนี้
กรณีที่ 1: บ้านไม่มีที่ดิน (มีชื่อในทะเบียนบ้าน)
- ราคาประเมินน้อยกว่า 10 ล้านบาท ยกเว้นภาษี
- ราคาประเมิน 10-50 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.02%
- ราคาประเมิน 50-75 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.03%
- ราคาประเมิน 75-100 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.05%
- ราคาประเมินมากกว่า 100 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.10%
กรณีที่ 2 บ้านและที่ดิน ( มีชื่อในทะเบียนบ้าน )
- ราคาประเมินน้อยกว่า 50 ล้านบาท ยกเว้นภาษี
- ราคาประเมิน 50-75 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.03%
- ราคาประเมิน 75-100 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.05%
- ราคาประเมินมากกว่า 100 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.10%
กรณีที่ 3 บ้านหรือที่ดิน ( ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน )
- ราคาประเมิน 0-50 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.02%
- ราคาประเมิน 50-75 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.03%
- ราคาประเมิน 75-100 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.05%
- ราคาประเมินมากกว่า 100 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.10%
จะเห็นได้ว่าภาษสิ่งปลูกสร้างฉบับปี 2563 มีการเก็บภาษาที่รกร้างว่างเปล่า และมีอัตราการจัดเก็บภาษีที่ค่อนข้างสูง ทำให้ผลกระทบจึงตกเป็นของเจ้าของที่ดินที่ไม่ได้ทำประโยชน์ในที่ดินตัวเอง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการซื้อขายที่ดินขึ้นเป็นจำนวนมาก รวมทั้งดีเวลลอปเปอร์เจ้าใหญ่ที่เก็บที่ดินไว้เพื่อรอการพัฒนา อาจต้องมีการเร่งการพัฒนา หรือการประกาศขายที่ดินในมือออกไปเพื่อลดภาระการจ่ายภาษี หรือจะเรียกว่าเป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาและใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์ทางอ้อมจากรัฐก็ว่าได้
ที่มา:
https://blog.ghbank.co.th/new-land-tax/
https://positioningmag.com/1265653