Home Search
ซื้อบ้าน - search results
If you're not happy with the results, please do another search
AP SPACE ODYSSEY ระหว่างวันที่ 22 – 26 ตุลาคม 2557
บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ได้เตรียมจัดงานใหญ่ส่งท้ายปี 2557 ด้วยงานมหกรรมAP SPACE ODYSSEY ในระหว่างวันที่ 22-26 ตุลาคม 2557 ณ ลานพาร์ค พารากอน สยามพารากอน 8 วิธีคิด กับ 8 โครงการใหม่ล่าสุด
พร้อมกับไฮไลต์พิเศษ “...
ทราบกันเสี่ยง…ข้อควรระวังในการประมูลบ้านและคอนโดจากกรมบังคับคดี
เป็นที่ทราบกันดีว่าการซื้อบ้านหรือคอนโดขายทอดตลาดจากกรมบังคับคดีนั้นมีความเสี่ยงมากกว่าเมื่อเทียบกับบ้านและคอนโดNPA ของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตามหากเราทราบข้อควรระวัง ก็จะสามารถลดความเสี่ยงที่ต้องเผชิญในการลงทุนกับการประมูลอสังหาริมทรัพย์ จากกรมบังคับคดีได้ เหล่านักลงทุนและว่าที่เจ้าของบ้านมือใหม่จะต้องระวังในเรื่องต่อไปนี้
1. ในวันประมูลหากเจ้าของทรัพย์สินเดิมหรือจำเลยไม่มาเข้าร่วมการประมูลในวันประมูลไม่ว่าจากเหตุผลใดก็ตาม
โดยปราศจากการชี้แจงเหตุผลหรือการแจ้งยินยอมให้เกิดการประมูล การประมูลจะเกิดขึ้นไม่ได้ แม้จะมีการนัดและผู้ประมูลมากัน
พร้อมก็ไม่สามารถเริ่มประมูลได้
2. เจ้าของทรัพย์สินเดิมในฐานะลูกหนี้ หรือจำเลยสามรถฟ้องคัดค้านราคาได้ 1 ครั้งตามกระบวนการทางกฎหมายซึ่
งอาจส่งผลให้การประมูลเป็นโมฆะ
3. ผู้ลงทุนจะต้องคำนวณต้นทุนราคาที่เหมาะสมไว้ในใจให้ดี เพราะหลายครั้งผู้รับจำนอง หรือทางสถาบันการเงิน
ที่เป็นโจทก์ของทรัพย์สินดังกล่าวจะทำการสู้ราคาจนกว่าจะได้ราคาที่สูงอย่างที่ประเมินไว้ ซึ่งหลายครั้งการสู้ราคานี้ทำให้บ้านและ
คอนโดนั้นมีราคาที่ค่อนข้างสูง ผู้ลงทุนจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วย
4. ปัญหาเรื่องการฟ้องขับไล่ เป็นปัญหาที่จะต้องคำนึงและระวังมากที่สุด และนับเป็นเรื่องที่สร้างปัญหา
ให้แก่ผู้ลงทุนในNPAที่ขายทอดตลาดมากเป็นอันดับต้นๆ แม้กรมบังคับคดีจะให้อำนาจศาลส่งการให้ผู้อาศัยเดิม
เป็นผู้บุกรุกสามารถออกจากบ้านได้ทันที แต่ในความเป็นจริงเรื่องนี้ไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าจะเป็นยังไง
ใช้เวลาเท่าไหร่ผู้อาศัยเดิมจึงจะออกจากบ้าน และปัญหานี้ยังส่งผลให้การขอสินเชื่อจากธนาคารมีปัญหาเพราะทางสถาบันการเงิน
จะเข้าประเมินทรัพย์สินไม่ได้หากผู้อยู่อาศัยไม่อนุญาต ส่งผลให้การปล่อยกู้อาจไม่สำเร็จ มีผลให้อาจไม่สามารถชำระเงินส่วนที่เหลือ
ให้แก่กรมบังคับคดีในระยะเวลาที่กำหนดทำให้เสี่ยงที่จะไม่ได้บ้านและคอนโดนั้นและยังต้องเสียค่าประกัน...
ปัญหาติดจำนองทรัพย์สินขายทอดตลาด…รู้ไว้ ลดความเสี่ยง
หลายคนที่คิดจะลงทุน หรือซื้อบ้านและคอนโดมือสองในกับกรมบังคับคดีนั้นมักมีเหตุผลคล้ายๆกัน คือเพราะเป็นบ้านและคอนโดที่มีราคาถูกกว่าราคาท้องตลาด
แม้จะต้องผ่านขั้นตอนการประมูลก่อนก็ตาม เพราะถ้าเทียบภาพรวม ของสภาพอสังหาริมทรัพย์แล้ว บ้านหรือคอนโดที่เป็นทรัพย์สินขายทอดตลาดหรือ บ้านหรือคอนโดNPA
ของสถาบันการเงินจะมีสภาพที่ใกล้เคียงกัน แต่อย่างไรก็ตามทรัพย์สินขายทอดตลาดมักจะมีปัญหาหนึ่งซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่นั่นคือปัญหา “ติดจำนอง”
โดยทั่วไปในรายละเอียดการขายทรัพย์สินจะมีระบุไว้ว่าจะทำการขายโดย
หรือขายโดยติดจำนอง คือ ราคานอกจากราคาประมูลแล้ว ราคายังต้องบวกหนี้จำนองส่วนที่เหลือเพิ่มเข้าไปด้วย ทำให้ราคานั้นสูงกว่า
สำหรับความหมายของการขายโดยติดจำนองไปคือ
1. ในการขายทอดตลาดโดยวิธีการติดจำนองไปมีผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย ประกอบด้วย เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา(โจทก์) ลูกหนี้ตามคำพิพากษา
(จำเลย) และผู้รับจำนอง
2. ในคดีฟ้องร้องโจทก์(เจ้าหนี้) ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จากจำเลย ซึ่งทรัพย์ที่ยึดได้ติดจำนองกับบุคคลภายนอก ไม่ว่าจะเป็น
บุคคลธรรมดา...
รู้จักบ้านและคอนโดเอ็นพีเอจากกรมบังคับคดี
NPA หรือทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้นั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ทรัพย์สินรอการขายซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารและ ทรัพย์สินขายทอดตลาด
ของกรมบังคับคดี ซึ่งทรัพย์สินขายทอดตลาดนั้นก็เรียกความสนใจของนักลงทุน และผู้ที่อยากซื้อที่อยู่อาศัยในราคาประหยัดได้เป็นอย่างดี
ในการเลือกทรัพย์สินขายทอดตลาดของกรมบังคับคดีนั้นก็มีหลักการคล้ายกับการเลือกอสังหาริมทรัพย์มือสองอย่างอื่น คือต้องคำนึงถึงทำเลที่ตั้ง
เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ตามมาด้วยสภาพตัวบ้าน สิ่งแวดล้อม เพื่อนบ้าน และราคาที่สมเหตุสมผล นอกจากการหาข้อมูลแล้ว การลงสำรวจพื้นที่ด้วยตัวเองก็สำคัญเช่นกัน
ระเมินภาพรวมทั้งหมดก่อนตัดสินใจว่าคุ้มค่าให้เข้าร่วมประมูลหรือไม่ (กรณีคอนโดมิเนียมอาจติดต่อนิติบุคคลขอดูภาพรวมในโครงการ)
การจะซื้อบ้านหรือคอนโดจากกรมบังคับคดีนั้น จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่า NPAของสถาบันการเงินหากแต่ทรัพย์สินนั้นมีราคาที่ถูกกว่าราคาตลาด
จึงสามารถดึงดูดให้คนสนใจได้ไม่แพ้บ้านและคอนโดมือสองNPA ของสถาบันการเงิน เพราะต้นทุนที่ต่ำย่อมหมายความถึงผลตอบแทนที่สูงขึ้น
เมื่อเข้าร่วมประมูล ผู้เข้าร่วมประมูลจะถูกเรียกว่า “ผู้เข้าสู้ราคา” ส่วนมากราคาเริ่มประมูลบ้านและคอนโดมือสองจากกรมบังคับคดีนั้นจะมีราคาต่ำกว่า
ราคาตลาดถึง...
อยากได้บ้านและคอนโดมือสองเอ็นพีเอ…หาอย่างไรให้โดนใจคุณ
ในบทความที่แล้ว dotproperty ได้บอกคุณถึงข้อมูลสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเกี่ยวกับการซื้อบ้านและคอนโดมือสองเอ็นพีเอหากคุณมั่นใจถึงความต้องการที่แท้จริงและยืนยันว่าจะซื้อบ้านหรือคอนโดยในรูปของทรัพย์สินรอการขายอาจจะมีข้อสงสัยว่าจะสามารถค้นหาบ้านและคอนโดมือสองเอ็นพีเออย่างไร จึงจะได้NPAที่ดีมีคุณภาพจึงเป็นที่มาของบทความ NPA...หาอย่างไรให้โดนใจคุณการหาNPA โดยหากคุณต้องการบ้านหรือคอนโดมือสองในรูปของทรัพย์สินรอการขาย จะสามารถค้นหาบ้านและคอนโดที่ต้องการด้วย 2 วิธี ดังนี้
1. ติดต่อโดยตรง
คุณสามารถหารายละเอียดเอ็นพีเอได้ที่สำนักงานใหญ่หรือสาขาย่อยของสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือ หรือติดต่อกับ
บริษัทบริหารสินทรัพย์ โดยปกติหากคุณเลือกติดต่อไปที่สาขาใหญ่มักจะดีกว่าสาขาย่อยเพราะมักจะมีหน่วยงานสำหรับอำนวยความสะดวก
เรื่องการซื้อNPAโดยเฉพาะ แม้ว่าจะต้องเสียเวลาเดินทาง แต่วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีข้อมูลอยู่ไม่มาก เพราะพนักงานที่รู้
จะคอยตอบข้อสงสัยให้คุณได้
2. หาข้อมูลจากเว็บไซต์
เพราะโลกปัจจุบันนั้นได้เชื่อมเข้าหากันโดยตลอดด้วยเว็บไซต์ คุณจึงสามารถหาข้อมูลบ้านและคอนโดเอ็นพีเอได้จากเว็บไซต์ ทั้งของสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ ในเว็บไซต์มักจะมีเมนูให้เลือกไปยังหมวดทรัพย์สินรอการขายหรือ NPA ซึ่งจะมีหมวดย่อยจัดแบ่งประเภททรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็น...
สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงก่อนตัดสินใจซื้อ NPA
อสังหาริมทรัพย์มือสองในรูปแบบทรัพย์สินรอการขาย( NPA) หรือ บ้านมือสองหลุดจำนอง กำลังเป็นที่สนใจของใครหลายคน เพราะสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อบ้านและคอนโดย่อมต้องการซื้อในราคาที่ถูกที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งเอ็นพีเอสามารถตอบโจทย์นั้นได้เป็นอย่างดี ทั้งยังหาได้ง่ายจากเว็บไซต์ของสถาบันการเงินที่มีความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตามก็มีผู้ลงทุนจำนวนมากที่ตัดสินใจผิดพลาดในการซื้อเอ็นพีเอ ส่วนมากมักเกิดจากการรีบตัดสินใจซื้อจากคำชักชวนของคนรู้จัก และ ซื้อNPAนั้นเพราะมีราคาถูกเหมือนได้เปล่า สังเกตได้ว่าผู้ที่ตัดสินใจผิดพลาดมักเกิดจากการซื้อNPA โดยไม่มีเหตุผลรองรับ สุดท้ายจึงไม่แคล้วที่จะต้องเสียดายเมื่อเงินที่ลงทุนไปนั้นสูญเปล่า หรือได้กลับคืนมาแบบไม่คุ้มค่า ดังนั้นหากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการจะลงทุนในทรัพย์สินรอการขายของสถาบันการเงิน สิ่งแรกที่คุณควรคำนึงถึงเป็นอันดับหนึ่งคือ
“คุณจะซื้อ NPA นั้น ไปทำอะไร”
คุณต้องถามตัวเองก่อนว่าต้องการซื้อ NPA นั้นเอาไว้อาศัยอยู่เองหรือเพื่อการลงทุน หากจะซื้อเพื่ออยู่เองก็ต้องคำนึงถึงที่ตั้ง ทำเล และความสะดวกในการเดินทาง และสภาพแวดล้อมของที่แห่งนั้นว่ามีสิ่งที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคุณ
ได้ดีขนาดไหน อยู่ใกล้ห้างสรรพสินค้า ตลาด หรือโรงพยาบาลหรือไม่ บ้านหรือคอนโดมีสภาพพร้อมเข้าอยู่เลยหรือเปล่า...
การตรวจสอบบ้านก่อนซื้อจำเป็นหรือไม่
ถ้าคุณเป็นคนที่ต้องการซื้อบ้านคุณก็อาจกำลังเผชิญกับเรื่องน่าปวดหัว เพราะเป็นเรื่องสำคัญซึ่งอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของชีวิต แต่หากคุณทราบถึงข้อมูลอย่างละเอียด
เรื่องของการซื้อก็จะง่ายขึ้นแม้ว่าจะเป็นการซื้อบ้านหลังแรกก็ตามที ในขณะเดียวกันหากคุณต้องต้องเพิ่มมูลค่าให้บ้านในครอบครองเพื่อการขายต่อ การซ่อมแซมและปรับปรุงตกแต่งบ้าน
หรือแม้แต่การเปลี่ยนแบบบ้านย่อมจะทำให้มูลค่าของบ้านนั้นเพิ่มขึ้น ซึ่งมูลค่าที่เพิ่มขึ้นนั้นอาจจะมากกว่าสิ่งที่คุณลงทุนไปในงานปรับปรุงมากเลยก็เป็นได้ จึงเป็นที่มาทำให้การตรวจสอบบ้าน
เป็นสิ่งสำคัญ
การตรวจสอบบ้านเป็นกระบวนการประเมินบ้านหลังนั้นๆว่ามีสภาพโดยรวมเป็นอย่างไรและมีปัญหาอะไรบ้างในบ้านหลังนั้น เป็นการตรวจสอบทั้งภายนอกไปจนถึงภายในอย่างระบบน้ำหรือไฟฟ้า
ไม่ใช่ดูเพียงว่าเป็นแบบบ้านสวยๆเท่านั้น
หากคุณเป็นผู้ที่ต้องการซื้อบ้าน แน่นอนว่าคุณจำเป็นต้องรู้จักและเข้าใจในสิ่งที่ต้องการจะซื้อ เพราะข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์ดุจมีคนมาช่วยคนมองหาบ้านที่เข้าท่า
คำแนะนำเหล่านั้นจะทำให้คุณรู้สึกเสมือนคุณมีเพื่อนผู้มีประสบการณ์อยู่ข้างตัวเลยทีเดียว
การจัดทำรายการคำถามหากคุณซื้อบ้านกับนายหน้า เพื่อข้อมูลละเอียดรอบด้าน นำไปสู่การประเมินเรื่องค่าใช้จ่ายเพื่อจ่าย ว่าส่วนไหนที่ประหยัดได้ ทั้งยังต้องศึกษาไปถึง
ค่าประกันการจำนองส่วนบุคคล(private mortgage insurance, PMI) ว่าจำเป็นต้องจ่ายหรือไม่ เงินจำนวนนี้จะรักษาผลประโยชน์แก่ธนาคาร และจะแสดงรายการการชำระเงินของผู้กู้
ซึ่งจะทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากค่าประกันดังกล่าว
ศึกษาเกี่ยวกับการรับประกันบ้าน และสอบถามรายละเอียดของการประกันนั้นไม่ว่าจะจากผู้สร้าง หรือเจ้าของเก่า เพื่อความแน่ใจของผู้ซื้อว่าจะไม่เสียผลประโยชน์หากเกิดสิ่งผิดพลาด
ในระยะเวลาที่กำหนด เจ้าของเดิมหรือผู้รับเหมาจะไม่มีปัญหาในการรับประกันหากไม่ได้มีสิ่งใดปิดบัง...
10 แบบบ้านชั้นเดียวยอดนิยม
10 แบบบ้านชั้นเดียวยอดนิยม แบบบ้านชั้นเดียวเป็นแบบบ้านที่ได้รับความนิยมซึ่งมีแต่จะเพิ่มขึ้น ด้วยหลากหลายเหตุผล เหตุผลสำคัญเป็นเพราะครอบครัวมักจะต้องการบ้านที่สามารถอยู่อาศัยได้ตลอดชีวิตตั้งแต่ช่วงที่มีสมาชิกในครอบครัวพร้อมหน้าหรือเมื่อวันที่ลูกๆแยกบ้านออกไป ซึ่งแบบบ้านชั้นเดียวสามารถตอบโจทย์นี้ได้เป็นอย่างดี เพราะไม่ว่าจะมีสมาชิกในช่วงวัยใดไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้สูงอายุเพราะไม่ต้องกังวลถึงอุบัติเหตุจากการขึ้นลงบันได นอกจากนี้ยังสมารถจัดสรรการใช้พื้นที่ได้อย่างหลากหลายอีกด้วย อย่างไรก็ตามรูปแบบบ้านก็เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ต้องการซื้อบ้านต้องคำนึงถึง ลองดูรูปแบบยอดนิยมของบ้านชั้นเดียวเหล่านี้เพื่อนำไปปรับใช้ให้ตรงกับความต้องการ เพื่อบ้านในฝันที่สมบูรณ์แบบ
1. แบบบ้านชั้นเดียวGodfrey: บ้านพักเดี่ยวที่มีซุ้มหลังคาซ้อนกันที่ด้านหน้าและด้านหลัง แบบบ้านนี้จะมีห้องนอนจำนวน 3 ห้องและ 2 ห้องน้ำ แบบบ้านGodfrey เป็นแบบที่ให้ความสะดวกสบายแก่ครอบครัวได้เป็นอย่างดี ภายในบ้านเพดานจะโค้งไปตามรูปแบบหลังคาสามารถติดตั้งเครื่องประดับตกแต่งเพื่อความสวยงาม โดยจะมีการสร้างช่องเก็บของแบบ build-in ด้วย
2....
แค่ครึ่งปีพฤกษาโกยกว่า 2 หมื่นล้าน
มีการเปิดเผยรายได้ของการขายทาวน์เฮาส์จาก พฤกษา ที่กวาดยอดขายไปร่วม 2 หมื่นล้าน โดยทาวน์เฮ้าเป็นตัวเอกฟันยอดขายไปกว่า 1.14 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นยอดที่สูงกว่าปีที่แล้วเกินกว่า 30% นอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่จะปรับปรุงกลยุทธ์ใหม่ โดยต้องการวางแผนการก่อสร้างบ้านทาวน์เฮ้าส์ให้เสร็จภายใน 96 วัน เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าที่จะทำเรื่องกู้สินเชื่อและโอนได้ไวขึ้น
ซึ่งทางพฤกษาได้วางแผนการดำเนินการของทาวน์เฮ้าส์ในครึ่งปีหลังนี้ไว้ว่าจะมีการเปิดโครงการรวมทั้งสิ้น 1 หมื่นล้านบาทหรือโครงการทั้งหมดกว่า 18 โครงกร ซึ่งทางพฤกษาเน้นการตอบสนองความต้องการของผู้ที่มีรายได้น้อยเพื่อให้ซื้อบ้านเป็นของตนเองได้ ซึ่งทาวน์เฮ้าส์เฉลี่ยแล้วราคาจะอยู่ที่ 2 ล้านบาท ซึ่งแม้ว่าจะดูราคาสูงขึ้นเพราะปัจจัยหลายๆอย่างตามสภาพเศรษฐกิจ...
หวั่นหนี้ค้างอ่วมกลุ่มสินเชื่อรถยนต์-สินเชื่อบ้าน
มีการเปิดเผยจากธนาคารแห่งประเทศไทยถึงเรื่องภาวะหนี้เสีย ซึ่งจากการตรจสอบที่ผ่านมาพบว่า มีสินเชื่อที่ค้างชำระตั้งแต่หนึ่งเดือนขึ้นไปนั้นในไตรมาสสองของปี 2557 นั้นมีสินเชื่อที่ค้างชำระ(SM) ตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไปนั้นมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยปัจจุบันยอดคงค้างตั้งแต่ 1 เดือน –3 เดือนสูงถึง 98,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9,600 ล้านบาท โดยหากเทียบสัดส่วน SM ต่อสินเชื่อรวม พบว่า อยู่ที่ 2.4% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ 2.3%...