DotProperty.co.th

AEC กับ อสังหาฯ ไทย

AEC หรือที่เรียกเป็นทางการว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) คือ การที่กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศรวมตัวกันเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (Single Market and Production Base) มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และหากเปรียบเทียบในแง่ของตลาดที่อยู่อาศัยแล้วนั้น ตลาดเดิมของประเทศไทยที่มีประชากรรวม 65 ล้านคน ก็จะกลายเป็นตลาดอสังหาริมทรัพย์ระดับอาเซียน ที่มีประชากร อาศัยอยู่กว่า 600 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ10 ของประชากรโลกเลยทีเดียว และในปลายปี 2558 ประเทศไทยก็กำลังจะก้าวเข้าสู่การเป็น AEC

สำหรับเรื่องดี มันก็ดีอยู่หรอกค่ะ แต่หากถามถึงผลกระทบก็คงพูดไม่ได้ว่า ไม่มีเลย สำหรับสิ่งที่เราควรตั้งรับและระวังนั่นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ซึ่งได้แก่

1. บริษัทต่างชาติจะเข้ามาถือหุ้น ในบริษัทด้านอสังหาฯ ของไทย จะสามารถถือหุ้นเพิ่ม ขึ้นจากเดิม 49% เป็น 70% ภายในปี 2558 และต่างชาติที่เข้ามาถือหุ้นเพิ่มน่าจะเป็นกลุ่ม Property ที่อยู่ ใจกลางเมือง โดยเฉพาะพื้นที่ศูนย์กลาง ธุรกิจ ศูนย์กลางการท่องเที่ยว หรือ อุตสาหกรรมเป็นหลัก ส่วนที่อยู่อาศัย ทั่วไป น่าจะเป็นตลาดที่ชาวต่างชาติให้ ความสนใจไม่มากนัก เพราะการทำ ธุรกิจที่อยู่อาศัยเป็นเรื่องที่ต้องมีเรื่องของกฎระเบียบ ของแต่ละประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงคิดว่าประเด็นนี้ไม่ใช่ประเด็นที่ต้องระวังเท่าไหร่ นอกจากนี้ชาวต่างชาติในอาเซียนจะเข้ามาพักอาศัยในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ทั้งเข้ามาทำธุรกิจ ลงทุน หรือเข้ามาจากการเคลื่อนย้ายแรงงาน แต่ปัญหาก็คือ ปัจจุบันกฎหมายไทยยังมีการ จำกัดสิทธิการถือครองอสังหาริมทรัพย์ และการกู้ยืมเงินเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติดังนั้น หลังจากการ เข้าสู่ AEC จึงขึ้นอยู่กับว่าหากธนาคาร พาณิชย์ของไทยกับรัฐบาลไทยเอื้อให้ชาวต่างชาติเข้ามากู้ยืมเงินเพื่อซื้อบ้าน ได้ก็จะทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย ในกลุ่มลูกค้าอาเซียนมีโอกาสในการ เติบโตขยายตัวเพิ่มมากขึ้น

2. ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “ชาวต่างชาติ ไม่ใช่คนไทย” แม้จะอยู่บ้านใกล้ เรือนเคียงกัน แต่ประเพณีค่านิยม วิถีชีวิต รวมถึงฐานะเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องศึกษากลุ่มลูกค้าอาเซียนให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้เข้าใจข้อมูลพื้นฐาน ของกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ว่าเป็นอย่างไร จากการสำรวจพบว่า ประชากรอาเซียนส่วนใหญ่เป็นประชากรวัยทำงาน อายุระหว่าง 15-64 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงและพร้อมทดลองสินค้าใหม่ๆ ส่วนประเทศที่มีรายได้สูงสุดในอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์และบรูไน เฉลี่ยมากกว่า 12,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปีหรือเฉลี่ย 31,000 บาทต่อเดือน ส่วนมาเลเซียและไทย จัด อยู่ในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลาง-สูง คือ เฉลี่ยประมาณ 4,000-12,000 เหรียญ หรือประมาณ 10,000- 31,000 บาทต่อเดือน กลุ่มที่มีรายได้ เรียกว่าปานกลาง-ต่ำ ได้แก่ ประเทศ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์เวียดนาม ลาว เป็นต้น ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ย่อมส่ง ผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันอีกด้วย

3. ภาษา โดยเฉพาะ “ภาษาอังกฤษ” หากเปรียบเทียบกับอีกๆ หลายประเทศในอาเซียนแล้ว ยังถือว่าต้องพัฒนาอีก ทั้งด้านของทักษะ และทัศนคติ จึงควรตระหนักและกระตือรือร้นที่จะต้องฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทำงานให้ดียิ่งขึ้น
หากคนไทยและประเทศไทย เตรียมพร้อมทั้งความรู้และทัศนคติแล้วล่ะก็ การเข้าสู่ AEC ของประเทศไทยก็จะต้องสดใสและรุ่งเรืองได้อย่างแน่นอนค่ะ