Search

กรมบังคับคดี - search results

If you're not happy with the results, please do another search
คดีล้มละลาย

รู้หรือไม่ถ้ามี คดีล้มละลาย เจ้าหนี้มีสิทธิอะไรในการยึดทรัพย์เราบ้าง

  สวัสดีค่ะวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ สิทธิและหน้าที่ของทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่มีต่อ คดีล้มละลาย เพื่อเตรียมตัวและรู้ให้เป็นลำดับๆไป เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปชมกันเลยค่ะ คดีล้มละลาย เจ้าหนี้มีสิทธิอะไรในการยึดทรัพย์เราบ้าง คดีล้มละลาย เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มีสิทธิและหน้าที่ดังนี้ 1. วางเงินประกันค่าใช้จ่ายเบื้องต้น 1.1 ชั้นพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว 8,000 บาท 1.2 ชั้นพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด 10,000 บาท 1.3 หากวางเงินประกันชั้นพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวแล้วต่อมาเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ต้องวางเงินประกันเพิ่มอีก 5,000 บาท เว้นแต่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้ล้มละลายมีเงินเพียงพอ 1.4 วางเงินประกันค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เห็นว่าจำเป็นตามควร 2. ให้ถ้อยคำเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้ล้มละลายที่ถูกยึดหรืออายัดไว้ในคดีอื่นและคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้ล้มละลายที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาล (ถ้าหากมี) 3. นำเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไปยึดทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้ล้มละลาย(ถ้าหากมี)โดยเร็ว 4....
สำนักงานวางทรัพย์

การวางทรัพย์ กับ สำนักงานวางทรัพย์ ขั้นตอนที่จะทำให้ไม่ผิดนัด และ ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย

สวัสดีค่ะ วันนี้เราจะพูดถึงอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญของ กรมบังคับคดี ที่ลูกหนี้ในคำพิพากษาควรรู้ไว้ เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของตัวท่านเอง นั้นก็คือ การวางทรัพย์  ซึ่งมันก็คือ วิธี การชำระหนี้ ทึ่กฎหมายกำหนดขึ้น เมื่อมีการชำระหนี้ที่มีอุปสรรคอันเกิดจากตัวเจ้าหนี้ โดยผู้วางทรัพย์ได้นำเงินหรือทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งหนี้ไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์ ซึ่งผลของการางทรัพย์ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ ไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา ไม่เสียดอกเบี้ย ค่าเสียหาย ค่าสินไหมทดแทน หรือเบี้ยปรับ และเจ้าหนี้จะร้องต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ไม่ได้ การไถ่ถอนการขายฝากโดยการวางทรัพย์ ทำให้ได้กรรมสิทธิ์กลับคืนสู่ผู้ว่าง เหตุที่จะขอวางทรัพย์...
ฟื้นฟูกิจการ

ฟื้นฟูกิจการ กับ สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้ที่ควรรู้

เรามาต่อกันจากบทความที่แล้วกันเลยกับ “กรมบังคับคดี กับ การฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ ล้มได้ก็ต้องลุกให้เป็น!!” ซึ่งในครั้งนี้เราจะมาต่อกันด้วยเรื่อง สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้ ใน การฟื้นฟูกิจการ ว่าตัวผู้เป็นเจ้าหนี้มีหน้าที่ในการปฏิบัติอย่างไร สิทธิที่ตัว เจ้าหนี้ เองที่จะต้องได้ มีอะไรบ้างในกรณีใด ก่อนนำไปใช้ในชั้นศาล กรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ โดยมิได้คำสั่งตั้งผู้ทำแผน เจ้าหนี้ที่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทำแผน ต้องเป็นเจ้าหนี้ที่มูลหนี้เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้ต้องยื่นแบบแสดงความประสงค์เข้าประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทำแผนตามแบบพิทพ์ ฟ.19 หรือ ฟ.19/1 ของกรมบังคับคดี พร้อมส่งหลักฐานแห่งความเป็นเจ้าหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อนวันประชุม...
ปลดจากล้มละลาย กับ การหยุดนับระยะเวลา ของการบังคับคดีล้มละลาย

การบังคับ คดีล้มละลาย กับ การหยุดนับระยะเวลาปลดจากล้มละลาย

ใน คดีล้มละลาย ที่ลูกหนี้เป็นบุคคลธรรมดาและศาลมี คำพิพากษา ให้ล้มละลาย เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ศาลได้พิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย กฎหมาย ได้กำหนดให้ บุคคลล้มละลาย นั้นได้รับการปลดจากล้มละลาย และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่โฆษณาการปลดจากล้มละลายโดยผลของกฎหมายดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาและหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่า 1 ฉบับ ผลของการปลดจาก ล้มละลาย ดังกล่าว ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้สินทั้งปวงอันพึงขอรับชำระได้   เหตุที่ทำให้มีการขอหยุดนับระยะเวลาปลดจากล้มละลาย ถึงแม้ว่ากฎหมายจะให้ปลดลูกหนี้จากบุคคลล้มละลายทันทีที่พ้นกำหนดระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ศาลล้มละลายได้พิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ตาม แต่ตามมาตรา 81/2 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช...
คดีล้มละลาย

เตรียมตัวให้พร้อม!!! กับสิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้และลูกหนี้ใน คดีล้มละลาย

หลังจากที่เราพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ ความเป็นมา และขั้นตอนการดำเนินกานต่างๆของการบังคับคดีล้มละลาย กันแล้ว ในครั้งนี้เราก็จะพาคุณไปทำความเข้าใจกับ สิทธิและหน้าที่ของทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่มีต่อ คดีล้มละลาย เพื่อเตรียมตัวในลำดับต่อไป คดีล้มละลาย เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มีสิทธิและหน้าที่ดังนี้ วางเงินประกันค่าใช้จ่ายเบื้องต้น 1.1 ชั้นพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว 8,000 บาท 1.2 ชั้นพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด 10,000 บาท 1.3 หากวางเงินประกันชั้นพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวแล้วต่อมาเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ต้องวางเงินประกันเพิ่มอีก 5,000 บาท เว้นแต่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้ล้มละลายมีเงินเพียงพอ 1.4 วางเงินประกันค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เห็นว่าจำเป็นตามควร ให้ถ้อยคำเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้ล้มละลายที่ถูกยึดหรืออายัดไว้ในคดีอื่นและคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้ล้มละลายที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาล...
การบังคับคดีล้มละลาย-1

การบังคับคดีล้มละลาย ตอน ความเป็นมา และ การสั่งฟ้อง

การบังคับคดีล้มละลาย เป็นภารกิจหลักประการหนึ่งของกรมบังคับคดี โดยเป็นการดำเนินการกระบวนกพิจารณาคดีล้มละลายในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย ชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เป็นกระบวนการที่จะดำเนินการรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ แล้วนำมาจัดสรรแบ่งส่วนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย ซึ่งตามพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 บัญญัติไว้ดังนี้ “กระบวนการพิจารณาคดีล้มละลายหมายความว่า กระบวนพิจารณาซึ่งบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่าจะกระทำต่อศาลหรือต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตั้งแต่เริ่มคดีจนถึงคดีสิ้นสุด” การบังคับคดีล้มละลาย แตกต่างจากการบังคับคดีแพ่ง กล่าวคือ การบังคับคดีแพ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อบังคับคดีกับลูกหนี้ตามคำพิพากษา เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียว การบังคับคดีล้มละลาย มีวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ เพื่อให้เจ้าหนี้ทุกรายได้รับส่วนเฉลี่ยอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทย์ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา...
ผ่อนบ้าน-1

แนวทางจากประสบการณ์ตรง ผ่อนบ้าน 25-30 ปี ดำเนินชีวิตอย่างไรให้รอดในยุคนี้

สวัสดีค่ะ วันนี้เรามาพบกันอีกครั้ง โดยสำหรับใครหลายๆ คนที่กำลังจะกู้เงินเพื่อซื้อบ้านหรือตอนนี้กู้ซื้อบ้านไปแล้วเกิดกังวลใจขึ้นมาเพราะหากมีการตัดสินใจซื้อบ้านแบบกู้เงินผ่อนธนาคารระยะยาว แต่อยู่ๆ ไปเกิดปัญหาที่คาดไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็น ได้งานใหม่เกิดต้องย้าย หรือ การเงินชอต เกิดปัญหาบางอย่างในครอบครัว ผ่อนบ้าน ต่อไม่ไหว หรือ ป่วยเป็นโรคต่างๆ จะแก้ปัญหาและวิธีการรับมือมันอย่างไรดี โดยในวันนี้เราจะมาบอกแนวทางรับมือให้ทราบกันค่ะ ในกรณีที่ ผ่อนบ้าน ไม่ไหวจะเกิดอะไรขึ้น กรณีที่ผ่านบ้านไม่ไหวนั้น  เมื่อผิดชำระนัด อัตราดอกเบี้ยส่วนใหญ่จะทำการปรับจะทะยานขึ้นเป็น สิบ ยี่สิบเปอร์เซ้นต์และอาจจะบวกค่าปรับต่างๆนาๆ อีกด้วยตามสัญญากู้แต่ละสถาบันการเงินค่ะ...
การบังคับคดีแพ่ง-1

การบังคับคดีแพ่ง ประเภท และเหตุผลที่ทำไมถึงต้องมี ?

หากจะพูดถึงอีกหนึ่งหน้าที่ของ “กรมบังคับคดี” ที่มีบทบาทต่อเรามากแล้วละก็ ก็คงต้องพูดถึง การบังคับคดีแพ่ง ที่แน่นอนว่าคุณผู้อ่านบางท่าน อาจจะกำลังประสบปัญหาอยู่ ณ ขณะนี้ โดยในครั้งนี้ เราจะพาคุณผู้อ่านทุกท่านไปทำความรู้จักกับการบังคับคดีแพ่ง ว่ามีกี่ประเภท มีความสำคัญอย่างไร และทำไมถึงต้องมี ในส่วนของคนที่ยังไม่มีปัญหาในด้านนี้ ก็ถือเป็นการทำความรู้จักไปด้วยกันเลยค่ะ อะไรคือ การบังคับคดีแพ่ง เหตุที่ต้องขอให้มีการบังคับคดี ? คดีแพ่ง ก็คือ คดีคู่ความฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีต่อศาลเพื่อเรียกให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าเสียหายเป็นตัวเงินหรือให้กระทำ หรือไม่กระทำอย่างใดอย่าง โดยคดีดังกล่าว อาจมาจากการ คดีกู้ยืมเงิน...
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท-1

การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ในชั้นบังคับคดี รู้ถึงขั้นตอนและการเตรียมตัว

ครั้งนี้เราจะมาพูดถึง การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ในชั้นบังคับคดี ว่าคืออะไร มีความสำคัญ ขั้นตอนในการไกล่เกลี่ย และการเตรียมตัว เตรียมเอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ยยังไงบ้าง เพื่อให้คุณผู้อ่านได้เข้าใจ และรู้ถึงปัญหาที่พบบ่อย รวมถึงเตรียมตัวอย่างถูกต้องในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นบังคับคดี การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ชั้นบังคับคดี คือ วิธีการระงับหรือยุติข้อพิพาท โดยมีบุคคลที่สาม เรียกว่า “ผู้ไกล่เกลี่ย” ซึ่งคือคนกลาง ที่คู่กรณีตกลงให้ช่วยเหลือในการเสนอแนะหาทางออกให้คู่กรณีสามารถตกลงกันได้ทุกฝ่าย โดยอาจเป็นบุคคลภายนอก หรือเจ้าพนักงาน หากตกลงกันได้ จะเป็นผลให้มีการถอนการยึดทรัพย์ ถอนการอายัดทรัพย์ หรือถอนการบังคับคดี...
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท-1

การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ด่านแรกในการเจรจา

จากที่เราเคยได้ทำความรู้จักกันไปแล้วกับที่มาและอำนาจหน้าที่หน่วยงานในกรมบังคับคดี วันนี้เราก็จะมาขอพูดกันต่อกับ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ด่านแรกก่อนจะไปว่ากันที่ชั้นบังคับคดี มีความเป็นมา มีประโยชนย์อย่างไร ประวัติความเป็นมาของ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท นับตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2540  เป็นต้นมา มีปริมาณคดีที่เข้ามาสู่การบังคับคดีเป็นจำนวนมาก มีผลทำให้มีคดีค้างดำเนินการที่อยู่ระหว่างการบังคับคดีสูงถึงกว่าสี่แสนคดี ซึ่งการบังคับคดีตามบทบัญญัติของกฎหมาย ก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติทั้งต่อคู่ความ บุคคลที่เกี่ยวข้อง ตลอดถึงเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งปัญหาต่างๆอาจแยกได้เป็น ปัญหาเรื่องการสืบทรัพย์และจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อประสงค์จะทำการยึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่ตน มีหน้าที่ต้องทำการสืบหาทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมนำส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งสร้างความยากลำบากในการตรวจสอบและจัดหาเอกสารต่างๆ...

Subscribe to receive the latest property news