อาลีบาบา เฟซบุ๊ก ทราเวลโลก้า เว็บจองตั๋วคอนเสิร์ตและเว็บไซต์หาคู่ เป็น 5 กลุ่มเว็บไซต์ยักษ์ใหญ่ อยู่ในข่ายที่กรมสรรพากรเล็งเป้าหมายนำร่อง ตีตราขึ้นทะเบียนจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%ทุกธุรกรรม ตามกฎหมายใหม่ ภาษีออนไลน์ ลั่นฝ่าฝืนปิดทันที ประเมินยอดค้าออนไลน์ปีนี้ 3 ล้านล้านบาท
กรมสรรพากรแจ้งความคืบหน้าการศึกษาโครงสร้างภาษีที่เกี่ยวข้องกับกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ออนไลน์หรือหรือธุรกิจ อี-คอมเมิร์ซ โดยเฉพาะการแก้ไขประมวลรัษฎากรหรือร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ที่เน้นจัดเก็บในธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ เพื่อให้มีผลบังคับใช้ภายในรัฐบาลปัจจุบัน คาดว่าภายในเดือนมีนาคมนี้
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ยืนยันว่า การปรับโครงสร้างการจัดเก็บ หรืออัตราภาษีจะต้องสอดคล้องตามหลักสากล เช่นเดียวกับที่ขณะนี้หลายประเทศได้เดินหน้ากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจในลักษณะนี้ไปแล้วไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เป็นต้นกฎหมายดังกล่าวอยู่ภายใต้แนวทางการปฎิรูปโครงสร้างภาษีครั้งสำคัญของกรม สรรพากรที่จะต้องพิจารณาบนฐานที่รัดกุม สามารถปิดช่องโหว่ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต การจัดเก็บบนฐานที่ถูกตัวถูกคน
ดังนั้นการแก้ไขกฎหมายจำเป็นต้องทำให้รอบด้านเพราะหากจะแก้ไขอีกคงไม่ใช่เรื่องง่ายเนื่องจากกฎหมายจะต้องมีผลบังคับใช้ไปอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 5-10 ปีหรือมากกว่านั้นถึงจะเริ่มมีการมองว่ากฎหมายที่บังคับใช้อยู่ล้าสมัยหรือยัง ดังนั้นการแก้ไขรอบนี้จะต้องมองถึงภายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 10-20 ปีข้างหน้า รวมถึงประเมินรูปแบบของธุรกิจใหม่ๆ ที่มาจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง โดย เฉพาะรูปแบบการทำธุรกิจที่จะโยกขึ้นไปซื้อขายบนอินเตอร์เน็ตมากขึ้น
ตามกฎหมายใหม่ ภาษีออนไลน์ ทะเบียนสรรพากรเท่านั้น
แนวทางการจัดเก็บภาษีจะเน้นไปที่การทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก โดยกำหนดแนวทางการพิจารณาเอาไว้คือ หากเปิดเว็บไซต์เพื่อทำการซื้อขายสินค้าบนเว็บไซต์แล้ว เจ้าของเว็บไซต์จะต้องจดทะเบียนหรือขึ้นทะเบียนกับกรมสรรพากรเท่านั้นถึงจะสามารถทำธุรกิจในไทยได้ ถึงแม้จะมีเซิร์ฟเวอร์อยู่ในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ก็จะต้องขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง แต่หากไม่มาขึ้นทะเบียนกับกรมสรรพากรแล้วเว็บไซต์เหล่านั้นก็จะถูกปิดถาวรทันที
“ถามว่าทำไมถึงต้องมาขึ้นทะเบียน ก็เพื่อที่กรมสรรพากรจะได้มีฐานข้อมูล เพราะการจัดเก็บภาษีครั้งนี้กำหนดว่าเจ้าของเว็บไซต์จะต้องนำส่งภาษี Vat หรือ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการตามกฎหมายจัดเก็บอยู่ที่ 7% หากเป็นธุรกิจที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการของผู้ประกอบการที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี และจากการตรวจสอบเบื้องต้นมากกว่า 60-70% ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ล้วนแต่มีรายได้เกินปีละ 1.8 ล้านบาททั้งสิ้น”
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปจากจาก thansettakij
ต้องการซื้อ-เช่า !!!คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่
ลงประกาศขาย-ให้เช่า ฟรี !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินกับ Dot Property ขายง่าย ขายไว ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย