-ลด ค่าโดยสาร bts ลงเยอะช่วยหรือไม่
ลดก็ไม่ช่วยหรอก เพราะความสำเร็จเรื่องการเดินทางและประหยัดเวลามันยังสู้รถตู้ไม่ได้
-จริงหรือ ไม่ช่วยเลยหรือ?
คิดว่าขึ้นรถตู้เท่าไหร่ 30-40 บาท แต่สามารถมาถึงบีทีเอสกลางเมืองได้ แล้วก็ต่ออีกนิดเดี๋ยวก็ไปถึงปลายทาง คนก็ยังใช้รถตู่ รถส่วนตัว รถเมล์อยู่ อีกอย่าง อย่าลืมว่ารถไฟฟ้าสายสีม่วงทั้งหมดคือภาษีประชาชน หากคุณลดค่าโดยสารก็คือภาษีประชาชนทั้งสิ้น กรณีบีทีเอสลดค่าโดยสารบีทีเอสก็ต้องแบกรับไป แต่สิ่งอื่นที่ไม่ใช่บีทีเอสล้วนมาจากภาษีประชาชนทั้งประเทศนะ
สิ่งที่มันเกิดขึ้นตอนนี้คือรัฐลงทุนไปแล้วทำให้คนจำนวนมากถูกหวย โดยที่คุณก็ไม่ได้ไปเก็บอะไรจากเขา กลายเป็นว่าคุณก็เก็บค่าตั๋วโดยสารแพง คนจนคนระดับล่างก็ใช้ไม่ได้
-ในฐานะนักวิชาการด้านผังเมือง ปรากฏการณ์ รถไฟฟ้าสายสีม่วง สะท้อนถึงเรื่องอำนาจอย่างไร
มันสะท้อนว่าการที่นักการเมืองห่วงเสียงและคนที่เป็นข้าราชการยอมแพ้ก็เป็นปัญหา ยกตัวอย่างกรณีทางเท้าของสยาม ซึ่งทุกคนเลี่ยงที่จะมีปัญหาความขัดแย้งและการประท้วง แต่อย่าลืมว่าการไม่ทำอะไรแบบนั้นก็กระทบกับคนจำนวนมาก เช่นกัน การจะสร้าง รถไฟฟ้า ก็ย่อมต้องกระทบคน เพราะแม้รถไฟฟ้าจะอยู่ลอยฟ้า แต่ตัวสถานีก็จะอยู่บนดินและมีการกำหนดขอบเขตความกว้างยาวที่ชัดเจนเป็นมาตรฐาน มันจะต้องเวนคืนที่ดินเพื่อทำทางขึ้นลง และอีกหลายอย่าง เช่นห้องเครื่องไฟฟ้า ห้องอัดอากาศ และอื่นๆ หากทำอะไรง่ายๆมันก็ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งหลายคนเวลาถูกประท้วงก็ถอยและเลือกที่จะทำสิ่งที่ง่ายกว่า จนไม่เกิดประสิทธิภาพ ความที่เราไม่อยากให้มีปัญหาหรือซุกซ่อนปัญหาไว้ ยกตัวอย่างสถานีบีทีเอสบางหว้าซึ่งเกิดปัญหารถติดอย่างหนัก เพราะการจัดการพื้นที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีการประเมินการสร้างพื้นที่รับส่งของระบบขนส่งสาธารณะที่ดีเพราะ รัฐไม่อยากมีปัญหา เราจึงได้เห็นปัญหารถติด แน่นอนว่าทั้งหมดก็ส่งผลกระทบต่อประโยชน์ส่วนรวม
ผมจำได้ ถ้าคุณเข้าเว็บไซต์ของบีทีเอสเมื่อสี่ปีที่แล้ว หน้าเว็บเขาจะเขียนไว้ว่า “ทางเลือกของคนเมือง” มันหมายความว่าอะไร มันหมายความว่าไม่ใช่ว่ามันเป็นระบบขนส่งมวลชนที่ทุกคนจะใช้ได้นะ
-โครงสร้างการพัฒนาระบบขนส่งเมืองประชาชนมีอำนาจในการต่อรองหรือมีส่วนกำหนดนโยบายมากน้อยแค่ไหน
เรื่องขนส่งสาธารณะ คนได้ประโยชน์เป็นรูปแบบของคนขนาดใหญ่ มันจึงไม่มีใครโวยวายบอกว่าได้ประโยชน์ ขณะคนที่เสียประโยชน์คือคนในพื้นที่ที่ถูกเวนคืนที่ดิน ซึ่งโดยหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ใช่ผู้กอบโกยงบประมาณของที่อื่นมาพัฒนาพื้นที่ของตน แต่จะต้องเป็นคนปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน และเดินหน้าบริหารประเทศโดยยึดประโยชน์ส่วนรวม
-พูดอย่างนี้ได้ไหมครับผังเมืองเป็นอย่างไรก็เป็นผลจากวิธีคิดของคนในประเทศนั้น
หลักในการแก้ปัญหาหรือการทำผังเมืองคือมันต้องมีคนเจ็บ ยกตัวอย่างเช่น คุณมีสถานีรถไฟฟ้า ใต้สถานีรถไฟฟ้าบนถนนที่จะต้องมีสถานีจอดสองคนโดยไม่ได้อยู่ในพื้นผิวจราจร ซึ่งโดยหลักมันต้องมี มันก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีการเวนคืนที่ดิน แล้วถามว่ามีคนยอมเจ็บไหม หากไม่ยอมก็จบเลย ผมยกตัวอย่างอีกเรื่องคือมาตรฐานของเมืองที่จะทำให้รถไม่ติดคือต้องมีถนนเป็นพื้นที่ในเมืองประมาณ 30% มหานครนิวยอร์ค มี 38% โตเกียวมี 23% กรุงเทพมีเพียง 8% น้อยมากหลุดจากเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งมีการประเมินและคิดกันว่าหากจะทำให้กรุงเทพมีพื้นที่ถนนเป็น 16% คือเพิ่มอีกแค่เท่าตัว จะต้องมีการเวนคืนบ้านทุกหลังเป็นพื้นที่ประมาณ 30% ถามว่าทุกคนเอาหรือไม่ หากคนกรุงเทพฯไม่ยอมรับก็จบ นี่คือการที่ทุกคนไม่ยอมรับความเจ็บปวดบ้าง แต่ทุกคนก็เรียกร้องการแก้ปัญหา
คุณก็อยากให้คนเดินทางสั้น ซึ่งรถไฟฟ้าก็ตอบโจทย์ตามศักยภาพของมันในการขยายและรองรับการขนส่งในพื้นที่ที่มีความแออัด เขาไม่ได้มีไว้ขยายเมือง เขาต้องทำในเมืองให้ครอบคลุมแล้วจึงขยายออกไปด้านนอก
-ทำให้ผังเมืองของเราดูพิกลพิการ?
ก็บอกเเล้วเราไม่ยอมเจ็บ คนมาเป็นนักการเมืองทุกคนก็บอกให้เลือกผม คุณจะอยู่เฉยๆ ที่ดินคุณจะไม่ถูกเวนคืน จะไปหาเทคโนโลยีทุกอย่างมาแก้ปัญหาให้ ปัญหาเมืองจะแก้ได้ด้วยเทคนิคต่างๆ ซึ่งผมยืนยันไม่มีครับ ทุกคนต้องยอมเจ็บ หากไม่ยอมเจ็บก็จบ ยังไม่ต้องนับปัญหาใหญ่คือปัญหาประชากรแฝง ในกรุงเทพฯ รวมถึงเมืองต่างๆที่คนย้ายไปทำงาน ศึกษา แต่ไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้าน หรือที่อยู่ไปด้วย ทำให้มีปัญหาในการจัดการโดยเฉพาะปัญหาการออกงบประมาณที่เขาออกตามหัวประชากร กรุงเทพฯจึงเป็นเมืองที่มีประชากรแฝงจำนวนมาก โดยที่ใครก็ไม่สนใจย้าย ทั้งที่เป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก
-แผนแม่บทหรือแผนพัฒนาต่อจากนี้ เป็นแบบทฤษฎีผังเมืองของอ.บ้างหรือไม่
มันมีลำดับ แต่ไม่ทำตามลำดับ มันเป็นแบบนี้ แต่ไม่ทำตามลำดับ คนที่เรียนวิศวกรรมจราจรรู้หมดว่าลำดับการพัฒนามันควรเป็นแบบนี้ แต่ปัญหาคือเราไม่ทำตาม กรุงเทพฯจะทำรถไฟฟ้าสายสีเทา ซึ่งเป็นโมโนเรลก่อน โมโนเรลมีความสามารถในการรองรับต่ำมาก แต่กรุงเทพฯจะทำก่อน เพราะกรุงเทพฯรับผิดชอบสองสาย คือสีเขียวส่วนต่อขยายกับสายสีเทา เพื่อเป็นภาพลักษณ์ของผู้บริหารว่าได้ทำแล้ว ทั้งที่มันถูกจัดความสำคัญเป็นลำดับท้ายๆ
คนมาเป็นนักการเมืองทุกคนก็บอกให้เลือกผม คุณจะอยู่เฉยๆ ที่ดินคุณจะไม่ถูกเวนคืน จะไปหาเทคโนโลยีทุกอย่างมาแก้ปัญหาให้ ปัญหาเมืองจะแก้ได้ด้วยเทคนิคต่างๆ ซึ่งผมยืนยันไม่มีครับ ทุกคนต้องยอมเจ็บ หากไม่ยอมเจ็บก็จบ
-กลับไปที่ รถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่เพิ่งเปิดใช้ ในฐานะนักผังเมือง ในอนาคตมันจะเปลี่ยนโครงสร้างนิเวศวิทยามนุษย์ นิเวศวิทยาเมืองอย่างไร
ตามทฤษฎีมูลค่าดีกว่าพื้นที่ด้านในที่ยังไม่มีรถไฟฟ้า ทำให้การลงทุนไปเกิดที่นั่น แต่ไกล หากถึงวันที่รถไฟฟ้าด้านในเสร็จแล้ว พื้นที่ด้านในจะกลายเป็นพื้นที่ที่มีมูลค่าพื้นที่ดีกว่า การขนส่งด้านในใกล้กว่า สะดวกกว่า ถูกกว่า ถามว่าจะเกิดอะไรขึ้น ผมเชื่อว่า “เจ๊ง” มีบางส่วนเจ๊งแน่ บางส่วนดื้อก็ยังอยู่ เหตุที่เจ๊งเพราะใครจะยอมเสียเงินเดินทางออกไปไกลๆ คนก็เลือกที่จะอยู่พื้นที่ด้านในมากกว่าอยู่แล้ว คอนโดทั้งหลายที่เกิดตามแนวรถไฟฟ้ากำลังจะเจ๊ง ถามว่าเพราะอะไร คือระหว่างที่คุณจอง หรือกำลังผ่อนดาวน์ ปรากฎว่ามีคอนโดอันอื่นเปิด ในราคาใกล้เคียงกัน อยู่ใกล้ที่ทำงาน มีสถานีรถไฟฟ้าใกล้ เชื่อว่าจะมีคนทิ้งดาวน์และมาเลือกซื้ออันที่อยู่ใกล้แน่นอน เพราะประหยัดเวลา-ค่าใช้จ่ายกว่าและเป็นคุณจะทำยังไง เชื่อเถอะในอนาคตมันจะมีเปิดมากขึ้นและใกล้ขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเมื่อรถไฟฟ้าด้านในเสร็จยิ่งชัด คนที่คิดว่าซื้อไว้ให้คนเช่า มันจะมีปัญหาไม่มีคนเช่า
-ในอนาคตระยะสั้นทางแก้เป็นไง
ติดกระดุมเม็ดแรกผิด แล้วมันยากนะ ตรงเตาปูนกับบางซื่อก็ต้องเข้าใจว่าสายสีม่วงมันไม่ได้ผ่านบางซื่ออยู่แล้ว มันรอสายสีน้ำเงินเสร็จ ปัญหาคือเราสร้างสายสีม่วงก่อน และมันเชื่อมกันไม่ได้เนื่องจากเป็นคนละระดับ ทั้งมีปัญหาการบริหารจัดการตามมา มันไม่ได้ง่าย ตอนแรกมันคิดว่าจะเสร็จพร้อมกัน แต่สายสีน้ำเงินมันผ่ากลางเมือง มันก็สร้างไม่เสร็จ สายสีม่วงมันเสร็จก่อนก็เป็นแบบนี้อีก
ที่มา มติชนออนไลน์ ,ประชาชาติ
Dot Property เว็บไซต์อสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ ซื้อ-ขาย อย่างมืออาชีพ…
ท่านต้องการขายอสังหาริมทรัพย์อยู่หรือไม่ ลงประกาศขายกับ Dot Property ฟรี!!! ไม่มีค่าใช้จ่าย ลงประกาศง่าย ขายได้ไว
หรือหากท่านกำลังมองหา คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน เว็บไซต์ Dot Property มีให้ท่านเลือกมากกว่า 300,000 รายการ ได้ตรงตามความต้องการ ครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศไทย