Home Search
กรรมสิทธิ์ที่ดิน - search results
If you're not happy with the results, please do another search
โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ให้ฟรี กับซื้อขาย มีค่าใช้จ่ายและขั้นตอนต่างกันยังไง
เคยสงสัยกันไหมว่า การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ให้ฟรีและการขายกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ต่างกันยังไง ใช้ในกรณีใดได้บ้าง และมีค่าใช้จ่ายที่เหมือนและต่างกันหรือไม่ รวมไปถึงการให้เฉพาะส่วนคืออะไร เป็นการโอนกรรมสิทธิ์รูปแบบไหน วันนี้เรามีคำตอบ
ข้อแตกต่างระหว่างการให้และการขาย
การให้และการขายมีข้อแตกต่างกันตรงที่การให้เป็นการโอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หา โดยไม่ได้รับเป็นค่าตอบแทนจากผู้รับ หรือจะพูดให้เข้าใจง่ายๆเลยคือ เป็นการให้ฟรีๆ แต่การขายนั้นต้องมีการชำระราคาทรัพย์สินให้แก่ผู้ขายด้วย
ส่วนการให้หรือขายเฉพาะส่วน คือ การที่เจ้าของที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์อยู่หลายคน แต่เจ้าของคนใดคนหนึ่งมีความประสงค์ที่จะให้หรือขายเฉพาะส่วนทั้งหมดของตนเท่านั้น
ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน
สําหรับค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนขายหรือให้ที่ดินแกญาติ ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องเสียเท่ากัน ดังนี้
ค่าธรรมเนียม ร้อยละ 2 จากราคาประเมินทุนทรัพย์
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย...
โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ญาติพี่น้อง ต้องทำยังไง เสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
ปกติแล้วการ โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่ถูกที่สุดคือการที่พ่อแม่โอนให้ลูก หรือการโอนสายตรงเท่านั้น การโอนให้กันระหว่างญาติพี่น้อง มักเสียค่าธรรมเนียมเทียบเท่ากับบุคคลทั่วไป โดยมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ต้องดำเนินการอย่างไร และคำนวณยังไง เรามาหาคำตอบกัน
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ให้ญาติพี่น้อง
การโอนที่ดินให้ญาติพี่น้อง คิดตามหลักของการโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้อื่นเลย เพราะไม่ใช่สายตรงอย่างพ่อแม่ลูกที่ถือว่าเป็นมรดก โดยการโอนกรรมสิทธิ์สามารถติดต่อได้ที่กรมที่ดิน ซึ่งทำหน้าที่จัดเก็บภาษีแทนกรมสรรพากรเมื่อมีการซื้อขายหรือโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน หากไม่ชำระภาษีที่กรมที่ดินให้ถูกต้องครบถ้วน ก็จะโอนกรรมสิทธิที่ดินที่ซื้อขายนั้นไม่ได้ หลักๆแล้วเราจะแบ่งค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินสำหรับญาติพี่น้องโอนให้กันออกเป็น 4 ประเภท คือ
ค่าธรรมเนียม ร้อยละ 2...
แดนแห่งกรรมสิทธิ์ และการใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน
ถือว่าเป็นปัญหาอีกเรื่องหนึ่งในการครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน คือเรื่องขอบเขต กรรมสิทธิ์ที่ดิน ผู้ที่เป็นเจ้าของมีสิทธิและหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ติดกัน ในภาษาทางกฎหมายเราจะเรียกกันว่า “ แดนกรรมสิทธิ์ ” ในแง่กฎหมายจะมีข้อกำหนดซึ่งถือเป็นหลักปฏิบัติสำคัญ เป็นสิ่งจำเป็นที่คุณจะต้องรู้เพื่อที่จะได้ไม่เกิดการบุกรุกและละเมิดสิทธิของผู้อื่นดังนี้
การใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน
ในทางกฎหมายได้กำหนดแดนแห่งกรรมสิทธิ์ไว้ในมาตรา 1335 ว่า แดนกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นกินเหนือพื้นดินและใต้พื้นดินด้วย ดังนั้นเจ้าของที่ดินจึงมีสิทธิใช้ประโยชน์ ทั้งบนดินและใต้พื้นดินในอนาเขตของตนเองได้ ยกตัวอย่างเช่น การสร้างคอนโดถือว่าเป็นแดนกรรมสิทธิ์ของเรา เพราะเรามีสิทธิ์ในที่ดินของเราทั้งบนฟ้าและใต้ดินตราบใดที่โครงสร้างของตัวอาคารยังอยู่ในเขตพื้นที่ดินของเราที่ปักหมุดไว้ ก็จะถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของเรา ไม่ผิดกฎหมาย และ สามารถก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างได้ไม่เกิน...
หาเงินทุนมารีโนเวทบ้านจากธนาคารต้องทำอย่างไรบ้าง
เมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งบ้านที่เคยอยู่ก็จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม แต่ความจำเป็นนี้กลับมีค่าใช้จ่ายไม่น้อยเลยทีเดียว หลายคนจึงมีปัญหาในเรื่องของเงินทุนที่จะนำมาใช้รีโนเวทบ้าน ซึ่งดอทขอบอกเลยว่าเราสามารถกู้จากธนาคารได้ แต่จะต้องมีแผนการรีโนเวทที่สามารถรู้ได้ว่าต้องการใช้วงเงินในการรีโนเวทเป็นเงินเท่าใดกันแน่ โดยอย่าลืมเผื่อวงเงินที่ต้องแก้ไขงานผิดพลาดลงไปด้วย
เมื่อเราทราบวงเงินอย่างแน่นอนแล้ว ก็สามารถทำเรื่องยื่นกู้ขอสินเชื่อ ซึ่งแต่ละธนาคารจะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป เรามาทำความรู้จักกับสินเชื่อที่เหมาะสำหรับการรีโนเวทบ้านกันครับ
ทำความรู้จักกับสินเชื่อเพื่อการรีโนเวทบ้าน
สินเชื่อที่เหมาะกับการรีโนเวทบ้านนั้น ธนาคารปล่อยกู้อยู่ 2 รูปแบบด้วยกัน
สินเชื่อบ้านแลกเงิน
สินเชื่อบ้านแลกเงินเป็นการนำบ้านหรือที่อยู่อาศัยมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกับธนาคาร คล้ายกับการที่เรากู้ซื้อบ้านโดยเรานำบ้านกลับไปเป็นของธนาคารอีกครั้งเพื่อให้ได้เงินสด แล้วจากนั้นก็ผ่อนบ้านกลับมาซึ่งต้องจ่ายดอกเบี้ยไม่ต่างจากการจ่ายสินเชื่อซื้อบ้านแต่ดอกเบี้ยจะถูกกว่า จึงเรียกว่าบ้านแลกเงิน
สินเชื่อเพื่อสร้างบ้าน
สินเชื่อเพื่อสร้างบ้านนี้จะเป็นสินเชื่อที่ออกแบบให้คนที่อยากสร้างบ้านเองหรือต้องการรีโนเวทบ้านสามารถขอได้ คล้ายกับการยื่นเพื่อขอสินเชื่อบ้านเพียงแต่หลักฐานในการยื่นจะต่างกันออกไปโดยต้องมีการยื่นแบบก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตเสียก่อน หรือก็คือต้องมีการวางแผนและปรึกษากับผู้รับเหมาเรียบร้อยให้ธนาคารสามารถเห็นผลสำเร็จและแผนการทั้งหมดจึงจะพิจารณษอนุมัติ
เงื่อนไขหลักของสินเชื่อเพื่อรีโนเวท
ในการยื่นขอสินเชื่อสำหรับการรีโนเวทบ้านนั้นจะมีเงื่อนไขในการยื่นที่ธนาคารจะพิจารณาดังนี้
มีสัญชาติไทย อายุเกิน 20 ปีแต่ไม่เกิน 65-70 ปี
บ้านหรือที่ดินต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ยื่นขอสินเชื่อเท่านั้น
...
เปิดให้ต่างชาติซื้ออสังหาเพื่ออะไร? นโยบายนี้เป็นอย่างไร [อ่านสรุปที่นี่]
อย่างที่เรารู้กันดีนะครับว่า ชาวต่างชาติสามารถถือครองสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยได้ทั้งหมด 3 ประเภท คือ
การถือกรรมสิทธิ์ด้วยวิธีการเช่าตามระยะเวลาในสัญญาเช่า
การถือครองสิทธิ์โดยสมบูรณ์สำหรับคอนโดมิเนียม และอาคารชุด
การถือครองสิทธิ์โดยสมบูรณ์ในนามของบริษัทสัญชาติไทย
แต่เดิมชาวต่างชาติซื้อที่พักอาศัยประเภทคอนโดมีเนียม หรืออาคารชุดในประเทศไทย และเป็นเจ้าของสิทธิแบบ 100% ได้เพียงอย่างเดียว รวมถึงสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้ไม่เกิน 49% ของพื้นที่ขายทั้งหมดในคอนโดฯ และอีก 51% เป็นสิทธิของคนไทยในการถือครองกรรมสิทธิ์ มาตรา 19 ทวิ พระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่...
โควิด-19 ส่งผลตลาดอสังหาฯ ชะลอตัว ด้านผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทยเริ่มวางแผนรับมืออนาคต
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงาน Dot Property Group Report: การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลอย่างไรต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้แล้ววันนี้ คลิกที่นี่!
โควิด-19 ทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยชะลอตัว โดยกว่า 90% ของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ตอบแบบสำรวจรายงานว่ายอดขายลดลงในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามมากกว่าครึ่งก็คาดหวังให้ตลาดกลับสู่สภาวะก่อนเกิดโควิด-19 ภายในสิ้นปี 2565
ความเห็นดังกล่าวเป็นหนึ่งในข้อค้นพบที่สำคัญของแบบสำรวจจากผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างไร บริษัททุกขนาดได้รับการสํารวจโดยไม่ระบุชื่อเพื่อให้เห็นประสบการณ์ตรงของพวกเขาในช่วงเวลาที่ท้าทายนี้
ครึ่งหนึ่งของผลสำรวจกล่าวว่ามียอดขายลดลงอย่างอย่างมีนัยสําคัญเนื่องจาก COVID-19 ในขณะที่อีก 41 เปอร์เซ็นต์ยอดขายลดลง แม้ว่าบริษัทจะจัดการการซื้อขายเสร็จสมบูรณ์ แต่ก็ใช้เวลานานกว่าช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19
75% ของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตั้งข้อสังเกตว่าต้องใช้เวลามากขึ้นสำหรับผู้ซื้อในการตัดสินใจ ขณะที่อีก...
พลิกวิกฤต สร้างโอกาส ราคาตลาดที่ดินสวนเมืองนนท์นั้นโก้จริง ๆ สร้างถนนใหม่ ราคาที่ดินพุ่งกระฉูด
เพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนเมือง รัฐบาลได้เห็นชอบประกาศร่างพรฎ.เวนคืนที่ดินก่อสร้างโครงการถนนเชื่อมต่อแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณนนทบุรี 1 (สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์)-กาญจนาภิเษก เป็นระยะทาง 3.8 กิโลเมตร ตัดผ่ากลางสวนผลไม้และชุมชน ส่งผลให้ราคาตลาดที่ดินสวนเมืองนนท์พุ่งสูงกว่าเดิม 4 เท่า อีกทั้งกรมทางหลวงชนบทยังเตรียมลงพื้นที่สำรวจราคาที่ดิน ที่ดินย่านนี้จึงกลายเป็นที่จับตามองของบรรดานักลงทุนรายใหญ่ด้วย
ถนนใหม่ เชื่อมสะพานนนท์ 1 - วงแหวน ผ่ากลางสวนผลไม้ เปิดหน้าดินสร้างทำเลทอง
จากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาการเวนคืนที่ดินก่อสร้าง โครงการถนนเชื่อมต่อสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณนนทบุรี 1 (สะพานมหา...
ที่ดินโซนคูคต-ลำลูกกา ทำไมพุ่งกว่า60% สวนกระแสตลาด อสังหา
REIC เผยราคาที่ดินโซนรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ (คูคต - ลำลูกกา) เพิ่มขึ้น 61% เป็นอันดับหนึ่งที่ทำเลปรับตัวขึ้นสูงสุดติดต่อกัน 4 ไตรมาส ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยว่า ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ทำการติดตามการเปลี่ยนแปลงของราคาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในกรุงเทพฯ - ปริมณฑล เพื่อจัดทำ “ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา” เป็นรายไตรมาส ซึ่งในไตรมาส...
เซ็นยกบ้านให้สามีหรือภรรยาหลังหย่า แต่ไม่ได้ไปทำที่กรมที่ดิน ถือว่าเป็นเอกฉันทร์หรือไม่
มีหลายเคสมากที่เกิดขึ้นกับปัญหาการเซ็นยกบ้านที่ดินให้แล้วแต่ไม่ได้ไปทำที่กรมที่ดิน อย่างเช่นการที่สามีและภรรยาได้จดทะเบียนหย่าร้างกัน และทำการเซ็นยกบ้านให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด โดยที่ไมการเซ็นเป็นลายลักษณ์อักษรดังกล่าวมีเพียงพยานรู้เห็นเป็น จนท. เขต แต่ไม่ได้ไปทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดิน ซึ่งวันนี้เราจะนำเสนอว่าเพราะเหตุใด การเซ็นยกบ้านจึงยังไม่เป็นอันสมบูรณ์
การเซ็นลายลักษณ์ต้องทำที่สำนักงานที่ดินเท่านั้น
การที่มีการเซ็นยกบ้านและที่ดินเกิดขึ้นเป็นหนังสือลายลักษณ์อักษรโดยที่ไม่ได้ทำที่สำนักงานที่ดินนั้น แม้จะมี จนท.เขตเป็นพยานแล้วก็ตาม ก็ยังถือว่าเป็นการเซ็นต์ยินยอมที่ไม่เป็นเอกฉันทร์ จะใช้ยืนยันกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินไม่ได้ เป็นการเซ็นรับรู้ระหว่างผู้ให้และผู้รับเท่านั้น แม้จะเป็นสามีและภรรยาที่หย่าร้างกันก็ตาม จำเป็นที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องนำข้อตกลงนั้นไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน เพื่อให้มีชื่อคนใดคหนึ่งเพียงคนเดียวบนโฉนดตามข้อตกลงของทั้งสองฝ่ายที่มีร่วมกัน
หลักฐานและเอกสารต่างๆที่ต้องนำไปด้วย
หลักฐานที่จะต้องนำมาด้วย ณ สำนักงานที่ดิน จะต้องมีโฉนดที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ใบสำคัญการหย่า ข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินตลอดจนหลักฐานประจำตัวอื่นๆ...
การมอบอำนาจที่ดิน กับข้อควรระวังและข้อบังคับต่างๆที่ต้องรู้
ไม่ใช่ว่าทุกคนจะมีเวลาและความสะดวกมากพอที่จะไปทำการต่างๆที่กรมที่ดินได้ กฎหมายจึงมีข้อยกเว้นให้มีการ มอบอำนาจที่ดิน เกิดขึ้นเพื่อให้คนที่ไม่สะดวกในช่วงเวลาราชการ สามารถกระทำการต่างๆ ไม่ว่าจะซื้อจะขาย รวมไปถึงธุรกรรมต่างๆที่คุณสามารถใช้ตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจไปกระทำการแทนตนได้ โดยวันนี้เราจะพูดถึงข้อระวังและการเตรียมตัวต่างๆเพื่อให้คุณไม่เกิดข้อผิดพลาดจนทำให้ต้องเสียเวลาไปโดยเสียเปล่า
ความหมายของการมอบอำนาจ ที่ดิน
การมอบอำนาจที่ดิน เป็นการมอบสิทธิอำนาจต่างๆในการกระทำการเกี่ยวกับ ที่ดิน แทนผู้ขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ที่ไม่สามารถไปยังสำนักงานที่ดินจังหวัดหรือที่สำนักงานที่ดินที่อำเภอด้วยตัวเองได้ ตรงนี้เองกฎหมายจึงเร็งเห็นปัญหาความไม่สะดวกแก่ประชาชน จึงยอมให้สามารถมอบหมายให้ผู้ที่เจ้าของกรรมสิทธิ์เชื่อถือและไว้วางใจได้ ไปทำการต่างๆแทนตนได้ โดยผู้นั้นต้องทำหลักฐานการมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ผู้ไปทำการแทน ทั้งนี้ควรมอบบัตรประชาชนของผู้มอบให้ผู้รับมอบอำนาจนำไปแสดงต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย
คำแนะนำสำหรับหนังสือมอบอำนาจ
อันดับแรกสำหรับการทำหนังสือการมอบอำนาจเลยคือการพิจารณาผู้ที่จะรับมอบอำนาจ จะต้องเป็นบุคคลที่ผู้มอบอำนาจมีความเชื่อถือ หรือจะเป็นญาติพี่น้องที่ไว้ใจได้เสียก่อน โดยที่ต้องมีพยานอย่างน้อย 1 คน หรือกรณีที่ไม่สามารถพิมพ์ลายนิ้วมือได้ต้องมีพยาน...