Home Search
ผู้ซื้อ - search results
If you're not happy with the results, please do another search
8 องค์กรวิชาชีพ ชี้ 7 ข้อเสนอนายกฯ เพื่อช่วยแก้ปัญหาการออกใบอนุญาตก่อสร้างล่าช้า
นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ได้กล่าวเปิดเผยว่า อุตสาหกรรมการก่อสร้างได้ประสบปัญหาการอนุมัติใบอนุญาตก่อสร้างล่าช้ามาเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากปัญหาขั้นตอนมีความซับซ้อน เอกสารจำนวนมากต้องผ่านหลายหน่วยงาน ซึ่งผลพวงมาจากการความล่าช้าในการขอใบอนุญาตก่อสร้าง ทำให้นักลงทุนในประเทศและต่างประเทศส่วนใหญ่ มองเห็นถึงปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ที่ทำให้เป็นภาระของผู้ซื้อและประชาชนโดยตรง
ดังนั้น 8 องค์กรที่เกี่ยวข้ออุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งได้แก่ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ใบพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ วสท. , สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ , สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย...
ปล่อยขายหรือปล่อยเช่า…ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ
การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์สามารถทำได้สองทาง คือการขายและการปล่อยเช่า หลังจากที่ได้ซื้อและผ่านขั้นตอนปรับปรุง หรืออยู่ในระหว่างปรับปรุงก็ถึงเวลาที่เราจะปล่อยสินทรัพย์ที่เรามีในมือออกสู่ผู้สนใจ แน่นอนว่าเป้าหมายของทุกการลงทุนคือการได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า การที่จะตัดสินใจว่าจะปล่อยเช่าหรือขายก็ต้องพิจารณาความเหมาะสมและสถานการณ์ รวมทั้งความต้องการของผู้ลงทุน ดังนั้นการเข้าใจรูปแบบของทั้งการปล่อยเช่าหรือปล่อยขายจะทำให้การตัดสินใจเป็นไปได้ง่ายขึ้น
สำหรับผู้ที่ต้องการได้ผลตอบแทนแบบรวดเร็ว ควรเลือกวิธีปล่อยขาย วิธีนี้จะได้ทุนและกำไรคืนในเวลาที่รวดเร็ว การซื้อมาขายไปจะทำให้มีเงินก้อนสำหรับการต่อยอดลงทุนรอบใหม่ได้เร็วขึ้นเพื่อที่จะได้ผลตอบแทนสำหรับรอบใหม่เร็วขึ้นอีก
ในขณะที่การลงทุนเพื่อการปล่อยเช่าจะเหมาะสำหรับคนที่ต้องการสะสมเพื่อเก็บกินในระยะยาว ระยะเวลาในการคืนทุนค่อนข้างนาน โดยมากมักไม่ต่ำกว่า 10 ปี มีข้อดีคือสามารถเก็บค่าเช่าได้ตลอด ด้วยตลาดของการเช่าเป็นตลาดที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เพราะมีผู้คนจำนวนมากที่ยังไม่พร้อมจะซื้อบ้านหรือคอนโด
นอกจากนี้สำหรับผู้ที่เลือกการปล่อยเช่า เมื่อปล่อยเช่าได้ในระยะนึงแล้วสามารถทำการปล่อยขายได้ทั้งในแบบการปล่อยขายห้องเปล่าหรือปล่อยขายพร้อมผู้เช่ากรณีที่ผู้ซื้อรายใหม่ต้องการลงทุนในการปล่อยเช่าเช่นเดียวกัน วิธีนี้จะทำให้ผู้ลงทุนได้ผลกำไรส่วนต่างจากราคาหลักทรัพย์(Capital Gain) ด้วยความที่ราคาของอสังหาริมทรัพย์มีแต่จะขึ้นทุกวัน นับว่าวิธีนี้เป็นการรวมทั้งการปล่อยเช่าและปล่อยขายเอาไว้ ทั้งยังให้กำไรดีอีกด้วย
เทคนิคการประชาสัมพันธ์…เพื่อปล่อยขายบ้านหรือคอนโด
การลงทุนในสิ่งใด ผู้ลงทุนย่อมต้องหวังจะได้ผลตอบแทนที่ดี ดังนั้นเราย่อมต้องมั่นใจว่าสิ่งที่เราลงทุนนั้นมีศักยภาพและสามารถเพิ่มราคาค่าตอบแทนได้ การจะขายบ้านหรือคอนให้ได้ราคาดี จึงจำเป็นต้องทำให้บ้านและคอนโดอยู่ในสภาพพร้อมอยู่อาศัยด้วยการตกแต่งปรับปรุงให้สภาพดี นอกจากนี้สิ่งสำคัญคือการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ เพราะหากสินค้าของเราดี
แต่คนไม่ทราบว่าจะเข้าถึงได้อย่างไรเราก็ไม่สามารถขายได้
การประชาสัมพันธ์สามารถเริ่มได้เลยแม้ว่าการปรับปรุงบ้านยังไม่แล้วเสร็จก็ตาม และควรทำควบคู่กันในหลายวิธีดังต่อไปนี้
1. ป้ายโฆษณาขนาดเล็ก : ตัวป้ายบอกรายละเอียดของบ้าน หรือคอนโด แจ้ง ประเภท ขนาด ตำแหน่ง และราคาเช่น บ้านเดี่ยว 3 ชั้น 42 ตรว. ลาดพร้าว71 4.5...
คอนโดมิเนียม 4 โครงการของ บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ถูกโวย สร้างไร้คุณภาพ
ล่าสุดกับโครงการคอนโดมิเนียมทั้ง 4 โครงการ ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ซึ่งประกอบไปด้วย โครงการลิปป์ ลาดพร้าว 20 , โครงการลิปป์ รามคำแหง 43/1 , โครงการลีโว 1 ลาดพร้าว 18 และโครงการลีโว 2 ลาดพร้าว...
กฎหมายและระเบียบควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้อบ้านและคอนโดขายทอดตลาด
ผู้ที่เลือกลงทุนกับ NPA จากกรมบังคับคดี ล้วนต้องการได้บ้านหรือคนโดคุณภาพดีในราคาต้นทุนที่ถูก
อย่างไรก็ตามราคาของทรัพย์สินขายทอดตลาดย่อมแลกมาด้วยขั้นตอนที่มากกว่า NPA ที่รอการขาย
ของสถาบันการเงิน นอกจากนี้การที่ต้องติดต่อ และประมูลทรัพย์สินจากกรมบังคับคดี ยังทำให้ผู้ลงทุนต้องเรียนรู้ถึงระเบียบ
และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
วันนี้ทาง dotproperty จึงนำระเบียบและข้อกฎหมายควรรู้สำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนกับทรัพย์สินขายทอดตลาดจาก
กรมบังคับคดีมานำเสนอ เพื่อการวางแผนที่ถูกต้องสำหรับผู้ลงทุนและผู้สนใจซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยในราคาถูก มาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง
1. ผู้สนใจเข้าร่วมประมูลจะถูกเรียกว่า “ผู้เข้าสู้ราคา” จะต้องลงชื่อพร้อมที่อยู่ในสมุดรายงานการขายทอดตลาด
เมื่อต้องการซื้อที่ดิน หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากกรมบังคับคดี
2. หากเข้าสู้ราคาในนามบุคคลอื่น ต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อนการประมูล มิเช่นนั้น
ทางเจ้าพนักงานจะถือว่า บุคคลนั้นเข้าร่วมประมูลด้วยตนเอง ซึ่งกรรมสิทธิ์เมื่อโอนย่อมตกเป็นของบุคคลที่เข้าสู้ราคานั้น เปลี่ยนชื่อ
ผู้สู้ราคาภายหลังไม่ได้
3. เข้าสู้ราคาด้วยปากเปล่า...
ปัญหาติดจำนองทรัพย์สินขายทอดตลาด…รู้ไว้ ลดความเสี่ยง
หลายคนที่คิดจะลงทุน หรือซื้อบ้านและคอนโดมือสองในกับกรมบังคับคดีนั้นมักมีเหตุผลคล้ายๆกัน คือเพราะเป็นบ้านและคอนโดที่มีราคาถูกกว่าราคาท้องตลาด
แม้จะต้องผ่านขั้นตอนการประมูลก่อนก็ตาม เพราะถ้าเทียบภาพรวม ของสภาพอสังหาริมทรัพย์แล้ว บ้านหรือคอนโดที่เป็นทรัพย์สินขายทอดตลาดหรือ บ้านหรือคอนโดNPA
ของสถาบันการเงินจะมีสภาพที่ใกล้เคียงกัน แต่อย่างไรก็ตามทรัพย์สินขายทอดตลาดมักจะมีปัญหาหนึ่งซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่นั่นคือปัญหา “ติดจำนอง”
โดยทั่วไปในรายละเอียดการขายทรัพย์สินจะมีระบุไว้ว่าจะทำการขายโดย
หรือขายโดยติดจำนอง คือ ราคานอกจากราคาประมูลแล้ว ราคายังต้องบวกหนี้จำนองส่วนที่เหลือเพิ่มเข้าไปด้วย ทำให้ราคานั้นสูงกว่า
สำหรับความหมายของการขายโดยติดจำนองไปคือ
1. ในการขายทอดตลาดโดยวิธีการติดจำนองไปมีผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย ประกอบด้วย เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา(โจทก์) ลูกหนี้ตามคำพิพากษา
(จำเลย) และผู้รับจำนอง
2. ในคดีฟ้องร้องโจทก์(เจ้าหนี้) ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จากจำเลย ซึ่งทรัพย์ที่ยึดได้ติดจำนองกับบุคคลภายนอก ไม่ว่าจะเป็น
บุคคลธรรมดา...
ทำอะไร ตอนไหน…เจาะลึกขั้นตอนซื้อบ้าน-คอนโดมือสองNPAจากสถาบันการเงิน
เป็นที่ทราบกันดีกว่า NPA ในรูป ทรัพย์สินรอการขายของสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นจะมีขั้นตอนการซื้อที่ง่ายกว่า
NPA ที่เป็นทรัพย์สินขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี จึงไม่แปลกใจที่หลายคนจะเลือกลงทุนกับทรัพย์สินรอการขาย แต่หลายครั้งผู้ลงทุน
และผู้ที่ต้องการจะซื้อบ้านหรือคอนโดมือสองNPA เกิดความสงสัยว่าหากเราตัดสินใจแล้วว่าต้องการซื้อNPA ของสถาบันการเงินต้องทำอะไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
วันนี้ dotproperty เลยไม่รอช้านำขั้นตอนในการซื้อบ้านและคอนโด NPA มาเสนอ ขั้นตอนแบ่งออกได้ ดังนี้
1. รับแบบฟอร์มเสนอซื้อ
ผู้ซื้อสามารถทำการขอรับแบบฟอร์มคำเสนอซื้อได้ที่สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ หรือทางเว็บไซต์ในบางสถาบัน แต่บางที่อาจทำการเสนอ
ซื้อผ่านเว็บได้เลย
2.กรอกแบบฟอร์ม เตรียมหลักฐาน
ผู้เสนอซื้อทำการระบุรายละเอียดราคา และเงื่อนไขการเสนอซื้อ ลงนาม พร้อมแนบเอกสารดังนี้
- กรณีบุคคลธรรมดา...
จะซื้อบ้านและคอนโดNPAได้อย่างไร
หลังจากผ่านขั้นตอนการเลือกเฟ้น เสาะหา และสำรวจ บ้านหรือคอนโด NPA ที่ตรงใจได้แล้ว ก็ถึงเวลาการตัดสินใจซื้อของผู้ลงทุน
การเปิดขายทรัพย์สินรอการขายของสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
1. การยื่นเสนอราคา
สถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์มักจะลงประกาศขาย NPA ในเว็บไซต์ หรือในโบรชัวร์ โดยจะกำหนดราคาขายเอาไว้
เมื่อมีผู้สนใจติดต่อขอซื้อในราคาดังกล่าว ส่วนใหญ่ทางสถาบันการเงินจะตกลงขายให้แก่ผู้สนใจทันที
แต่ก็มีบางครั้งที่ทรัพย์สินรอการขายนั้นไม่ได้มีผู้สนใจมากมายนัก แล้วมีผู้สนใจติดต่อขอซื้อในราคาที่ต่ำกว่าที่ทางสถาบันการเงินหรือ
บริษัทบริหารสินทรัพย์เสนอขายไว้ กรณีนี้ทางสถาบันการเงินจะนำราคาที่มีผู้เสนอซื้อ นำเสนอต่อคณะกรรมการสำหรับพิจารณาว่าจะขายหรือไม่
เวลาที่ใช้อยู่ที่ 7-15 วัน แล้วค่อยรายงานผลการตัดสินใจ
ในบางครั้งบ้าน คอนโด...
การผลักดัน พรบ นายหน้า เพื่อควบคุมการทำงานโบรกเกอร์
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทางสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทย ได้มีการเปิดเผยการร่วมประชุมกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟองเงิน เนื่องจากทางภาครัฐมีนโยบายให้นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ได้ทำการรายงานข้อมูลของลูกค้า เพื่อที่จะป้องกันการเกิดกรณีการฟอกเงินผ่านการซื้ออสังหาริมทรัพย์ เพื่อที่จะให้ทางภาครัฐทราบและรับรู้ถึงความเหมาะสมของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่สอดคล้องต่อรายได้และอาชีพของผู้ซื้อโดยตรง
ส่วนวิธีการที่เชื่อได้ว่า จะสามารถแก้ไขปัญหาการทำงานของหน้าอสังหาริมทรัพย์ได้นั้น ก็คงต้องอาศัย การควบคุมโดยใช้กฎหมายนายหน้า ซึ่งในประเทศไทยยังไม่มี พ.ร.บ. ดังกล่าว ทำให้ระยะเวลาที่ผ่านมามีบุคคลต่าง ๆ เข้ามาทำอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์เพิ่มมากขึ้นได้อย่างอิสรเสรี เพราะเนื่องจากไม่มีกฎหมายหรือข้อบังคับในการควบคุมอย่างเด็ดขาด ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อผู้บริโภคอย่างมากมาย อีกทั้งยังคงส่งผลกระทบต่อผู้ที่ตั้งใจทำอาชีพนี้โดยตรงอีกด้วย เพราะฉะนั้น การผลักดันให้มีการออกกฎหมาย เพื่อที่จะควบคุมธุรกิจนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ จึงเป็นวิธีการที่สามารถควบคุมและจำกัดกลุ่มบุคคลที่แอบแฝงตัวเข้ามาทำอาชีพนี้ได้เป็นอย่างดี
เพราะ...
อสังหาริมทรัพย์รอการขาย VS อสังหาริมทรัพย์ขายทอดตลาด : เหมือนหรือต่างอย่างไร
บ้านและคอนโดมือสองเอ็นพีเอ(NPA) ของสถาบันการเงิน นับเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์มือสอง เพราะทางสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ต่างๆ ล้วนมีบ้านและคอนโดมือสองให้เลือกมากมาย ทั้งแบบ ขนาด และ ทำเลที่ตั้ง ซึ่งแตกต่างกันไป ในราคาที่ถูกกว่าบ้านและคอนโดมือหนึ่ง และบ้านและคอนโดมือสองในท้องตลาด
อย่างไรก็ตามผู้ลงทุนหลายคนที่กำลังหาข้อมูลสำหรับการตัดสินใจลงทุน เกิดความสับสนระหว่างเอ็นพีเอ(NPA) หรือทรัพย์สินรอการขาย ของสถาบันการเงิน และ สินค้าขายทอดตลาด โดยบางครั้งข้อมูลของสถาบันการเงินจะแสดงทั้งบ้านและคอนโดที่เป็นเอ็นพีเอ และบ้านและคอนโด ที่ขายทอดตลาด วันนี้ทาง dotproperty จึงนำคำตอบเพื่อไขข้อข้องใจสำหรับนักลงทุนและผู้สนใจ ความแตกต่างระหว่างบ้านและคอนโดมือสองเอ็นพีเอ(NPA) และสินค้าขายทอดตลาดแตกต่างกันที่วิธีที่ทำการขาย โดยบ้านและคอนโดมือสองเอ็นพีเอ(NPA) ของสถาบันการเงินนั้นถือเป็นสิทธิ์ของสถาบันการเงิน นั่นหมายความว่า ทางสถาบันการเงิน สามารถขายเอ็นพีเอ (NPA)ให้กับผู้ซื้อได้ทันที...