Search

กรมบังคับคดี - search results

If you're not happy with the results, please do another search

ไม่เห็นของจริง…อย่าซื้อ : เรื่องภายบ้านที่ไม่ควรมองข้าม

ไม่เห็นของจริงห้ามซื้อถือเป็นคติที่ผู้สนใจลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์มือสองต้องจำเป็นคติประจำใจ เนื่องจากเป็นของที่มีการใช้มาแล้วจึงเป็นไปได้ว่าผู้ลงทุนมีโอกาสที่จะได้ของที่ไม่ดีมา ไม่ว่าคุณจะซื้อบ้านหรือคอนโดมือสองจากตัวเข้าของเอง เป็นNPA ของสถาบันการเงิน หรือทรัพย์สินขายทอดตลาดจากกรมบังคับคดี สิ่งสำคัญคือจะต้องพิจารณาจากสภาพจริงก่อน สภาพของบ้าน-คอนโดเป็นหัวใจสำคัญ ไม่ว่าคุณจะซื้อบ้านหรือคอนโดเพื่อวัตถุประสงค์ใด เพราะหากมีสภาพที่ทรุดโทรมแม้ซื้อมาได้ในราคาถูก ก็อาจจะเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการปรับปรุงมากจนไม่คุ้มกับที่ลงทุนไป(นอกจากจะมีทำเลดีมาก) โครงสร้างภายในเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ กรณีเป็นบ้านหรือทาวเฮาส์ ต้องรับรู้รายละเอียดกำหรับสภาพจริงในกรณีที่ต้องมีการต่อเติม เพราะหากการต่อเติมไม่ถูกต้องตามหลักอาจจะสร้างปัญหาความเสียหายได้ในอนาคต บางครั้งโครงสร้างที่ไม่ดีของคอนโดก็ส่งผลให้ตัวอาคารแตกร้าว ดูไม่ปลอดภัยหากจะอยู่อาศัยในระยะยาว การตรวจสอบโครงสร้างเริ่มจากการสังเกตสภาพโดยรวมของบ้านหาว่ามีรอยร้าวบริเวณด้านนอกและด้านในหรือไม่ รอยร้าวที่มีมากแสดงถึงความเสี่ยงที่ตัวบ้านจะมีการฉีกจากโครงสร้าง สาธารณูปโภคภายในอย่าง น้ำและไฟฟ้าก็ต้องตรวจสอบว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้หรือไม่ จำเป็นต้องซ่อมแซมเปลี่ยนแปลงในส่วนใดหรือเปล่า บางครั้งอาจมีปัญหาน้ำรั่ว หรือหลังคาซึม ปัญหานี้ต้องเริ่มสังเกตในวันที่ทำการสำรวจตัวบ้านว่าในจุดต่างๆมีรอยน้ำหรือไม่ หากมีปัญหาแม้ว่าเจ้าของจะปิดวาล์วน้ำ ไว้แต่ก็มักยังคงทิ้งร่องรอยเอาไว้อยู่ กรณีหลังคารั่วซึมต้องสังเกตที่เพดานว่ามีคราบน้ำเป็นวงหรือไม่...
ประมูลอย่างไรให้ได้ราคาถูก03

ประมูลอย่างไรให้ได้ราคาถูก…เทคนิคสำหรับนักลงทุนมือใหม่

แม้ว่าของฟรีนั้นจะไม่มีในโลก แต่ถ้าจะหวังของถูกและคุ้มค่าก็ยังมีอยู่ในการประมูลบ้านและคอนโดมือสอง NPA จากกรมบังคับคดี เพราะทรัพย์สินขายทอดตลาดนั้นจะมีราคาเริ่มต้นถูกกว่าราคาประเมินทั่วไปมากพอสมควร แต่หากการประมูลยืดยาว ราคาที่คาดว่าจะถูกอาจจะดีดตัวสูงขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อ เมือตัดสินใจเข้าร่วมประมูลบ้านและคอนโดจากกรมบังคับคดีไม่ว่าคุณจะต้องการซื้อเพื่อการลงทุน หรือซื้อเพื่อการอยู่อาศัยเอง ก็จำเป็นที่จะต้องสวมบทบาทเป็น เป็นพ่อค้า เพราะหากใช้วิธีคิดแบบพ่อค้าจะคิดแบบใจเย็น เพราะพ่อค้าจะไม่ได้ปักใจอยู่กับบ้านหรือคอนโดหลังใดหลังหนึ่งจนต้องทุมเงินเพื่อให้ได้มา หากแต่การคิดแบบพ่อค้าจะทำให้เห็นว่ามีทางเลือกมากมาย หากไม่ได้บ้านหรือคอนโดนี้ก็ยังมีตัวเลือกอื่นๆที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันอยู่ บางครั้งอาจรอถึงการประมูลครั้งที่ 3 และ 4 ที่จำทำให้ราคาของทรัพย์สินนั้นลดต่ำลงไปจากครั้งแรกมากโข ส่วนมากพ่อค้าจะร่วมประมูลทรัพย์ตั้งแต่ครั้งแรกเพื่อดูสถานการณ์ และประเมินรายละเอียด ใครเป็นโจทก์ เป็นเจ้าหนี้ และดูจะสู้ราคามากน้อยเท่าใด จำเลยหรือเจ้าของทรัพย์เดิมมีท่าทีขอคัดค้านราคาหรือไม่ แต่ยังจะไม่ประมูลในตอนนั้น (ยกเว้นเป็นทรัพย์สินทำเลดี มีความต้องการสูง และมีโอกาสในการทำกำไร มีผู้เข้าร่วมประมูลเยอะ พ่อค้าก็อาจลุยประมูลตั้งแต่ยกแรก) การดูสถานการณ์จะทำให้สามารถอ่านเกมว่าสามารถลุยประมูลมาได้เลย หรือต้องรอก่อน ต้องรอถึงขนาดไหนจึงจะดี...
กฎหมายและระเบียบควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้อบ้านและคอนโดขายทอดตลาด01

กฎหมายและระเบียบควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้อบ้านและคอนโดขายทอดตลาด

ผู้ที่เลือกลงทุนกับ NPA จากกรมบังคับคดี ล้วนต้องการได้บ้านหรือคนโดคุณภาพดีในราคาต้นทุนที่ถูก อย่างไรก็ตามราคาของทรัพย์สินขายทอดตลาดย่อมแลกมาด้วยขั้นตอนที่มากกว่า NPA ที่รอการขาย ของสถาบันการเงิน นอกจากนี้การที่ต้องติดต่อ และประมูลทรัพย์สินจากกรมบังคับคดี ยังทำให้ผู้ลงทุนต้องเรียนรู้ถึงระเบียบ และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกด้วย วันนี้ทาง dotproperty จึงนำระเบียบและข้อกฎหมายควรรู้สำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนกับทรัพย์สินขายทอดตลาดจาก กรมบังคับคดีมานำเสนอ เพื่อการวางแผนที่ถูกต้องสำหรับผู้ลงทุนและผู้สนใจซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยในราคาถูก มาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง 1. ผู้สนใจเข้าร่วมประมูลจะถูกเรียกว่า “ผู้เข้าสู้ราคา” จะต้องลงชื่อพร้อมที่อยู่ในสมุดรายงานการขายทอดตลาด เมื่อต้องการซื้อที่ดิน หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากกรมบังคับคดี 2. หากเข้าสู้ราคาในนามบุคคลอื่น ต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อนการประมูล มิเช่นนั้น ทางเจ้าพนักงานจะถือว่า บุคคลนั้นเข้าร่วมประมูลด้วยตนเอง ซึ่งกรรมสิทธิ์เมื่อโอนย่อมตกเป็นของบุคคลที่เข้าสู้ราคานั้น เปลี่ยนชื่อ ผู้สู้ราคาภายหลังไม่ได้ 3. เข้าสู้ราคาด้วยปากเปล่า...
จะหาบ้าน-คอนโดมือสองที่ขายทอดตลาดได้อย่างไร01

จะหาบ้าน-คอนโดมือสองที่ขายทอดตลาดได้อย่างไร

เมื่อคุณตัดสินใจแล้วว่าบ้านหรือคอนโด NPA ของกรมบังคับคดีนั้นเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการลงทุน เพราะมีราคาต้นทุนที่ถูกกว่า หลายคนคงสังสัยว่าการค้นหาบ้านหรือคอนโดจากกรมบังคับคดีจะมีความแต่งต่างจากบ้านและคอนโดมือสองNPAของสถาบันการเงินอย่างไร โดยทั่วไปแล้วจะสามารถหารายการทรัพย์สินขายทอดตลาดที่ประกาศประมูลขายได้จากช่องทาง ดังนี้ 1. ติดต่อกรมบังคับคดีโดยตรง โดยสามารถติดต่อไปยังสำนักงานบังคับคดีได้ทั่วประประเทศ ทางสำนักงานบังคับคดีจะมีการประชาสัมพันธ์เพื่อประกาศขายทรัพย์สินทอดตลาด โดยแยกเป็น ประเภท บริเวณ ในราคาเริ่มต้นที่แตกต่างกันไป 2. ติดต่อกับสถาบันการเงินที่มีสาขาใกล้บ้าน ทางสถาบันการเงินนอกจะมีการประกาศขายบ้านและคอนโดมือสอง NPA ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองแล้ว ยังมีการประชาสัมพันธ์บ้านและคอนโดขายทอดตลาด ที่กรมบังคับคดีเป็นผู้เปิดประมูล ในฐานะโจทก์(เจ้าหนี้) หรือในฐานะผู้รับจำนอง สถาบันการเงินจะประชาสัมพันธ์รายละเอียดทรัพย์สิน วัน เวลา สถานที่ ประมูล และราคาเริ่มต้น เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทำการประมูลซื้อ ทางสถาบันการเงินก็จะได้รับการชำระหนี้ 3. การหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต สำหรับผู้ที่ต้องการหาข้อมูลแต่ไม่สะดวกที่จะเดินทาง...
ปัญหาติดจำนองทรัพย์สินขายทอดตลาด01

ปัญหาติดจำนองทรัพย์สินขายทอดตลาด…รู้ไว้ ลดความเสี่ยง

หลายคนที่คิดจะลงทุน หรือซื้อบ้านและคอนโดมือสองในกับกรมบังคับคดีนั้นมักมีเหตุผลคล้ายๆกัน คือเพราะเป็นบ้านและคอนโดที่มีราคาถูกกว่าราคาท้องตลาด แม้จะต้องผ่านขั้นตอนการประมูลก่อนก็ตาม เพราะถ้าเทียบภาพรวม ของสภาพอสังหาริมทรัพย์แล้ว บ้านหรือคอนโดที่เป็นทรัพย์สินขายทอดตลาดหรือ บ้านหรือคอนโดNPA ของสถาบันการเงินจะมีสภาพที่ใกล้เคียงกัน แต่อย่างไรก็ตามทรัพย์สินขายทอดตลาดมักจะมีปัญหาหนึ่งซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่นั่นคือปัญหา “ติดจำนอง” โดยทั่วไปในรายละเอียดการขายทรัพย์สินจะมีระบุไว้ว่าจะทำการขายโดย หรือขายโดยติดจำนอง คือ ราคานอกจากราคาประมูลแล้ว ราคายังต้องบวกหนี้จำนองส่วนที่เหลือเพิ่มเข้าไปด้วย ทำให้ราคานั้นสูงกว่า สำหรับความหมายของการขายโดยติดจำนองไปคือ 1. ในการขายทอดตลาดโดยวิธีการติดจำนองไปมีผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย ประกอบด้วย เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา(โจทก์) ลูกหนี้ตามคำพิพากษา (จำเลย) และผู้รับจำนอง 2. ในคดีฟ้องร้องโจทก์(เจ้าหนี้) ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จากจำเลย ซึ่งทรัพย์ที่ยึดได้ติดจำนองกับบุคคลภายนอก ไม่ว่าจะเป็น บุคคลธรรมดา...
ข้อดี-ข้อเสีย และข้อควรระวังในการลงทุนกับ NPA01

เปรียบเทียบให้เข้าใจ…ข้อดี-ข้อเสีย และข้อควรระวังในการลงทุนกับ NPA

ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าแม้NPA ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินรอการขายของสถาบันการเงิน หรือเป็นทรัพย์สินขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี จะมีราคาถูก แต่ก็เป็นของมือสอง ดังนั้นจะตัดสินใจซื้อเพียงจากราคาอย่างเดียวไม่ได้ ผู้ที่ต้องการจะลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์มือสอง NPA จึงต้องหาข้อมูลเปรียบเปรียบข้อดีข้อเสียก่อนทำการตัดสินใจ ข้อดีของบ้านและคอนโดNPA 1. มีโอกาสได้ของดี ราคาถูก 2. มีทางเลือกหลากหลาย 3. สะดวกขอสินเชื่อ ในกรณีที่ต้องการกู้กับสถาบันการเงิน เพราะสถาบันการเงินจะเสนอวงเงินในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าสินเชื่อทั่วไป เพราะสถาบันการเงินเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และย่อมต้องการลดภาระจากสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อย่าง NPA 4. มักมีโปรโมชั่น สถาบันการเงินมักจะมีโปรโมชั่นต่างๆ เช่น ฟรีค่าทำเนียมทุกรายการ ทำให้เราเบาภาระการเสียค่าทำเนียม เช่น ค่าโอนเป็นต้น 5. เอกสารมีความชัดเจน แน่นอน...
ขั้นตอนซื้อบ้าน-คอนโดมือสองNPA01

ทำอะไร ตอนไหน…เจาะลึกขั้นตอนซื้อบ้าน-คอนโดมือสองNPAจากสถาบันการเงิน

เป็นที่ทราบกันดีกว่า NPA ในรูป ทรัพย์สินรอการขายของสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นจะมีขั้นตอนการซื้อที่ง่ายกว่า NPA ที่เป็นทรัพย์สินขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี จึงไม่แปลกใจที่หลายคนจะเลือกลงทุนกับทรัพย์สินรอการขาย แต่หลายครั้งผู้ลงทุน และผู้ที่ต้องการจะซื้อบ้านหรือคอนโดมือสองNPA เกิดความสงสัยว่าหากเราตัดสินใจแล้วว่าต้องการซื้อNPA ของสถาบันการเงินต้องทำอะไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง วันนี้ dotproperty เลยไม่รอช้านำขั้นตอนในการซื้อบ้านและคอนโด NPA มาเสนอ ขั้นตอนแบ่งออกได้ ดังนี้ 1. รับแบบฟอร์มเสนอซื้อ ผู้ซื้อสามารถทำการขอรับแบบฟอร์มคำเสนอซื้อได้ที่สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ หรือทางเว็บไซต์ในบางสถาบัน แต่บางที่อาจทำการเสนอ ซื้อผ่านเว็บได้เลย 2.กรอกแบบฟอร์ม เตรียมหลักฐาน ผู้เสนอซื้อทำการระบุรายละเอียดราคา และเงื่อนไขการเสนอซื้อ ลงนาม พร้อมแนบเอกสารดังนี้ - กรณีบุคคลธรรมดา...
จะซื้อบ้านและคอนโดNPAได้อย่างไร

จะซื้อบ้านและคอนโดNPAได้อย่างไร

หลังจากผ่านขั้นตอนการเลือกเฟ้น เสาะหา และสำรวจ บ้านหรือคอนโด NPA ที่ตรงใจได้แล้ว ก็ถึงเวลาการตัดสินใจซื้อของผู้ลงทุน การเปิดขายทรัพย์สินรอการขายของสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ 1. การยื่นเสนอราคา สถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์มักจะลงประกาศขาย NPA ในเว็บไซต์ หรือในโบรชัวร์ โดยจะกำหนดราคาขายเอาไว้ เมื่อมีผู้สนใจติดต่อขอซื้อในราคาดังกล่าว ส่วนใหญ่ทางสถาบันการเงินจะตกลงขายให้แก่ผู้สนใจทันที แต่ก็มีบางครั้งที่ทรัพย์สินรอการขายนั้นไม่ได้มีผู้สนใจมากมายนัก แล้วมีผู้สนใจติดต่อขอซื้อในราคาที่ต่ำกว่าที่ทางสถาบันการเงินหรือ บริษัทบริหารสินทรัพย์เสนอขายไว้ กรณีนี้ทางสถาบันการเงินจะนำราคาที่มีผู้เสนอซื้อ นำเสนอต่อคณะกรรมการสำหรับพิจารณาว่าจะขายหรือไม่ เวลาที่ใช้อยู่ที่ 7-15 วัน แล้วค่อยรายงานผลการตัดสินใจ ในบางครั้งบ้าน คอนโด...
อสังหาริมทรัพย์รอการขาย2

อสังหาริมทรัพย์รอการขาย VS อสังหาริมทรัพย์ขายทอดตลาด : เหมือนหรือต่างอย่างไร

บ้านและคอนโดมือสองเอ็นพีเอ(NPA) ของสถาบันการเงิน นับเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์มือสอง เพราะทางสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ต่างๆ ล้วนมีบ้านและคอนโดมือสองให้เลือกมากมาย ทั้งแบบ ขนาด และ ทำเลที่ตั้ง ซึ่งแตกต่างกันไป ในราคาที่ถูกกว่าบ้านและคอนโดมือหนึ่ง และบ้านและคอนโดมือสองในท้องตลาด อย่างไรก็ตามผู้ลงทุนหลายคนที่กำลังหาข้อมูลสำหรับการตัดสินใจลงทุน เกิดความสับสนระหว่างเอ็นพีเอ(NPA) หรือทรัพย์สินรอการขาย ของสถาบันการเงิน และ สินค้าขายทอดตลาด โดยบางครั้งข้อมูลของสถาบันการเงินจะแสดงทั้งบ้านและคอนโดที่เป็นเอ็นพีเอ และบ้านและคอนโด ที่ขายทอดตลาด วันนี้ทาง dotproperty จึงนำคำตอบเพื่อไขข้อข้องใจสำหรับนักลงทุนและผู้สนใจ ความแตกต่างระหว่างบ้านและคอนโดมือสองเอ็นพีเอ(NPA) และสินค้าขายทอดตลาดแตกต่างกันที่วิธีที่ทำการขาย โดยบ้านและคอนโดมือสองเอ็นพีเอ(NPA) ของสถาบันการเงินนั้นถือเป็นสิทธิ์ของสถาบันการเงิน นั่นหมายความว่า ทางสถาบันการเงิน สามารถขายเอ็นพีเอ (NPA)ให้กับผู้ซื้อได้ทันที...