Search

โอนกรรมสิทธิ์ - search results

If you're not happy with the results, please do another search
ครอบครองปรปักษ์

ครอบครองปรปักษ์ รู้ไว้!!! จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อ กลโกงที่ดิน

ครอบครองปรปักษ์ หมายถึง การที่บุคคลได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่นโดยการครอบครองตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๘๒  ซึ่งได้บัญญัติว่า “ ใครก็ตามที่ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยสงบและโดยเปิดเผย ถ้าหาต้องการที่จะเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องครอบครองติดต่อมาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ปี หรือ ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์จะต้องครอบครองติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 5 ปี ถึงจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธื์นั้น ” การที่บุคคลจะได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์จะต้องปรากฏว่า ทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินของผู้อื่นที่เจ้าของจะต้องมีกรรมสิทธิ์  โดยเฉพาะที่ดิน  ที่ดินที่จะได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์จะต้องเป็นที่ดินที่มีหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ ได้แก่ โฉนดที่ดิน โฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง...
การจำหน่ายทรัพย์สิน

กรมบังคับคดี กับ “ การจำหน่ายทรัพย์สิน ” ตอนที่ 2

เรามาต่อกันเลยจากตอนที่แล้วกับ “ การจำหน่ายทรัพย์สิน ” ที่เราได้พูดถึงไปแล้วว่าเป็นกระบวนการหนึ่งที่ดำเนินการต่อจากการยึดทรัพย์ โดยแบ่งการจัดการทรัพย์นั้นออกได้เป็น 2 กรณี ทั้งการเอารายได้จากทรัพย์สินแทนการขายทอดตลาด , การขายทอดตลาดและการประมูล เป็นต้น เหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดี ในการขายทอดตลาดอาจมีเหตุตามกฎหมายที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องงดการขายทอดตลาด ดังนี้ เมื่อมีการถอนการยึดทรัพย์ โดยเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทย์ขอถอนการยึดทรัพย์ หรือลูกหนี้ได้วางเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษา และชำระของผู้ร้องเฉลี่ยทรัพย์ที่ศาลมีคำสั่งแล้ว พร้อมทั้งค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายครบถ้วน ศาลสั่งงดการบังคับคดี เจ้าหนี้ของดการบังคับคดี โดยได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากลูกหนี้และบุคคลภายนอก ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี กรณีบุคคลภายนอกอ้างว่าทรัพย์ที่ขายไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ และได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลขอให้ปล่อยทรัพย์นั้น ...
การจำหน่ายทรัพย์สิน-1

กรมบังคับคดี กับ “ การจำหน่ายทรัพย์สิน ” ตอนที่ 1

จากบทความก่อนหน้าของการบังคับคดีแพ่ง เราได้พูดถึงทั้ง “การยึดทรัพย์สิน” และ “การอายัดทรัพย์สิน” กันไปแล้ว ในครั้งนี้เราก็จะมาขอต่อกันเลยกับ “ การจำหน่ายทรัพย์สิน ” ประเภทสุดท้ายของการบังคับคดี ให้คุณผู้อ่านได้เข้าใจถึงกระบวนการและขั้นตอนต่างๆในการดำเนินการ การจำหน่ายทรัพย์สิน เป็นขั้นตอนหนึ่งของการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอันเป็นวิธีการปฏิบัติหรือดำเนินการบังคับคดี เพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเป็นกระบวนพิจารณา ซึ่งดำเนินการภายหลังศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดแล้ว การดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการบังคับคดีส่วนมากมิได้กระทำโดยศาล หากกระทำโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดี อันมีวิธีการเกี่ยวกับการปฏิบัติ ซึ่งบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 วิธีการบังคับคดีเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่ง คดีอาญา...
หนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย-1

ส่วนประกอบสำคัญ หนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย แบบใช้งานใด้จริง

สวัสดีค่ะวันนี้เรากลับมาพบกันอีกครั้งหลังจากครั้งที่เเล้วเราได้พูดไปถึงเรื่อง สัญญาจะซื้อจะขาย คืออะไรทำมาเพื่ออะไร ไปแล้วแต่ถ้าท่านไหนไม่ได้อ่านก็สามารถกลับไปอ่านได้ที่ลิงค์นี้เลยค่ะ แชร์ประสบการณ์ฟ้องร้องคดี ค่าสัญญาซื้อจะขายคอนโด ไม่ใช้ทนาย ทำได้จริงไม่ยากอย่างที่คิด โดยเดี๋ยวในวันนี้เรามาดูกันต่อว่า ส่วนประกอบของสัญญาจะซื้อจะขาย มีอะไรบ้าง พร้อมทั้งมาดูตัวอย่าง หนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย ไปด้วยเลยค่ะเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปชมกันเลย ส่วนประกอบของสัญญาจะซื้อจะขาย ส่วนประกอบของสัญญาจะซื้อจะขายนั้นจะนิยมมีการแบ่งออกเป็นส่วนๆ แยกกันไปโดยในแต่ละส่วนแต่ละองค์ประกอบจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ รายละเอียดการจัดทำสัญญา โดยในส่วนนี้จะเป็นส่วนหัวของสัญญา โดยจะทำการบันทึกข้อมูลวันเวลาที่มีการทำสัญญาและสถานที่สำหรับการจัดทำสัญญาฉบับนี้ โดยถ้าไม่มีการกำหนดเวลาเริ่มต้นในตัวสัญญา ก็จะให้ถือว่าสัญญานี้เริมนับผลตั้งแต่วันที่ใบสัญญาฉบับนี้ปรากฎนั้นเองค่ะ รายละเอียดของคู่สัญญา โดยในส่วนของคู่สัญญาของใบสัญญาจะซื้อจะขาย นั้นจะแบ่งเป็นการซื้อขายโดยตรงนั้นโดยประกอบไปด้วย 2 ฝ่าย ได้แก่ 1.ฝ่ายผู้จะซื้อ 2.ฝ่ายผู้จะขาย ในส่วนนี้จะระบุข้อมูลที่แสดงตัวตนของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย...
สัญญาจะซื้อจะขาย-1

แชร์ประสบการณ์ฟ้องร้องคดี สัญญาจะซื้อจะขาย คอนโด โดยไม่ใช้ทนาย ทำได้จริงไม่ยากอย่างที่คิด

สวัสดีค่ะ วันนี้เรากลับมาพบกันอีกครั้งนะคะ โดยวันนี้เรามีบทความและเรื่องราวดีๆมาฝากกันอีกเช่นเคย เรามีเรื่องจริงของคุณ paddypure สมาชิกจากเว็บไซต์ pantip.com ที่ได้นำเรื่องราวจาก ประสบการณ์จริงในกรณีทำการฟ้องคดี สัญญาจะซื้อจะขาย คอนโด ด้วยตนเองโดยไม่ต้องใช้ทนาย โดยที่เจ้าตัวลุกขึ้นสู้เอง โดยที่ไม่ยากอย่าที่หลายๆคนคิดและที่สำคัญ ขั้นตอนสะดวก ใช้เวลาไม่นาน และที่สำคัญไม่เสียค่าธรรมเนียม อะไรเลยอีกด้วย จากที่บอกเล่ามาหลายๆท่านก็คงจะสนใจแล้วใช่ไหมละค่ะ นั้นเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปชมกันเลย รีวิว การฟ้องคดีผู้บริโภคด้วยตัวเอง ด้วยความรู้บ้านๆ ไม่ต้องใช้ทนาย ขั้นตอนสะดวก...
กลโกงที่ดิน-4

แชร์ประสบการณ์ตรง กลโกงที่ดิน พร้อมวิธีรับมือเพื่อไม่ให้เกิดขึ้น

สวัสดีค่ะวันนี้เรากลับมาพบกันอีกครั้งนะค่ะ ต้องบอกนะค่ะว่าไม่ว่าใครก็ไม่อยากเสียเปรียบด้วยกันทั้งนั้นจริงไหมค่ะ ยิ่งหากเราโดยโกงด้วยแล้วล่ะก็ ยิ่งน่าโมโหเข้าไปใหญ่ จะว่าไปแล้วหากเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆยังไม่อยากโดนโกงแล้วนับประสาอะไรกับอสังหาฯที่เป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูง เพราะฉะนั้น วันนี้เราจะมาเรียนรู้กลโกงในแบบต่างๆกันดีกว่าค่ะ พร้อมทั้ง การแชร์ประสบการณ์ตรง กลโกงที่ดิน จากคุณ Rave สมาชิกจากเว็บไซต์ pantip.com กันดีกว่าพร้อมทั้งวิธีรับมือเพื่อไม่ให้เกิดขึ้น เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปชมกันเลยค่ะ กลโกงที่ดิน ในรูปแบบต่างๆ หลอกลวงเอาโฉนดที่ดินแบ่งขายที่ดินเป็นแปลง ๆ ด้วยวิธีผ่อนชำร และนัดจดทะเบียนก็ต่อเมื่อชำระเงินเสร็จสิ้นแล้ว แต่พอถึงเวลาโอนกันจริงๆ ปรากฏว่าที่ดินเป็นชื่อของคนอื่นไปแล้ว หรือแต่เอาเข้าจริง...
น.ส.3

มาทำความรู้จักกับ หนังสือแสดงการทำประโยชน์ หรือ น.ส.3

หนังสือแสดงการทำประโยชน์ หรือ น.ส.3 จะเป็นหนังสือแสดงการทำประโยชน์ที่ออกโดยกรมประชาสงเคราะห์นะครับ โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 เป็นการจัดที่ดินในรูปนิคมสหกรณ์ ให้กับเกษตรกรที่เป็นสมาชิกไม่เกินครอบครัวละ 50 ไร่ นะครับ ส่วนลักษณะของหนังสือฉบับนี้จะมีหลักฐานทะเบียนที่ดิน ขอบเขตและที่ตั้งที่ดินถูกต้องตามแผนที่ การจัดที่ดินในรูปสหกรณ์นี้ โดยทางกฎหมายจะมุ่งเน้นที่จะให้สมาชิกผู้ที่ได้รับการจัดสรรที่ดินนั้นเป็นผู้ที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินด้วย โดยจะกำหนดเอาไว้ว่าเมื่อสมาชิกนิคมสหกรณ์ได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินของนิคมสหกรณ์แล้ว จะต้องใช้เวลาอย่างน้อยที่สุดคือ 5 ปี จึงจะมีสิทธินำหลักฐานไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อที่จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือ น.ส.3นั้นเอง หรืออาจจะเป็นโฉนดที่ดิน และภายใน...
ที่ดิน ส.ป.ก

“รู้ก่อน อ๋อก่อน” การจัด ที่ดิน ส.ป.ก ให้เกษตรกร โดยจัดในที่ดินเอกชน

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการปฏิรูป ที่ดิน ส.ป.ก เพื่อเกษตรกรรมฉบับใหม่ สาระสำคัญของการปรับแก้กฎหมายจะมีความแตกต่างจากเดิมคือ จะเป็นครั้งแรกที่ทางส.ป.ก.มีอำนาจในการจัดซื้อที่ดินนอกเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งในอดีตส.ป.ก.จะมีอำนาจจัดการเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินเท่านั้น นอกพื้นที่จะไม่สามารถช่วยเหลือประชาชนได้ โดยต่อไปประชาชนที่อยู่นอกเขตปฏิรูปที่ดินจะสามารถขายที่ดินให้ส.ป.ก.มาจัดสรรให้เกษตรกรที่ขาดที่ดินทำกินได้ ขณะเดียวกันเรื่องข้อจำกัดในการใช้เงินกองทุนปฏิรูปที่ดินซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยในอดีตไม่สามารถใช้เงินกองทุนมาจ่ายชดเชยค่าที่ดินให้เกษตรกรที่ไม่ต้องการทำการเกษตรในพื้นที่ส.ป.ก.ที่ตนเองถือครองได้ แต่กฎหมายใหม่ให้สามารถดำเนินการได้เกษตรกรจึงคืนที่ดินให้ส.ป.ก.แล้วจะมีเงินชดเชยให้ด้วย การจัด ที่ดิน ส.ป.ก ให้เกษตรกร การจัดที่ดินในที่ดินของเอกชนนั้น ส.ป.ก. จะจัดซื้อมา มีขนาดเนื้อที่ที่สามารถแบ่งแยกเป็นแปลงใหม่ได้ตามขนาดที่เพียงพอแก่การเลี้ยงชีพ...
เอกสารสิทธิที่ดิน

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ เอกสารสิทธิที่ดิน ก่อนตัดสินใจทำการซื้อขาย

การทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่มี เอกสารสิทธิที่ดิน นั้นมีอยู่ด้วยกัน กรณีที่คล้ายคลึงกันแต่ก็มีส่วนที่แตกต่างกันอยู่บ้าง คือ การทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน เช่น การนำที่ดินไปซื้อขาย ยกให้ แลกเปลี่ยน จำนอง ฯลฯ จะต้องนำไปจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ที่ที่ดินตั้งอยู่ การทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่มีหนังสือการรับรองการทำประโยชน์ จะต้องไปจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่ การทำนิติกรรมนั้นจึงจะมีผลตามกฎหมายเว้นแต่ได้ยกเลิกอำนาจนายอำเภอเกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จะต้องไปจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่ เอกสารสิทธิที่ดิน ออกโดยหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่กรมที่ดิน โดยเอกสานทั้งหมดที่ออกโดยหน่วยงานที่ไม่ใช่กรมที่ดินเหล่านี้เป็นเอกสารสิทธิประเภทที่มีข้อจำกัดในเรื่องการถือครองผูกติดอยู่ด้วย เช่น ข้อจำกัดในการโอน ข้อจำกัดในการทำประโยชน์ ซึ่งเอกสารสิทธิเหล่านี้มักนิยมใช้กันในวงแคบไม่แนะนำให้มาใช้ในการลงทุน ซื้อขาย เปลี่ยนมือ...
ภาษีอสังหา

ภาษีอสังหา ฯ จะซื้อหรือขาย ต้องรู้ !!!

สวัสดีค่ะวันนี้เรากลับมาพบกันอีกครั้งโดยวันนี้เราจะมาช่วยอธิบายเรื่องที่หลายๆ ท่านอาจจะยังไม่ทราบเกี่ยวกับ ภาษีอสังหา ฯ เพราะว่าการขายอสังหาริมทรัพย์ ตามกฎหมายได้กำหนดให้ภาระภาษีเป็นของผู้ขาย โดยผู้ซื้อหรือผู้ขายอาจจะเป็นผู้ที่ชำระก็ได้แล้วแต่ที่เราจะทำการตกลงกันเอง โดยเราจะต้องเตรียมตัวสำหรับเสียค่าเสียภาษีอะไรบ้าง และมีกี่ประเภที่เราต้องเสีย เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเดี๋ยวเราไปชมกันเลยค่ะ ภาษีอสังหา ฯ การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดิน การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดิน นั้นโดยปกติเราจะเสียค่าใช้จ่ายทางด้านภาษีดังกล่าวจะถูกหักเมื่อได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดินโดยถ้าหากมีทรัพย์สินประเภทดังกล่าว และต้องการขายจะมีภาษีที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 ประเภท คือ 1.ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจากการขายอสังหาริมทรัพย์ สามารถที่จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือทรัพย์ที่เป็นมรดก กับทรัพย์ที่ไม่ใช่มรดก โดยทรัพย์ที่เป็นมรดก...