การจัดเตรียม ที่ดิน ที่ควรรู้!!! ก่อนทำการเกษตร

ที่ดิน-1

ที่ดิน หมายถึง ทรัพยากรดินภายในบริเวณที่กำหนด กล่าวคือการเป็นเจ้าของที่ดินเท่ากับว่าเรามีสิทธิอย่างเต็มที่ในการใช้ทรัพยากรดินบนตำแหน่งที่ระบุไว้ภายในเอกสารสิทธินั้นเอง ที่ดินมีความหมายครอบคลุมส่วนประกอบหลักๆ 2 ส่วนคือ ทรัพยากรดินและทำเลที่ตั้ง

ด้วยเหตุนี้ทรัพยากรดินจึงมีบทบาทต่อการตัดสินใจเรื่องที่ดินด้วย เพราะเป็นส่วนสำคัญที่กำหนดคุณค่าในการใช้ประโยชน์ของที่ดิน โดยเฉพาะในด้านการเกษตร ว่าสามารถทำประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใด ถ้าที่ดินบริเวณไหนสามารถทำประโยชน์ได้มากกว่า ก็จะทำให้มูลค่าของที่ดินบริเวณนั้นสูงขึ้นตามไปด้วย

ปัจจัยทรัพยากรดินที่ควรทราบ ได้แก่ ลักษณะชนิดของทรัพยากรดินในที่ดินแต่ละแปลง ความสามารถในการพัฒนานำมาใช้ประโยชน์ในที่ดิน รวมถึงความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรดิน ซึ่งจะทำให้คุณค่าของที่ดินคงมูลค่าตลอดไปได้เป็นอย่างดี

ที่ดิน-2ที่ดิน กับลักษณะทางกายภาพ

ตามความเชื่อสมัยโบราณ ดินก็คือหนึ่งในธาตุทั้งสี่ที่สำคัญสำหรับสรรพสิ่งทั้งหลาย ซึ่งธาตุทั้งสี่นั้นจะประกอบไปด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ  สำหรับทางวิทยาศาสตร์ดินจัดเป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดเองโดยธรรมชาติ จากการสลาย ผุพัง จากหินชนิดต่างๆ โดยใช้เวลานานมาก

ดินชั้นบนมักจะมีสารอินทรีย์สะสมอยู่ที่ผิวดินมาก ทำให้ดินมีสีคล้ำ และสารอินทรีย์นี้จะมีน้อยลงในดินชั้นล่าง

ถ้าลองบี้ดินแล้วสักเกตุก็จะพบว่าเม็ดดินชั้นบนจะมีขนาดโตกว่าเม็ดดินชั้นล่าง ทำให้น้ำและอากาศสามารถผ่านได้ดี หรือที่เรียกกันว่า ความพรุนของดินนั้นเอง

เพราะฉะนั้นชั้นดินด้านบนจึงเหมาะสำหรับการปลูกพืชผัก

อีกอย่างที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง หรือ pH โดยทั่วไปจะใช้ยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์ที่บอกความแตกต่างของความเป็นกรดเป็นด่าง

ที่ดิน-3ความเป็นกรด-ด่าง ของดินขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย เช่น ปัจจัยที่ทำให้เพิ่มความเป็นกรดของดิน ได้แก่ การเน่าเปื่อยของสารอินทรีย์ในดิน การใส่ปุ๋ยเคมีบางชนิด ส่วนปัจจัยที่ทำให้ดินมีความเป็นด่าง ได้แก่ การใส่ปูนขาว การที่ปริมาณ แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม และโซเดียมที่เกาะอยู่กับเม็ดดินมีมากน้อยต่างกันจึงทำให้ดินแต่ละชนิดมีความเป็นกรด-ด่างต่างกัน

ในการปลูกพืชควรคำนึงถึงความเป็นกรด-ด่าง ด้วย ถ้าพบปัญหาก็ควรรีบแก้ไขก่อนที่จะปลูกพืช การแก้ไขมีวิธีดังนี้

  • ถ้าดินมีความเป็นกรดมาก ให้แก้ไขโดยการเติมปูนขาวหรือดินมาร์ลลงในดิน
  • ถ้าดินมีความเป็นด่างมาก ให้แก้ไขโดยการเติมผลกำมะถันลงในดิน

ลักษณะโครงสร้างที่ดีของดิน ได้แก่ สภาพเม็ดดินที่เกาะกันเป็นก้อนเล็กๆ หลวมๆ ตลอดชั้นหน้าของดิน ควรมีอากาศร้อยละ 25 น้ำร้อยละ 25 อนินทรีย์สารร้อยละ 45 และสารอินทรีย์สารร้อยละ 5 จึงจะเป็นดินที่เหมาะสมสำหรับปลูกพีชทั่วไป ประโยชน์ของดิน

1.ใช้ในการเกษตรกรรม : เป็นตัวกลางที่ทำให้ น้ำ แสงแดด อากาศ รวมกันสร้างพืชพันธ์ทุกชนิดให้เจริญงอกงาม

2.ใช้ในการปศุสัตว์ : ดินจะเป็นแหล่งอาหารทำให้พืชและหญ้าเติบโตเหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์

3.ทำให้เกิดพื้นที่ป่าไม้ : เป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงอยู่ของคนและสัตว์ ดินยังเป็นแหล่งกักเก็บน้ำตามธรรมชาติอีกด้วย

4.เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและเป็นที่ตั้งของเมือง : ทำให้เกิดอารยธรรม วัฒนธรรม และความเจริญรุ่งเรื่องทางเศรษฐกิจ

5.เป็นที่ตั้งของแหล่งอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และเหมืองแร่

6.เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ : ดินทำให้เกิดทิวทัศน์ที่สวยงามตามธรรมชาติ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพจิตใจของมนุษย์ทั่วไป

ชนิดของดิน

ในทางธรรมชาติดินจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด ได้แก่

ก.ดินเหนียว คือดินที่มีเนื้อละเอียดที่สุดยืดหยุ่นเมื่อเปียกน้ำ เหนียวติดมือ ปั้นเป็นก้อนหรือคลึงเป็นเส้นยาวได้ พังทลายได้ยาก เป็นดินที่ระบายน้ำและอากาศไม่ดี อุ้มน้ำได้ดีมีแร่ธาตุอาหารพืชอยู่มาก เหมาะสำหรับปลูกข้าว

ข.ดินทราย คือดินที่เกาะตัวกันไม่แน่นระบายน้ำและอากาศได้ดีมาก มีแร่ธาตุน้อย

ค.ดินร่วน คือดินที่มีเนื้อค่อนข้างละเอียด นุ่มมือ ยืดหยุนพอสมควรระบายน้ำได้ดีปานกลาง เหมาะสำหรับการใช้ปลูกพืช ดินร่วนมักไม่พบตามธรรมชาติแต่จะพบเนื้อดินที่มีลักษณะใกล้เคียงกันเสียส่วนใหญ่

ประเภทของดินจากอิทธิพลการกระทำของมนุษย์

ในธรรมชาติ เนื้อดินจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเกิดขึ้นจาก อุณหภูมิ ความชื้น ลม กระแสน้ำ และที่สำคัญคือ เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งทำให้ดินมีลักษณะแตกต่างกันไปมากยิ่งขึ้น จนสามารถแยกได้หลายประเภทคือ

1.ดินเปรี้ยวจัดหรือดินกรดกำมะถัน คือเป็นดินที่มีสารไพไรท์มาก ซึ่งเมื่อสารไพไรท์นี้ถูกทำให้แห้งจะแปรสภาพเป็นสารประกอบจาโร”ซท์ที่มีลักษณะเป็นจุดปะสีเหลืองฟางข้าว หรือมีกรดกำมะถันเกิดขึ้นภายในความลึก 150 เซนติเมตร ทำให้ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมาก ดินประเภทนี้จะมีค่าความเป็นกรด-ด่าง ของดินต่ำกว่า 4.0

ระดับความรุนแรงของดินเปรี้ยวจัดขึ้นอยู่กับระดับความลึกของชั้นดินกรดกำมะถัน หรือชั้นดินที่มีค่าความเป็นกรด-ด่าง ของดินต่ำกว่า 4.0 ถ้าพบในระดับตื้นเท่าไหร่ ก็บ่งบอกให้ทราบถึงระดับความรุนแรงมากเพียงนั้น

2.ดินกรด หมายถึงดินที่มีค่าความเป็นกรด-ด่าง ของดินต่ำกว่า 7.0 สาเหตุมาจากการชำระล้างอย่างรุนแรงในอดีตและเป็นไปอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดภายใต้สภาพดินฟ้าอากาศแบบร้อนชื้นทำให้คุณภาพของดินนั้นเสื่อมโทรมลง

3.ดินอินทรีย์ หมายถึงดินที่มีวัสดุอินทรีย์ หนามากกว่า 40 เซนติเมตร ภายในความลึก 80 เซนติเมตร จากผิวดิน

ดินอินทรีย์เป็นดินที่เกิดจากการสะสมของเศษพืชในบริเวณที่ลุ่มต่ำ มีน้ำขังเกือบตลอดปี หรือที่เรียกว่าพื้นที่พรุจนมีชั้นอินทรีย์ที่หนามาก เมื่อระบายน้ำออกไปจากพื้นที่ชั้นดินอินทรีย์นี้จะแห้งและเกิดการยุบตัวอย่างมาก ทำให้ติดไฟง่ายและดับยาก

พื้นที่พรุ หมายถึงบริเวณที่ลุ่มต่ำและมีน้ำท่วมขังนานเกือบทั้งปี มีพืชพรรณที่ชอบน้ำขึ้นปกคลุมอยู่หลายชนิด ทำให้เกิดการสะสมของซากพืชเป็นเวลานาน พื้นที่พรุจะประกอบไปด้วยดินอินทรีย์และดินอนินทรีย์หรือดินแร่

4.ดินเค็ม หมายถึงดินที่มีค่านำไฟฟ้าของสารสะลายในดินออกมามากกว่า 4 เดซิซีเมนต่อเมตร ถ้าดินมีความเค็มสูง การปลูกพืชบริเวณนั้นจะทำให้พืชขาดน้ำและเกิดอาการเหี่ยวเฉาถาวรใบไหม้และตายในที่สุด

5.ดินทราย หมายถึงดินที่มีเนื้อดินเป็นทราย ที่เกิดจากการทับถมของตะกอนเนื้อหยาบหรือตะกอนทรายชายฝั่งทะเล

6.ดินเหมืองแร่ร้าง หมายถึงดินที่เกิดขึ้นภายหลังการทำเหมืองแร่ไปแล้ว ลักษณะส่วนใหญ่จะเป็นดินทรายจัด เนื้อหยาบไม่เกาะตัว เนื่องจากอนุภาคดินเหนียวและอินทรีย์วัตถุได้ถูกชะล้างไปแล้วในการทำเหมือง

7.ดินลูกรังหรือดินตื้น หมายถึงดินที่มีชั้นลูกรัง ก้อนกรวด เศษหินปะปนอยู่ในเนิ้อดินมากกว่า 35% โดยปริมาตร

8.ดินที่มีความลาดชันสูงมากหรือดินบนพื้นที่ภูเขา หมายถึงดินที่มีความลาดชันมากกว่า 35% ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ทางภูเขา ถ้าเกิดนำมาทำการเกษตร ต้องมีมาตรการป้องกันและการจัดที่ดินอย่างเหมาะสม มิเช่นนั้นจะเกิดการพังทะลายของหน้าดิน

การตรวจเช็คลักษณะดินจากพืชพันธุ์ที่เจริญงอกงามบนดิน

การตรวจเช็คด้วยวิธีง่ายๆ ในทันที คือการสังเกตุลักษณะของพืชพันธุ์ธรรมชาติที่เจริญเติบโตปกคลุมผิวดินในแต่ละพื้นที่

ที่ดิน-4ปัญหาของทรัพยากรดิน

เมื่อประชากรเพิ่มมากขึ้นความต้องการอาหารก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยจึงต้องขยายเนื้อที่เพาะปลูกเร่งผลผลิตใส่ปุ๋ยเคมีและยากำจัดศัตรูพืชเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของดินสิ่งเหล่านี้จะทำให้ดินเกิดความเสื่อมโทรม ปัญหาของดินมีอยู่ด้วยกัน 2 ประการ คือ

  • การพังทลายของดินและการสูญเสียหน้าดิน
  • ความเสื่อมโทรมของดิน

สาเหตุที่ทำให้ดินเกิดความเสื่อมโทรมของดินนั้นมีด้วยกันหลายสาเหตุเช่น

  • เกิดจากการสะสมของเกลือและด่างในดินหรือความเป็นกรดจัด จะทำให้อัตราการซึมซาบของน้ำในดินน้อยลง แร่ธาตุบางอย่างอาจจะถูกละลายออกมามากเกินไป
  • เกิดจากการปล่อยของเสียและสิ่งปฏิกูลจากบ้านเมือง เช่น สิ่งขับถ่าย ขยะมูลฝอย เศษอาหาร เศษโลหะ สารเคมีต่างๆ จะถูกทับถมอยู่ในดิน จึงทำให้ดินเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเชื้อโรค
  • เกิดจากการใช้ยากำจัดศัตรูพืชและการใช้ปุ๋ยเคมีในการเกษตรกรรม สารเคมีที่ตกค้างพืชอาจจะดูดซึมเข้าไปทำให้เกิดอันตรายแก่คนที่กินเข้าไป
  • เกิดจากสารกำมันตรังสี สารกำมันตรังสีตกค้างพืชอาจจะดูดซึมเข้าไปทำให้เกิดอันตรายแก่คนที่กินเข้าไป

นอกจากสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการพังทะลายและความเสื่อมโทรมของดิน ก็คือการใช้ดินไม่เหมาะสมหรือการใช้ดินแบบไม่บำรุงรักษาไปในตัว จึงทำให้ดินเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมลง เช่น

  • การใช้เพื่อการเกษตร การทำการเกษตรที่ไม่ถูกหลักวิธี ขาดการบำรุงรักษาให้ดี ปล่อยในผิวดินไม่มีพืชปกคลุมทำให้สูญเสียความชุ่มชื้นในดิน
  • การใช้ที่ดินเพื่อการปศุสัตว์ ส่วนมากจะเป็นพื้นที่ดินที่มีสมรรถนะของดินในการปลูกที่ต่ำ และที่ดินผืนนั้นจะกลายเป็นพื้นที่แห้งแล้งในอนาคตเนื่องจากขาดพืชปกคลุมดิน

การอนุรักษ์ดิน

1.การใช้ที่ดินอย่างถูกต้องเหมาะสม จะทำให้รักษาหน้าดินและยึดหน้าดินให้คงสภาพดินไว้ดังเดิม

2.การปรับปรุงบำรุงดิน คือการเพิ่มแร่ธาตุอาหารให้แก่ดิน เช่น การใส่ปุ่ยพืชสด ปุ๋ยคอก การปลูกพืชตระกูลถั่ว เป็นต้น

3.การป้องกันการเสื่อมโทรมของดิน ได้แก่ การปลูกพืชคลุมดิน  การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชบังลม เป็นต้น

4.การให้ความชุ่มชื้นแก่ดิน เช่น การนำหญ้าหรือฟางคลุมดิน เป็นต้น

ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …

ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่