DotProperty.co.th

AEC คือ โอกาส หรือ หายนะ ของนักลงทุน

AEC คือ โอกาส หรือ หายนะ ของนักลงทุน………

อืม…ก็น่าคิดนะ ส่วนใหญ่คนจะมองเห็นโอกาส แต่จะมีสักกี่คนที่เห็นทั้งโอกาส และเตรียมรับมือกับหายนะ ….

พอดีเราไปอ่านเจอข้อมูลน่าสนใจมาล่ะค่ะ ก็เลยจะเอามาแชร์ให้ได้อ่านกันสักหน่อย…พร้อมยังคะ…?

สำหรับใครที่กำลังมองเห็นโอกาสจากการลงทุนในประเทศอาเซียน ก็คงต้องแนะนำว่า “ศึกษาข้อมูลให้ดีๆก่อนล่ะค่ะ” ไม่ใช่ว่าห้าม นะคะ เพียงแต่คิดว่า แม้เป็นการลงทุนในประเทศเอง เรายังต้องศึกษา ต้องชั่งน้ำหนักซะก่อน แต่นี่เป็นต่างประเทศนะเธอว์…จะไม่ให้ศึกษาจริงจังได้อย่างไรกัน…!!

หากดูภาพรวมของ AEC ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีประชากรรวม 65,124,716 คน (ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 5 มีนาคม 2558) พูดได้ว่าเป็นระบบเศรษฐกิจมีขนาดค่อนข้างใหญ่ GDP ของประเทศไทยไตรมาส 1/2558 ขยายตัวร้อยละ 3.0 จากร้อยละ 2.1 ในไตรมาสที่ 4/2557 ซึ่งตั้งเป้าคาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.0-4.0 จากข้อมูลนี้ก็ดูเหมือนจะเป็นโอกาสหนึ่งในการผลักดันประเทศ เพื่อสร้างโอกาสในการลงทุน

แต่เมื่อเมียงมอง หันดูประเทศในกลุ่ม AEC แล้วล่ะก็….เออะ…ลองมาดู GDP ของแต่ละประเทศกันก่อนดีกว่า

เป็นยังไงกันบ้างคะ… GDP ของประเทศต่างๆในอาเซียน…?

มีคนเคยกล่าวไว้ว่าการที่ประเทศจะก้าวเดินต่อไปนั้น ควรให้ความสำคัญกับ ก๊าซเรือนกระจก, สิ่งแวดล้อม และการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพราะทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องเดียวกัน….

ดังนั้น เราลองมาดูการเปรียบเทียบการเติบโตด้านการใช้พลังงานของประเทศในกลุ่ม AEC ดูกันบ้างดีกว่า ซึ่งแน่นอนว่ามีสถิติเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยที่อินโดนีเซียมาเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วยประเทศไทย และมาเลเซีย แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ(GDP)กับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้วนั้น ปรากฏว่าเวียดนามมาเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วยอินโดนีเซีย และประเทศไทย

ยิ่งเมื่อความเจริญเข้าสู่ประเทศอาเซียนมากเท่าไหร่ ไม่ว่าจะเป็นลาว, เขมร หรือว่า พม่า หรือจะในประเทศ อุดมสมบูรณ์อื่นๆก็ตาม ทรัพยากร และ พลังงานที่มีอยู่อย่างมากมายก็จะเปลี่ยนไป

ดังนั้น การรวมกันเป็นกลุ่มก้อนของ AEC ในประเทศอาเซียนจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องร่วมมือกันสร้างความสมดุลระหว่างการเติบโตของเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กับการดูแลเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นมากมายในอนาคต เนื่องจากในขณะนี้ประเทศที่พัฒนาแล้วกำลังบีบให้ประเทศกำลังพัฒนาให้ความร่วมมือในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั่นเอง
ดังนั้นการลงทุนเพื่อดำเนินธุรกิจจะต้องเติบโตไปพร้อมๆ กับการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพราะสิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และประชาชนในมุมกว้าง เป็นสิ่งใกล้ตัวที่ทุกคนต้องช่วยกันแก้ไข
ถึงจะไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนในตอนนี้ แต่ก็คาดการณ์ได้ว่า AEC เป็นทั้งโอกาส และ ความท้าทาย ถ้าหากว่าเรามีการเตรียมพร้อมที่ดี กลุ่มประเทศ AEC ก็จะเป็นแหล่งผลิตสินค้าขนาดใหญ่เพื่อป้อนตลาดโลก เพราะทุกประเทศในโลก คือ ตลาดของเรา
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็เช่นกัน หากว่ามีการวางแผน และการบริหารจัดการที่มากพอ อีกทั้งมีความพร้อมทางด้านภาษาและกฎเกณฑ์ ก็จะทำให้สร้างความน่าเชื่อถือ เป็นโบนัสเพิ่มขึ้นไปได้อีกทางหนึ่งด้วย
ที่มา : CEIC, thai-aec, nesdb, mfa, tradingeconomics