เตรียมเนรมิต 120 ไร่ บางซื่อ เป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ ด้วยงบกว่า 3.5 หมื่นล้าน

บางซื่อ

การรถไฟเตรียมเนรมิต 120 ไร่ ใกล้ บางซื่อ ทำแลนด์มาร์คแห่งใหม่  ผุดออฟฟิศ-ที่อยู่อาศัย พร้อมเสนอสัมปทาน 50 ปี  ในเบื้องต้นประเมินมูลค่าโครงการรวมอยู่ที่ประมาณ 35,000 ล้านบาท ยังเป็นเพียงแนวคิดเบื้องต้น ยังสามารถปรับเปลี่ยนได้ โดยกลุ่ม ซี.พี.-เซ็นทรัล-เจริญ ให้ความสนใจในเวลสนี้

บางซื่อ แลนด์มาร์ค แห่งใหม่บนเนื้อที่ 120 ไร่

บางซื่อ

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการผู้ว่าการถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นเอกชน (Market Sounding) ในการศึกษาความเหมาะสมและการออกแบบเบื้องต้น โครงการพัฒนาพื้นที่สำนักงานใหญ่ของ ร.ฟ.ท. และพื้นที่ต่อเนื่องบริเวณตึกแดง บางซื่อ พื้นที่ 120 ไร่ ในเบื้องต้นประเมินมูลค่าโครงการรวมอยู่ที่ประมาณ 35,000 ล้านบาท ยังเป็นเพียงแนวคิดเบื้องต้น ยังสามารถปรับเปลี่ยนได้ หลังจากนี้จะนำความคิดเห็นของเอกชนไปปรับให้เหมาะสมต่อไป โดยคาดว่าที่ปรึกษาจะสรุปผลการศึกษาเบื้องต้น (Conceptual Design) ได้ประมาณเดือน พ.ค.นี้ และน่าจะเข้าสู่ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างได้ในปีหน้า โดยรูปแบบการลงทุนเบื้องต้น เนื่องจาก รัฐบาล เพิ่งประกาศใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 (พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562) เมื่อวันที่ 10 มี.ค.ที่ผ่านมา ทำให้โครงการนี้ไม่เข้าเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว  ฉะนั้นรูปแบบการลงทุนจึงยึดตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของ ร.ฟ.ท. วางระยะเวลาเช่าอยู่ที่ 50 ปี สัญญาเดียว ส่วนเอกชนจะรวมกลุ่มกันมาในรูปแบบกิจการร่วมค้า (Joint Venture) หรือกิจการค้าร่วม (Consortium) ก็สามารถทำได้ โดยจะต้องก่อสร้างอาคารที่ทำการ ร.ฟ.ท.แห่งใหม่ กับบ้านพักพนักงาน ที่จะย้ายมาจากบริเวณ กม.11 ก่อนเป็นเฟสแรก ซึ่งอยู่ระหว่างสำรวจจำนวนครัวเรือนที่จะต้องย้ายมาอยู่

บางซื่อ

สำหรับรูปแบบการพัฒนาที่วางไว้ แบ่งพื้นที่ 120 ไร่ พัฒนาจำนวน 4 โซนด้วยกัน เริ่มที่ โซน S พื้นที่ประมาณ 15.6 ไร่ จะเป็นสำนักงานใหญ่ของ ร.ฟ.ท.ทั้งหมด ซึ่งจะย้ายมาจากที่ทำการปัจจุบันบริเวณหัวลำโพง ที่ใช้งานมากว่า 70 ปี, โซน A พื้นที่ประมาณ 20.4 ไร่ จะเป็นส่วนของอาคารสำนักงาน, โซน B พื้นที่ 55.8 ไร่ จะเป็นส่วนของที่อยู่อาศัยและคอมมูนิตี้มอลล์ และโซน C พื้นที่ 28.2 ไร่ จะเป็นส่วนของบ้านพักพนักงานรถไฟ

เสนอแก้ผังเมือง มิ.ย.นี้

บางซื่ออย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดที่ปัจจุบันพื้นที่พัฒนาทั้งหมดยังต้องยึดตาม ผังเมืองรวมกรุงเทพ 2556 ทำให้พื้นที่พัฒนาอยู่เขตสีน้ำตาล ประเภท ย.8 และ ย.9 (ที่อยู่อาศัยหนาแน่น) ส่งผลกับการพัฒนาอาคารสำนักงานที่กำหนดพื้นที่ใช้สอยไม่เกิน 10,000 ตารางเมตร ทำให้การพัฒนาส่วนหนึ่งไม่สามารถทำได้เต็มศักยภาพ เพราะในอนาคตพื้นที่ตรงนี้จะต่อเนื่องกับสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งจะเป็นแลนด์มาร์กด้านการขนส่งแห่งใหม่ของประเทศไทยที่จะดึงดูดเม็ดเงินลงทุนในโครงการต่างๆ ร.ฟ.ท.จึงเตรียมแผนที่จะขอปรับสีผังเมืองในพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นสีน้ำตาล ย.9 ทั้งหมด เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอาคารสำนักงานได้ โดยที่ปรึกษาจะสรุปผลการศึกษาเบื้องต้นแล้วเสร็จในเดือน พ.ค.นี้ จากนั้น ร.ฟ.ท.จะทำเรื่องเสนอสำนักผังเมือง กทม.ภายในเดือน มิ.ย.นี้ต่อไป

ซี.พี.-เซ็นทรัล-เจริญ ร่วมสังเกตการณ์

บางซื่อ

สำหรับเอกชนที่มาร่วมรับฟังในวันนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 10 บริษัท เช่น บมจ.ซี.พี.แลนด์ และ บมจ.แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ ของกลุ่มซี.พี., บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา ของกลุ่มจิราธิวัฒน์ และ บมจ.ยูนิเวนเจอร์ กับ บมจ.ไรมอนแลนด์ ของกลุ่มเจริญ สิริวัฒนภักดี เป็นต้น

ที่มา  prachachat.net