Home Search
การลงทุน - search results
If you're not happy with the results, please do another search
ประมูลอย่างไรให้ได้ราคาถูก…เทคนิคสำหรับนักลงทุนมือใหม่
แม้ว่าของฟรีนั้นจะไม่มีในโลก แต่ถ้าจะหวังของถูกและคุ้มค่าก็ยังมีอยู่ในการประมูลบ้านและคอนโดมือสอง NPA จากกรมบังคับคดี เพราะทรัพย์สินขายทอดตลาดนั้นจะมีราคาเริ่มต้นถูกกว่าราคาประเมินทั่วไปมากพอสมควร แต่หากการประมูลยืดยาว ราคาที่คาดว่าจะถูกอาจจะดีดตัวสูงขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อ
เมือตัดสินใจเข้าร่วมประมูลบ้านและคอนโดจากกรมบังคับคดีไม่ว่าคุณจะต้องการซื้อเพื่อการลงทุน หรือซื้อเพื่อการอยู่อาศัยเอง
ก็จำเป็นที่จะต้องสวมบทบาทเป็น เป็นพ่อค้า
เพราะหากใช้วิธีคิดแบบพ่อค้าจะคิดแบบใจเย็น เพราะพ่อค้าจะไม่ได้ปักใจอยู่กับบ้านหรือคอนโดหลังใดหลังหนึ่งจนต้องทุมเงินเพื่อให้ได้มา
หากแต่การคิดแบบพ่อค้าจะทำให้เห็นว่ามีทางเลือกมากมาย หากไม่ได้บ้านหรือคอนโดนี้ก็ยังมีตัวเลือกอื่นๆที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันอยู่
บางครั้งอาจรอถึงการประมูลครั้งที่ 3 และ 4 ที่จำทำให้ราคาของทรัพย์สินนั้นลดต่ำลงไปจากครั้งแรกมากโข
ส่วนมากพ่อค้าจะร่วมประมูลทรัพย์ตั้งแต่ครั้งแรกเพื่อดูสถานการณ์ และประเมินรายละเอียด ใครเป็นโจทก์ เป็นเจ้าหนี้ และดูจะสู้ราคามากน้อยเท่าใด
จำเลยหรือเจ้าของทรัพย์เดิมมีท่าทีขอคัดค้านราคาหรือไม่ แต่ยังจะไม่ประมูลในตอนนั้น (ยกเว้นเป็นทรัพย์สินทำเลดี มีความต้องการสูง
และมีโอกาสในการทำกำไร มีผู้เข้าร่วมประมูลเยอะ พ่อค้าก็อาจลุยประมูลตั้งแต่ยกแรก)
การดูสถานการณ์จะทำให้สามารถอ่านเกมว่าสามารถลุยประมูลมาได้เลย หรือต้องรอก่อน ต้องรอถึงขนาดไหนจึงจะดี...
ทราบกันเสี่ยง…ข้อควรระวังในการประมูลบ้านและคอนโดจากกรมบังคับคดี
เป็นที่ทราบกันดีว่าการซื้อบ้านหรือคอนโดขายทอดตลาดจากกรมบังคับคดีนั้นมีความเสี่ยงมากกว่าเมื่อเทียบกับบ้านและคอนโดNPA ของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตามหากเราทราบข้อควรระวัง ก็จะสามารถลดความเสี่ยงที่ต้องเผชิญในการลงทุนกับการประมูลอสังหาริมทรัพย์ จากกรมบังคับคดีได้ เหล่านักลงทุนและว่าที่เจ้าของบ้านมือใหม่จะต้องระวังในเรื่องต่อไปนี้
1. ในวันประมูลหากเจ้าของทรัพย์สินเดิมหรือจำเลยไม่มาเข้าร่วมการประมูลในวันประมูลไม่ว่าจากเหตุผลใดก็ตาม
โดยปราศจากการชี้แจงเหตุผลหรือการแจ้งยินยอมให้เกิดการประมูล การประมูลจะเกิดขึ้นไม่ได้ แม้จะมีการนัดและผู้ประมูลมากัน
พร้อมก็ไม่สามารถเริ่มประมูลได้
2. เจ้าของทรัพย์สินเดิมในฐานะลูกหนี้ หรือจำเลยสามรถฟ้องคัดค้านราคาได้ 1 ครั้งตามกระบวนการทางกฎหมายซึ่
งอาจส่งผลให้การประมูลเป็นโมฆะ
3. ผู้ลงทุนจะต้องคำนวณต้นทุนราคาที่เหมาะสมไว้ในใจให้ดี เพราะหลายครั้งผู้รับจำนอง หรือทางสถาบันการเงิน
ที่เป็นโจทก์ของทรัพย์สินดังกล่าวจะทำการสู้ราคาจนกว่าจะได้ราคาที่สูงอย่างที่ประเมินไว้ ซึ่งหลายครั้งการสู้ราคานี้ทำให้บ้านและ
คอนโดนั้นมีราคาที่ค่อนข้างสูง ผู้ลงทุนจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วย
4. ปัญหาเรื่องการฟ้องขับไล่ เป็นปัญหาที่จะต้องคำนึงและระวังมากที่สุด และนับเป็นเรื่องที่สร้างปัญหา
ให้แก่ผู้ลงทุนในNPAที่ขายทอดตลาดมากเป็นอันดับต้นๆ แม้กรมบังคับคดีจะให้อำนาจศาลส่งการให้ผู้อาศัยเดิม
เป็นผู้บุกรุกสามารถออกจากบ้านได้ทันที แต่ในความเป็นจริงเรื่องนี้ไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าจะเป็นยังไง
ใช้เวลาเท่าไหร่ผู้อาศัยเดิมจึงจะออกจากบ้าน และปัญหานี้ยังส่งผลให้การขอสินเชื่อจากธนาคารมีปัญหาเพราะทางสถาบันการเงิน
จะเข้าประเมินทรัพย์สินไม่ได้หากผู้อยู่อาศัยไม่อนุญาต ส่งผลให้การปล่อยกู้อาจไม่สำเร็จ มีผลให้อาจไม่สามารถชำระเงินส่วนที่เหลือ
ให้แก่กรมบังคับคดีในระยะเวลาที่กำหนดทำให้เสี่ยงที่จะไม่ได้บ้านและคอนโดนั้นและยังต้องเสียค่าประกัน...
เตรียมให้พร้อม เจาะลึกขั้นตอนประมูลบ้านและคอนโดจากกรมบังคับคดี
การเตรียมการอย่างรอบด้าน จะทำให้ปัญหาและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นมีเปอร์เซ็นลดลง หลักการนี้ใช้ได้กับการประมูลบ้าน
และคอนโดมือสองจากกรมบังคับคดีเช่นกัน เพราะเป็นการประมูลจากหน่วยงานราชการจึงไม่ได้มีความสะดวกเท่าการประมูลบ้าน
และคอนโดมือสอง NPA จากสถาบันการเงิน
ดังนั้นผู้ที่สนใจจะทำการลงทุนกับบ้านขายทอดตลาดจึงต้องทราบกระบวนการเผื่อการวางแผนและการตัดสินใจ
โดยขั้นตอนแบ่งออกเป็น
ขั้นตอนการเตรียมหลักฐาน
โดยผู้เข้าร่วมประมูลต้องเตรียมหลักฐานในการเข้าร่วมประมูลอสังหาริมทรัพย์ขายทอดตลาดดังนี้
1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการหรือเจ้าหน้าของรัฐหรือบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจพร้อมสำเนา
รับรองถูกต้อง 1 ฉบับ หากเป็นบริษัทหรือนิติบุคคล ต้องส่งหนังสือรับรองซึ่งถูกนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน
2. เตรียมหนังสือมอบอำนาจพร้อมอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมหลักฐานในข้อ 1 ในกรณีฝากผู้อื่นเข้าร่วมประมูล
3. เงินสด หรือ แคชเชียร์เช็คสั่งจ่ายหน่วยงานที่เข้าร่วมประมูล เช่น...
กฎหมายและระเบียบควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้อบ้านและคอนโดขายทอดตลาด
ผู้ที่เลือกลงทุนกับ NPA จากกรมบังคับคดี ล้วนต้องการได้บ้านหรือคนโดคุณภาพดีในราคาต้นทุนที่ถูก
อย่างไรก็ตามราคาของทรัพย์สินขายทอดตลาดย่อมแลกมาด้วยขั้นตอนที่มากกว่า NPA ที่รอการขาย
ของสถาบันการเงิน นอกจากนี้การที่ต้องติดต่อ และประมูลทรัพย์สินจากกรมบังคับคดี ยังทำให้ผู้ลงทุนต้องเรียนรู้ถึงระเบียบ
และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
วันนี้ทาง dotproperty จึงนำระเบียบและข้อกฎหมายควรรู้สำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนกับทรัพย์สินขายทอดตลาดจาก
กรมบังคับคดีมานำเสนอ เพื่อการวางแผนที่ถูกต้องสำหรับผู้ลงทุนและผู้สนใจซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยในราคาถูก มาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง
1. ผู้สนใจเข้าร่วมประมูลจะถูกเรียกว่า “ผู้เข้าสู้ราคา” จะต้องลงชื่อพร้อมที่อยู่ในสมุดรายงานการขายทอดตลาด
เมื่อต้องการซื้อที่ดิน หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากกรมบังคับคดี
2. หากเข้าสู้ราคาในนามบุคคลอื่น ต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อนการประมูล มิเช่นนั้น
ทางเจ้าพนักงานจะถือว่า บุคคลนั้นเข้าร่วมประมูลด้วยตนเอง ซึ่งกรรมสิทธิ์เมื่อโอนย่อมตกเป็นของบุคคลที่เข้าสู้ราคานั้น เปลี่ยนชื่อ
ผู้สู้ราคาภายหลังไม่ได้
3. เข้าสู้ราคาด้วยปากเปล่า...
จะหาบ้าน-คอนโดมือสองที่ขายทอดตลาดได้อย่างไร
เมื่อคุณตัดสินใจแล้วว่าบ้านหรือคอนโด NPA ของกรมบังคับคดีนั้นเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการลงทุน เพราะมีราคาต้นทุนที่ถูกกว่า
หลายคนคงสังสัยว่าการค้นหาบ้านหรือคอนโดจากกรมบังคับคดีจะมีความแต่งต่างจากบ้านและคอนโดมือสองNPAของสถาบันการเงินอย่างไร
โดยทั่วไปแล้วจะสามารถหารายการทรัพย์สินขายทอดตลาดที่ประกาศประมูลขายได้จากช่องทาง ดังนี้
1. ติดต่อกรมบังคับคดีโดยตรง
โดยสามารถติดต่อไปยังสำนักงานบังคับคดีได้ทั่วประประเทศ ทางสำนักงานบังคับคดีจะมีการประชาสัมพันธ์เพื่อประกาศขายทรัพย์สินทอดตลาด
โดยแยกเป็น ประเภท บริเวณ ในราคาเริ่มต้นที่แตกต่างกันไป
2. ติดต่อกับสถาบันการเงินที่มีสาขาใกล้บ้าน
ทางสถาบันการเงินนอกจะมีการประกาศขายบ้านและคอนโดมือสอง NPA ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองแล้ว ยังมีการประชาสัมพันธ์บ้านและคอนโดขายทอดตลาด
ที่กรมบังคับคดีเป็นผู้เปิดประมูล ในฐานะโจทก์(เจ้าหนี้) หรือในฐานะผู้รับจำนอง สถาบันการเงินจะประชาสัมพันธ์รายละเอียดทรัพย์สิน วัน เวลา สถานที่
ประมูล และราคาเริ่มต้น เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทำการประมูลซื้อ ทางสถาบันการเงินก็จะได้รับการชำระหนี้
3. การหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
สำหรับผู้ที่ต้องการหาข้อมูลแต่ไม่สะดวกที่จะเดินทาง...
ปัญหาติดจำนองทรัพย์สินขายทอดตลาด…รู้ไว้ ลดความเสี่ยง
หลายคนที่คิดจะลงทุน หรือซื้อบ้านและคอนโดมือสองในกับกรมบังคับคดีนั้นมักมีเหตุผลคล้ายๆกัน คือเพราะเป็นบ้านและคอนโดที่มีราคาถูกกว่าราคาท้องตลาด
แม้จะต้องผ่านขั้นตอนการประมูลก่อนก็ตาม เพราะถ้าเทียบภาพรวม ของสภาพอสังหาริมทรัพย์แล้ว บ้านหรือคอนโดที่เป็นทรัพย์สินขายทอดตลาดหรือ บ้านหรือคอนโดNPA
ของสถาบันการเงินจะมีสภาพที่ใกล้เคียงกัน แต่อย่างไรก็ตามทรัพย์สินขายทอดตลาดมักจะมีปัญหาหนึ่งซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่นั่นคือปัญหา “ติดจำนอง”
โดยทั่วไปในรายละเอียดการขายทรัพย์สินจะมีระบุไว้ว่าจะทำการขายโดย
หรือขายโดยติดจำนอง คือ ราคานอกจากราคาประมูลแล้ว ราคายังต้องบวกหนี้จำนองส่วนที่เหลือเพิ่มเข้าไปด้วย ทำให้ราคานั้นสูงกว่า
สำหรับความหมายของการขายโดยติดจำนองไปคือ
1. ในการขายทอดตลาดโดยวิธีการติดจำนองไปมีผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย ประกอบด้วย เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา(โจทก์) ลูกหนี้ตามคำพิพากษา
(จำเลย) และผู้รับจำนอง
2. ในคดีฟ้องร้องโจทก์(เจ้าหนี้) ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จากจำเลย ซึ่งทรัพย์ที่ยึดได้ติดจำนองกับบุคคลภายนอก ไม่ว่าจะเป็น
บุคคลธรรมดา...
รู้จักบ้านและคอนโดเอ็นพีเอจากกรมบังคับคดี
NPA หรือทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้นั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ทรัพย์สินรอการขายซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารและ ทรัพย์สินขายทอดตลาด
ของกรมบังคับคดี ซึ่งทรัพย์สินขายทอดตลาดนั้นก็เรียกความสนใจของนักลงทุน และผู้ที่อยากซื้อที่อยู่อาศัยในราคาประหยัดได้เป็นอย่างดี
ในการเลือกทรัพย์สินขายทอดตลาดของกรมบังคับคดีนั้นก็มีหลักการคล้ายกับการเลือกอสังหาริมทรัพย์มือสองอย่างอื่น คือต้องคำนึงถึงทำเลที่ตั้ง
เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ตามมาด้วยสภาพตัวบ้าน สิ่งแวดล้อม เพื่อนบ้าน และราคาที่สมเหตุสมผล นอกจากการหาข้อมูลแล้ว การลงสำรวจพื้นที่ด้วยตัวเองก็สำคัญเช่นกัน
ระเมินภาพรวมทั้งหมดก่อนตัดสินใจว่าคุ้มค่าให้เข้าร่วมประมูลหรือไม่ (กรณีคอนโดมิเนียมอาจติดต่อนิติบุคคลขอดูภาพรวมในโครงการ)
การจะซื้อบ้านหรือคอนโดจากกรมบังคับคดีนั้น จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่า NPAของสถาบันการเงินหากแต่ทรัพย์สินนั้นมีราคาที่ถูกกว่าราคาตลาด
จึงสามารถดึงดูดให้คนสนใจได้ไม่แพ้บ้านและคอนโดมือสองNPA ของสถาบันการเงิน เพราะต้นทุนที่ต่ำย่อมหมายความถึงผลตอบแทนที่สูงขึ้น
เมื่อเข้าร่วมประมูล ผู้เข้าร่วมประมูลจะถูกเรียกว่า “ผู้เข้าสู้ราคา” ส่วนมากราคาเริ่มประมูลบ้านและคอนโดมือสองจากกรมบังคับคดีนั้นจะมีราคาต่ำกว่า
ราคาตลาดถึง...
ทำอะไร ตอนไหน…เจาะลึกขั้นตอนซื้อบ้าน-คอนโดมือสองNPAจากสถาบันการเงิน
เป็นที่ทราบกันดีกว่า NPA ในรูป ทรัพย์สินรอการขายของสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นจะมีขั้นตอนการซื้อที่ง่ายกว่า
NPA ที่เป็นทรัพย์สินขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี จึงไม่แปลกใจที่หลายคนจะเลือกลงทุนกับทรัพย์สินรอการขาย แต่หลายครั้งผู้ลงทุน
และผู้ที่ต้องการจะซื้อบ้านหรือคอนโดมือสองNPA เกิดความสงสัยว่าหากเราตัดสินใจแล้วว่าต้องการซื้อNPA ของสถาบันการเงินต้องทำอะไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
วันนี้ dotproperty เลยไม่รอช้านำขั้นตอนในการซื้อบ้านและคอนโด NPA มาเสนอ ขั้นตอนแบ่งออกได้ ดังนี้
1. รับแบบฟอร์มเสนอซื้อ
ผู้ซื้อสามารถทำการขอรับแบบฟอร์มคำเสนอซื้อได้ที่สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ หรือทางเว็บไซต์ในบางสถาบัน แต่บางที่อาจทำการเสนอ
ซื้อผ่านเว็บได้เลย
2.กรอกแบบฟอร์ม เตรียมหลักฐาน
ผู้เสนอซื้อทำการระบุรายละเอียดราคา และเงื่อนไขการเสนอซื้อ ลงนาม พร้อมแนบเอกสารดังนี้
- กรณีบุคคลธรรมดา...
โครงการ Noble Recole สุขุมวิท 19 ปิดการขายภายใน 1 ชั่วโมง
นายธีรพล วรนิธพงศ์ ผู้อำนวยการโครงการ บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเผยว่า บริษัทประสบความสำเร็จจากการปิดการขายโครงการ Noble Recole สุขุมวิท 19 ภายใน 1 ชั่วโมง คิดเป็นยอดขาย 2,500 ล้านบาท ส่งผลให้ยอดขายเป็นไปตามเป้าหมายที่ทางบริษัทได้ตั้งไว้
โดยความสำเร็จในครั้งนี้ส่วนใหญ่มาจากปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ ชื่อเสียงของโครงการ ทำเลที่ตั้งที่มีศักยภาพภายในย่านสุขุมวิท...
แสนสริ กับโปรแกรมเดินหน้าอย่างมั่นใจในปี 2557 กับยอดขาย 1.1 พันล้าน
กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสริ จำกัด อย่างนาย เศรษฐา ทวีสิน ได้กล่าวเปิดเผยว่า แสนสิริในปัจจุบันมียอดขายรวมจากลูกค้าต่างชาติแตะถึง 8,500 ล้านบาทแล้ว หากจะให้คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ สามารถคิดได้ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ของยดขายรวมของแสนสิริทั้งหมด โดยที่ยอดขายนี้มาจากคอนโดมิเนียม 1,500 ยูนิต ซึ่งมาจากลูกค้าชาวต่างชาติถึง 55 ประเทศ โดยที่ลูกค้าต่างชาติจะมียอดซื้อคอนโดมิเนียมสูงสุดใน 5 อันดับแรก...