Search

กรมบังคับคดี - search results

If you're not happy with the results, please do another search
การรื้อถอน-1

กรมบังคับคดี กับ “การยึดทรัพย์สิน” ตอน การขับไล่ และ การรื้อถอน

สวัสดีคะ วันนี้เราก็จะมาพูดถึง การขับไล่และ การรื้อถอน กันว่า มีขั้นตอนในการดำเนินการยังไง ต้องเตรียมเอกสารและเตรียมตัวยังไงในการดำเนินการอย่างถึงที่สุดกับลูกหนี้เจ้าปัญหาของคุณ เพื่อให้คุณได้เตรียมพร้อมรับมือกัน หากเกิดกรณีนี้ขึ้นกับตัวของคุณเอง การขับไล่และการรื้อถอน จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อในกรณีที่คำพิพากษาถูกพิพากษา หรือคำสั่งของศาลให้ขับไล่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย หรือทรัพย์ที่ครอบครอง ถ้าลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ เจ้าหนี้ก็สามารถยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการ ให้เจ้าหนี้เข้าครอบครองทรัพย์ รวมทั้งการบังคับคดีในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ไม้ยืนต้น ฯลฯ หรือขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ (ตาม ป.วิ.พ มาตรา 350) วิธีการดำเนินการขับไล่ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องนำเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อไปทำการปิดประกาศ ถ้าไปถึงทรัพย์พิพาทแล้วปรากฏว่าไม่มีผู้ใดอาศัยอยู่ในทรัพย์พิพาท...
กรมบังคับคดี

กรมบังคับคดี กับ “การยึดทรัพย์สิน” ตอน การถอนการบังคับคดี

นอกจาก กรมบังคับคดี จะสามารถทำ “การงดการบังคับคดี” ได้แล้ว ลูกหนี้และเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายังอาจตกลงถอนการบังคับคดีได้ และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็อาจถอดถอนการบังคับคดีได้ ด้วยเหตุตามกฎหมายและตามคำสั่งศาลซึ่งจะเกิดค่าธรรมเนียม ในกรณีที่เจ้าหนี้ประสงค์จะถอนการบังคับคดีต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าหนี้จะต้องวางค่าธรรมเนียมถอนการบังคับคดี(ถอนการยึดทรัพย์) ตามตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กล่าวคือ คดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อน 28 กรกฎาคม 2548 ในอัตราร้อยละ 3.5 บาท ของราคาประเมินทรัพย์ ณ วันที่ยึด...
กรมบังคับคดี

กรมบังคับคดี กับ “การยึดทรัพย์สิน” ตอน การงดการบังคับคดี

เรามาต่อกันเลยจากตอนที่แล้ว ที่เราได้พูดถึง ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดียึดทรัพย์ ในครั้งนี้มาต่อกันด้วยเรื่องการงดการบังคับคดี และ การถอนการบังคับคดี ของ กรมบังคับคดี ว่าปัจจัยและขั้นตอนการดำเนินการทั้งงดและถอดถอนการบังคับคดีมีอะไรกันบ้าง เพื่อเป็นโยชน์ไม่มากก็น้อยต่อคุณผู้อ่านเอง กรมบังคับคดี กับ การงดการบังคับคดี การงดการบังคับคดีจะดำเนินการได้แต่เฉพาะกรณีที่การบังคับคดียังไม่ได้กระทำหรือที่จะกระทำต่อไป จะงดการบังคับคดีที่ปฏิบัติกันมาแล้วไม่ได้ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีโดยขายทอดตลาดทรัพย์สินเสร็จสิ้นไปแล้ว ศาลจึงไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้งดการบังคับคดีได้ ในการบังคับคดีอาจจะถูกระงับลงได้ หากเกิดกรณีต้องงดบังคับคดีไว้ก่อน โดยอาจเกิดขึ้นได้จากผลของกฎหมาย เช่น ลูกหนี้ยื่นคำขอพิจารณาคดีใหม่ จนศาลสั่งให้งด หรือเจ้าหนี้ไม่วางค่าใช้จ่าย และการงดการบังคับคดีอาจเกิดขึ้นได้ โดยการตกลงยินยอมระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ด้วย ถ้าเจ้าหนี้แจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดี...
การยึดทรัพย์สิน-1

กรมบังคับคดี กับ “ การยึดทรัพย์สิน ” ตอน ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี

การยึดทรัพย์สิน คือการเอาทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้ในความดูแลและรักษาของเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการตามกฎหมายให้บรรลุผลตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลในการบังคับคดียึดทรัพย์ของลูกหนี้ เจ้าหนี้เองต้องเป็นผู้นำยึด ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 298 บัญญัติว่าเจ้าพนักงานบังคับคดี จะยึด อายัด หรือขายเฉพาะบรรดาทรัพย์สินที่เจ้าหนี้อ้างว่าเป็นเจ้าของ การยึดทรัพย์สิน เป็นหน้าที่ของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องสืบให้ทราบว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินอะไรบ้าง อยู่ที่ใด ผู้ใดครอบครองทรัพย์สินนั้น ซึ่งหากทรัพย์สินนั้นเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมนำยึดได้ อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานบังคับคดี บังคับคดีในวันทำการปกติระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก ยังไม่แล้วเสร็จ มีความจำเป็นและสมควร กระทำต่อไปหลังพระอาทิตย์ตกได้ (ไม่ต้องขอศาล) (ม.281) นอกวันทำการปกติหลังพระอาทิตย์ตก ต้องมีความจำเป็นและสมควร โดยขออนุญาตศาล...
กรมบังคับคดี

ทำความรู้จักกับ “ กรมบังคับคดี ” จะ ลงทุนอสังหา ฯ ต้องรู้ไว้ !?

สำหรับใครที่กำลังมีปัญหาในด้านสิทธิในส่วนที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือกำลังคิดจะลงทุนในด้านนี้ ก็ควรจะรู้ว่า กรมบังคับคดี มีความสำคัญต่อเรายังไง บทบาทหน้าที่ต่อ ธุรกิจ ธุรกรรม ต่ออสังหาริมทรัพย์อย่างไรบ้าง เพื่อไม่ให้เสียผลประโยชน์ ต่อการถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้อื่น หรือมิจฉาชีพ “ กรมบังคับคดี ” เริ่มต้นจาการพัฒนาหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยกระทรวงยุติธรรมได้ทำการยกฐานะของ “กองบังคับคดีแพ่ง” และ “กองบังคับคดีล้มละลาย” โดยจัดตั้งขึ้นเป็น “กรมบังคับคดี” ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม พันธกิจ ก่อนอื่นเรามารู้ถึงเป่าหมายและความมุ่งมั่นของ...
ประมูลบ้านกรมบังคับคดี,ซื้อบ้านกรมบังคับคดี,บ้านกรมบังคับคดี,บ้านราคาถูก,NPA และการประมูล

ใครอยากมี บ้านราคาถูก มาทางนี้ เจาะลึกขั้นตอน ประมูลบ้านกรมบังคับคดี

จากตอนที่แล้วเราได้แนะนำ บ้านกรมบังคับคดี ไปแล้วสำหรับท่านไหนยังไม่ทราบหรือไม่ได้อ่านสามารถไปได้ที่้ลิงคฺ์นี้ค่ะ https://goo.gl/8YqvNZ  โดยวันนี้เรามาต่อกันเลยค่ะกับ การเตรียมให้พร้อมกับการเจาะลึกขั้นตอน ประมูลบ้านกรมบังคับคดี เพราะว่าการที่เราเตรียมการอย่างรอบด้านจะทำให้ปัญหาและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นมีเปอร์เซ็นลดลงหลักการนี้ใช้ได้กับการประมูลบ้านและคอนโดมือสองจากกรมบังคับคดีเช่นกัน เพราะเป็นการประมูลจากหน่วยงานราชการจึงไม่ได้มีความสะดวกเท่าการประมูลบ้านและคอนโดมือสอง NPA จากสถาบันการเงินดังนั้นผู้ที่สนใจจะทำการลงทุนกับบ้านขายทอดตลาดจึงต้องทราบกระบวนการเผื่อการวางแผนและการตัดสินใจโดยขั้นตอนแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆดังต่อไปนี้ ขั้นตอนการเตรียมหลักฐาน ประมูลบ้านกรมบังคับคดี โดยผู้เข้าร่วมประมูลต้องเตรียมหลักฐานในการเข้าร่วมประมูลอสังหาริมทรัพย์ขายทอดตลาดดังนี้ บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการหรือเจ้าหน้าของรัฐหรือบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจพร้อมสำเนารับรองถูกต้อง 1 ฉบับ หากเป็นบริษัทหรือนิติบุคคล ต้องส่งหนังสือรับรองซึ่งถูกนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน เตรียมหนังสือมอบอำนาจพร้อมอากรแสตมป์ 30...
บ้านกรมบังคับคดี,บ้านราคาถูก,ซื้อบ้านกรมบังคับคดี,ทรัพย์สินรอการขาย กรมบังคับคดี,ประมูลบ้านกรมบังคับคดี

บ้านกรมบังคับคดี อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนอยากมีบ้าน แต่ว่ามันดีจริงหรือ? มาดูกัน

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนค่ะ ว่า บ้านกรมบังคับคดี นั้นเป็น NPA คือทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้นั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ทรัพย์สินรอการขายซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร และทรัพย์สินขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี ซึ่งทรัพย์สินขายทอดตลาดนั้นก็เรียกความสนใจสำหรับคนที่กำลังมองหาบ้านราคาประหยัดได้เป็นอย่างดี โดยการจะซื้อบ้านหรือคอนโดจากกรมบังคับคดีนั้น จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่า NPA ของสถาบันการเงิน หากแต่ทรัพย์สินนั้นมีราคาที่ถูกกว่าราคาตลาดเมื่อเข้าร่วมประมูล ผู้เข้าร่วมประมูลจะถูกเรียกว่า “ผู้เข้าสู้ราคา” ส่วนมากราคาเริ่มประมูลบ้านและคอนโดมือสองจากกรมบังคับคดีนั้นจะมีราคาต่ำกว่าราคาตลาดถึง 30-50%  ทำให้ได้บ้านในราคาที่ถูกกว่าขายในท้องตลาดจริงอยู่มาก และราคาบางหลังยังถูกกว่าซื้อทรัพย์สินจากธนาคารด้วยซ้ำค่ะ จากที่กล่าวมาข้างต้น ราคาบ้านถูกขนาดนี้จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากคงไม่แปลก...
pre-approval02

Pre-Approve…ขั้นตอนสำคัญเพื่อการขอสินเชื่อเพื่อซื้อทรัพย์กรมบังคับคดี

จากบทความก่อนหน้าเราได้ให้ข้อมูลเทคนิคต่างๆเพื่อการเลือกซื้อ NPA จากกรมบังคับคดีไว้มากมาย เมื่อผ่านขั้นตอนการประมูลตลอดจนการเซ็นสัญญาแล้วผู้ลงทุนส่วนมากจะต้องเตรียมเงินสำหรับชำระค่าบ้านหรือคอนโดขายทอดตลาดจากกรมบังคับคดีตามสัญญาที่ระบุไว้การขอกู้สินเชื่อจากสถาบันการเงินนับเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากกว่าการใช้เงินสด ผู้ลงทุนจึงจำเป็นต้องศึกษาและเตรียมการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับการขอสินเชื่อเพราะการตัดสินใจซื้อบ้านและคอนโด NPA ในรูปของทรัพย์สินขายทอดตลาดของกรมบังคับคดีนั้นจะยากกว่าการของสินเชื่อสำหรับบ้านและคอนโด NPA ของสถาบันการเงินที่มักจะมีโปรโมชั่นสนับสนุนการขาย อีกทั้งการซื้อบ้านและคอนโดมือสองจากกรมบังคับคดีนั้นจะถูกบังคับในเงื่อนไขของเวลาการชำระเงิน ก่อนเริ่มทำการประมูลผู้ลงทุนจึงต้องมั่นใจในกำลังจ่ายของตนเองด้วยการทำ Pre-Approve ก่อนที่จะกู้จริง Pre-Approve คือการขอให้สถาบันการเงินทำการตรวจเช็คเครดิตบูโร พร้อมตรวจความสามารถในการกู้ของผู้กู้ว่าจะสามารถกู้เบื้องต้นได้เท่าไหร่ก่อนที่จะทำการกู้จริง การพิจารณาวงเงิน จะดูว่าผู้กู้นั้นมีหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือหนี้สินเชื่อบุคคล หรือการผ่อนชำระสินค้าใดเป็นรายเดือนหรือไม่ หากผู้กู้มีประวัติการเงินที่ดีเมื่อถึงเวลาอนุมัติสินเชื่อก็จะได้จำนวนเงินใกล้เคียงกับตัวเลข Pre-Approve Pre-Approve มีความสำคัญสำหรับผู้ต้องการของสินเชื่อเพื่อซื้อทรัพย์สินจากกรมบังคับคดี เพราะกรมบังคับคดีจะมีกฎระเบียบที่ชัดเจนในการชำระเงินมีกำหนดเวลาในการชำระเงินส่วนที่เหลือภายใน 15...
ทราบกันเสี่ยง02

ทราบกันเสี่ยง…ข้อควรระวังในการประมูลบ้านและคอนโดจากกรมบังคับคดี

เป็นที่ทราบกันดีว่าการซื้อบ้านหรือคอนโดขายทอดตลาดจากกรมบังคับคดีนั้นมีความเสี่ยงมากกว่าเมื่อเทียบกับบ้านและคอนโดNPA ของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตามหากเราทราบข้อควรระวัง ก็จะสามารถลดความเสี่ยงที่ต้องเผชิญในการลงทุนกับการประมูลอสังหาริมทรัพย์ จากกรมบังคับคดีได้ เหล่านักลงทุนและว่าที่เจ้าของบ้านมือใหม่จะต้องระวังในเรื่องต่อไปนี้ 1. ในวันประมูลหากเจ้าของทรัพย์สินเดิมหรือจำเลยไม่มาเข้าร่วมการประมูลในวันประมูลไม่ว่าจากเหตุผลใดก็ตาม โดยปราศจากการชี้แจงเหตุผลหรือการแจ้งยินยอมให้เกิดการประมูล การประมูลจะเกิดขึ้นไม่ได้ แม้จะมีการนัดและผู้ประมูลมากัน พร้อมก็ไม่สามารถเริ่มประมูลได้ 2. เจ้าของทรัพย์สินเดิมในฐานะลูกหนี้ หรือจำเลยสามรถฟ้องคัดค้านราคาได้ 1 ครั้งตามกระบวนการทางกฎหมายซึ่ งอาจส่งผลให้การประมูลเป็นโมฆะ 3. ผู้ลงทุนจะต้องคำนวณต้นทุนราคาที่เหมาะสมไว้ในใจให้ดี เพราะหลายครั้งผู้รับจำนอง หรือทางสถาบันการเงิน ที่เป็นโจทก์ของทรัพย์สินดังกล่าวจะทำการสู้ราคาจนกว่าจะได้ราคาที่สูงอย่างที่ประเมินไว้ ซึ่งหลายครั้งการสู้ราคานี้ทำให้บ้านและ คอนโดนั้นมีราคาที่ค่อนข้างสูง ผู้ลงทุนจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วย 4. ปัญหาเรื่องการฟ้องขับไล่ เป็นปัญหาที่จะต้องคำนึงและระวังมากที่สุด และนับเป็นเรื่องที่สร้างปัญหา ให้แก่ผู้ลงทุนในNPAที่ขายทอดตลาดมากเป็นอันดับต้นๆ แม้กรมบังคับคดีจะให้อำนาจศาลส่งการให้ผู้อาศัยเดิม เป็นผู้บุกรุกสามารถออกจากบ้านได้ทันที แต่ในความเป็นจริงเรื่องนี้ไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าจะเป็นยังไง ใช้เวลาเท่าไหร่ผู้อาศัยเดิมจึงจะออกจากบ้าน และปัญหานี้ยังส่งผลให้การขอสินเชื่อจากธนาคารมีปัญหาเพราะทางสถาบันการเงิน จะเข้าประเมินทรัพย์สินไม่ได้หากผู้อยู่อาศัยไม่อนุญาต ส่งผลให้การปล่อยกู้อาจไม่สำเร็จ มีผลให้อาจไม่สามารถชำระเงินส่วนที่เหลือ ให้แก่กรมบังคับคดีในระยะเวลาที่กำหนดทำให้เสี่ยงที่จะไม่ได้บ้านและคอนโดนั้นและยังต้องเสียค่าประกัน...
เจาะลึกขั้นตอนประมูลบ้านและคอนโดจากกรมบังคับคดี02

เตรียมให้พร้อม เจาะลึกขั้นตอนประมูลบ้านและคอนโดจากกรมบังคับคดี

การเตรียมการอย่างรอบด้าน จะทำให้ปัญหาและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นมีเปอร์เซ็นลดลง หลักการนี้ใช้ได้กับการประมูลบ้าน และคอนโดมือสองจากกรมบังคับคดีเช่นกัน เพราะเป็นการประมูลจากหน่วยงานราชการจึงไม่ได้มีความสะดวกเท่าการประมูลบ้าน และคอนโดมือสอง NPA จากสถาบันการเงิน ดังนั้นผู้ที่สนใจจะทำการลงทุนกับบ้านขายทอดตลาดจึงต้องทราบกระบวนการเผื่อการวางแผนและการตัดสินใจ โดยขั้นตอนแบ่งออกเป็น ขั้นตอนการเตรียมหลักฐาน   โดยผู้เข้าร่วมประมูลต้องเตรียมหลักฐานในการเข้าร่วมประมูลอสังหาริมทรัพย์ขายทอดตลาดดังนี้ 1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการหรือเจ้าหน้าของรัฐหรือบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจพร้อมสำเนา รับรองถูกต้อง 1 ฉบับ หากเป็นบริษัทหรือนิติบุคคล ต้องส่งหนังสือรับรองซึ่งถูกนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน 2. เตรียมหนังสือมอบอำนาจพร้อมอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมหลักฐานในข้อ 1 ในกรณีฝากผู้อื่นเข้าร่วมประมูล 3. เงินสด หรือ แคชเชียร์เช็คสั่งจ่ายหน่วยงานที่เข้าร่วมประมูล เช่น...