แนวทางกู้ซื้อบ้านสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่เงินเดือนต่ำกว่า  25,000 บาท

สินเชื่อที่อยู่อาศัย

วันนี้เรามีแนวทางการกู้ซื้อบ้านสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่เงินเดือนต่ำกว่า  25,000 บาท มาฝาก ที่สามารถยื่นกู้ สินเชื่อที่อยู่อาศัย กับ ธนาคาร ธอส. ออมสิน หรือ กรุงไทยได้มาฝาก เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปชมกันเลย

แนวทางขอ สินเชื่อที่อยู่อาศัย เพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ

โครงการนี้เป็นโครงการจากภาครัฐ ที่จะเปิดโอกาศให้คนไทยที่มีรายได้น้อนและต้องถือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถอ่านข้อมูล บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพิ่มเติมได้ที่ลิงค์นี้ (https://www.dotproperty.co.th/blog/บัตรคนจน-มีสิทธิ์กู้ร่วมซื้อบ้านได้)

โดยภาครัฐต้องการให้คนไทยได้มีบ้านเป็นของตัวเอง ด้วยสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษ สำหรับผู้ที่ยังไม่มีบัตรคนจนสามารถไปสมัครได้ที่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รวมถึงตามสถานที่อื่นๆ เพิ่มเติม ซึ่งมีประกาศในชุมชน เช่น ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเขต เป็นต้น โดยผู้ที่มีสิทธิขอเงินกู้ในโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ จะแบ่งได้ดังนี้

  1. ประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับสิทธิในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
  2. ประชาชนทั่วไปที่มีรายได้ไม่เกิน 25,000 บาทต่อเดือน ทั้งประกอบอาชีพอิสระและประจำ
  3. ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงาน/เจ้าหน้าที่ของรัฐ
  4. ผู้ที่มีภูมิลำเนาหรือมีความต้องการที่อยู่อาศัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา นราธิวาส และปัตตานี (เฉพาะโครงการในพื้นที่ชายแดนใต้)

 

กู้ร่วมได้ไหม

ในส่วนผู้มีรายได้น้อยยื่นขอสินเชื่อจะต้องเป็นการกู้ร่วม โดยสามารถใช้สิทธิ์กู้ร่วมกับคนในครอบครัวกี่คนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นสามีภรรยากัน แต่ผู้กู้ร่วมต้องมีรายได้เป็นไปตามเกณฑ์การขอสินเชื่อจากธนาคาร หรือถ้าหากหลักฐานรายได้ไม่เพียงพอ

ก็สามารถเปิดเดินบัญชีกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ 6-9 เดือน เพื่อให้ผ่านเกณฑ์ได้เช่นกัน จากนั้น ทางธนาคารจึงจะอนุมัติสินเชื่อให้ในวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท

 

แนวทางกู้ซื้อบ้านสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กับธนาคาร ธอส.

หลักเกณฑ์ สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ     การปล่อยสินเชื่อบ้าน ธอส. จะแบ่งออกเป็น 3 โครงการด้วยกัน คือ 1. โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ 2. โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 3. โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (บุคลากรภาครัฐ)

โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  1. โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ

สินเชื่อที่อยู่อาศัย

เป็นโครงการที่ปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนที่ถือบัตรสวัสดิการรัฐ และประชาชนที่มีรายได้ไม่เกิน 25,000 บาทต่อเดือน ทั้งที่ประกอบอาชีพประจำและอิสระ

วงเงิน

  • สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ วงเงินกู้สูงสุดต่อรายต่อหลักประกันไม่เกิน 1 ล้านบาท
  • สำหรับผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 25,000 บาท/เดือน วงเงินกู้สูงสุดต่อรายต่อหลักประกันไม่เกิน 2 ล้านบาท

ระยะเวลาผ่อน : ระยะเวลาการกู้ไม่น้อยกว่า 7 ปี และไม่เกิน 40 ปี อายุผู้กู้รวมกับระยะเวลาที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 70 ปี

อัตราดอกเบี้ย 

สินเชื่อที่อยู่อาศัยสินเชื่อที่อยู่อาศัย

ค่าธรรมเนียม : ผู้กู้จะได้รับสิทธิฟรีค่าธรรมเนียม ดังนี้

  • ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้
  • ค่าประเมินราคาหลักประกัน
  • ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
  • ค่าจดทะเบียนนิติกรรมจำนอง

ตรวจสอบเอกสารที่ใช้ยื่นประกอบการสมัครได้ที่ ลิงค์นี้(https://www.ghbank.co.th/product-detail/welfare-2018)

  1. โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

สินเชื่อที่อยู่อาศัย

เป็นโครงการที่สนับสนุนเงินกู้ให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดยะลา นราธิวาส และปัตตานี หรือคนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยในพื้นที่จังหวัดเหล่านี้

วงเงิน :

  • ผู้ได้รับสิทธิในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ให้กู้สูงสุดต่อรายต่อหลักประกันไม่เกิน 1 ล้านบาท
  • ประชาชนทั่วไป / บุคลากรภาครัฐ ให้กู้สูงสุดต่อรายต่อหลักประกันไม่เกิน 2 ล้านบาท

ระยะเวลาผ่อน : ระยะเวลาการกู้ไม่น้อยกว่า 7 ปี และไม่เกิน 40 ปี อายุผู้กู้รวมกับระยะเวลาที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 70 ปี

อัตราดอกเบี้ย :

สินเชื่อที่อยู่อาศัย

ค่าธรรมเนียม : ผู้กู้จะได้รับสิทธิฟรีค่าธรรมเนียม ดังนี้

  • ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้
  • ค่าประเมินราคาหลักประกัน
  • ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
  • ค่าจดทะเบียนนิติกรรมจำนอง

ตรวจสอบเอกสารที่ใช้ยื่นประกอบการสมัครได้ที่ ลิงค์นี้(https://www.ghbank.co.th/product-detail/welfare-2018)

 

  1. โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (บุคลากรภาครัฐ)

สินเชื่อที่อยู่อาศัย

สำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่รับใช้ราชการ อาทิ ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย และพนักงานรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น

วงเงิน : วงเงินให้กู้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติงานสินเชื่อของธนาคาร

ระยะเวลาผ่อน : ระยะเวลาการกู้ไม่น้อยกว่า 7 ปี และไม่เกิน 40 ปี อายุผู้กู้รวมกับระยะเวลาที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 70 ปี

อัตราดอกเบี้ย :

สินเชื่อที่อยู่อาศัย

ค่าธรรมเนียม : ผู้กู้จะได้รับสิทธิฟรีค่าธรรมเนียม ดังนี้

  • ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้
  • ค่าประเมินราคาหลักประกัน
  • ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม

ตรวจสอบเอกสารที่ใช้ยื่นประกอบการสมัครได้ที่ ลิงค์นี้(https://www.ghbank.co.th/product-detail/welfare-2018)

ยื่นขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐได้   ทุกโครงการกำหนดระยะเวลายื่นคำขอกู้เงินตั้งแต่วันที่นี้เป็นต้นไป และสิ้นสุดระยะเวลาทำนิติกรรมถึงวันที่ 28 ธันวาคม 2561 หรือ

เมื่อธนาคารปล่อยสินเชื่อเต็มกรอบวงเงินของแต่ละโครงการแล้ว โดยสามารถยื่นขอสินเชื่อได้ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ทุกสาขาทั่วประเทศ

 

แนวทางกู้ซื้อบ้านสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กับธนาคารกรุงไทยและธนาคารออมสิน

กรณีสินใจผลิตภัณฑ์สินเชื่อขอแนะนำให้คุณลูกค้าติดต่อสาขาธนาคารกรุงไทยตามที่ท่านสะดวก จะมีเจ้าหน้าที่ของสาขาคอยให้คำปรึกษา และแจ้งหลักเกณฑ์/เงื่อนไขในการขอสินเชื่อค่ะ ซึ่งสามารถค้นหาที่อยู่สาขาได้ที่ https://www.ktb.co.th/th/contact-us/ktb-location ค่ะ

**สามารถศึกษารายละเอียดผลิตภัณฑ์สินเชื่อประเภทต่างๆได้ที่ https://www.ktb.co.th/th/personal/loan/housing-loan/

สำหรับการพิจารณาสินเชื่อขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน หากท่านมีความสนใจ ทั้งนี้ท่านสามารถดูรายละเอียดสินเชื่อเบื้องต้นได้ที่ https://www.gsb.or.th/personal/products/loan/person/domestic.aspx

หากท่านมีความสนใจ ขอแนะนำท่านติดต่อธนาคารออมสินสาขาใกล้แหล่งรายได้เจ้าหน้าที่ยินดีแนะนำรายละเอียดสินเชื่อที่เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของท่าน

 

อ้างอิง ธนาคาร ธอส.  ธนาคารออมสิน และ ธนาคารกรุงไทย

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เราหามาเสริฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก …