เปิด ราคาประเมินที่ดิน เฉลี่ยทั่วประเทศไทยสูงขึ้นถึง 11% โดยพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ราคาต่ำสุด-สูงสุดปรับขึ้น 0.25-7.07% โดยแพงสุดอยู่ที่ 1 ตร.ว. ละ 1 ล้าน ต่ำสุด20 บาท
ส่องราคา ที่ดินประเมินใหม่ทั่วไทย
เมื่อเร็วๆนี้ที่ผ่านมา REIC-ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้จัดงาน วิเคราะห์สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ-ปริมณฑล และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา-สระบุรี ปี 2562 โดยภายในงาน ฐณัญพงษ์ สุขสมศกดิ์ ผู้อำนวยการสำนักประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลราคาประเมินที่ดินใหม่ โดยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่นี้จะ เริ่มใช้จริง 1 มกราคม 2563 โดยสถานะปัจจุบันที่ดินเอกสารสิทธิในไทยทั้งหมด 32 ล้านแปลง โดย20 ล้านแปลงมีการสำรวจระวางที่ดินเสร็จแล้ว เหลืออีก 12 ล้านแปลงที่ยังไม่เสร็จ โดยภายในเดือนมิถุนายนนี้จะเสนอคณะกรรมการประเมินราคาที่ดินชุดใหญ่พิจารณา เพื่อผลักดันใช้บังคับโดยตั้งเป้าประกาศใช้รอบ 4 ปี (2563-2566) ผลจากการสำรวจการประเมินที่ดิน เฉลี่ยที่ดินทั่วประเทศสูงขึ้น 11% โดยแบ่งรายละเอียดแต่ละภาคได้ดังนี้
พื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ปรับต่ำสุด 0.25- สูงสุด 7.07%
ผิดคาดผลกระทบ LTV น้อยกว่าคาด
ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ได้ออกมาแชร์ข้อมูลว่า แนวโน้มผลกระทบ LTV น้อยกว่าคาดการณ์เมื่อต้นปี นั้นก็เพราะว่าจากผลสำรวจยอดโอนกรรมสิทธิ์ติดลบเพียง -7% จากที่คาดการณ์ว่าจนถึงสิ้นปีตลาดอาจติดลบถึง -15% โดยจากตัวเลขผลสำรวจครึ่งปีหลังปี 2561 มีหน่วยเหลือขาย 154,765 หน่วย หรือคิดเป็น 31.4 % ของหน่วยในผังโครงการทั้งหมด เพิ่มขึ้น 8.5%
โดยแบ่งเป็น บ้านจัดสรรมีหน่วยเหลือขาย 86,113 หน่วยคิดเป็น 41.6% โดยภาพรวมเพิ่มขึ้น 7.1% และ อาคารชุดเหลือขาย 68,652 หน่วย คิดเป็น 24.1% โดยภาพรวมเพิ่มขึ้น 10.3% ทำให้หากมองภาพรวมตลาดอสังหาฯล่าสุดตัวแปรที่กระทบอสังหาฯจริงอาจจะไม่ใช่ LTV เป็นอาจจะเป็นการนับถอยหลังไปสู่การบังคับใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่จะเริ่มใช้จริงจังในวันที่ 1 มกราคม 2563 บวกกับราคาประเมิน 4 ปี (2559-2562) จะหมดอายุลงในสิ้นปีนี้
เจาะโครงข่าย ตัดถนน 203 สาย ทะลวงรถติด เพิ่มมูลค่าที่ดินทั่วกรุง
จี้รัฐ ปลดล็อค เครดิตบูโร-กู้ร่วม เพื่อซื้อบ้านง่ายขึ้น