Search

ดอกเบี้ย - search results

If you're not happy with the results, please do another search

กับดักสินเชื่อเพดานต่ำ

มาในตอนนี้ นโยบายกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์จากทางภาครัฐระลอกแรกอย่างสินเชื่อเพดานต่ำของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ก็ได้เริ่มเดินหน้าไปได้แล้วในระดับหนึ่ง พร้อมเสียงตอบรับจากประชาชนผู้สนใจเป็นจำนวนมาก จากข้อเสนอที่ดีเยี่ยมน่าสนใจ (ดอกเบี้ยต่ำ, ลดค่าจดจำนอง, ระยะผ่อนยาวนาน) สร้างความตื่นตัวคึกคักให้กับแวดวงอสังหาฯ ได้เป็นอย่างมาก แต่ในทางหนึ่ง นี่อาจจะไม่ใช่สถานการณ์ที่ดูสุขกายสบายใจสักเท่าใด ถ้ามองในแง่การเงิน ‘โดยภาพรวม’ เพราะมีสัญญาณที่ชวนให้เรานึกถึงสิ่งที่เคยเกิดขึ้นกับวิกฤติต้มยำกุ้งปี พ.ศ. 2540 ให้เห็นเป็นเค้าลางมาอย่างช้าๆ ที่เราน่าจะพิจารณาในแต่ละแง่มุมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เผื่อจะช่วยให้เราตระหนักได้ ว่าเราควรจะรับมืออย่างไร กับสิ่งที่ได้เกิดขึ้น และกำลังจะมาถึง //กู้ง่าย สัญญาณอันตรายที่พึงระวัง...

พัทยากับโลกอสังหาฯ ที่ไม่เหมือนใคร (ตอนที่ 1)

พัทยา…แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ หนึ่งในที่หมายหลักของชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาสู่ประเทศไทย ด้วยชื่อเสียงอันเลื่องลือของชายหาด ทะเล และสีสันความบันเทิงยามค่ำคืน ที่เป็นที่เลื่องลือกันมาอย่างยาวนาน เหล่านี้…คือความจริงที่เกิดขึ้น เป็นมา และเป็นไปโดยตลอด Credits: bangkok.com อย่างไรก็ดี สิ่งหนึ่งที่ดูจะถูกมองข้าม ในความเป็นไปของพัทยาในรอบปีที่ผ่านมา คือตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่แม้มองโดยผิวเผินแล้ว จะดูไม่ต่างอะไรกับภูมิภาคอื่นๆ แต่หากเราลองพิจารณากันในเบื้องลึกกันให้ชัดๆ แล้วนั้น เราจะพบความจริงที่น่าสนใจ ว่าความเป็นเอกลักษณ์ และลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนใครของพัทยา ได้แทรกซึมเข้ามาในความเคลื่อนไหวของตลาดอสังหาฯ และที่อยู่อาศัยได้อย่างน่าประหลาดใจเป็นอย่างยิ่ง //เล่นในกติกาที่ต่างกัน… ในโลกแห่งอสังหาฯ ตามความเข้าใจโดยทั่วไปแล้วนั้น...

เช่าอยู่แค่ไหน จึงควรผันไปเป็น ‘เจ้าของ’

สินเชื่อเพดานต่ำจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ดูจะยังทวีความร้อนแรงไม่เปลี่ยนแปลง เป็นโอกาสอันดีสำหรับใครที่คิดฝันใฝ่อยากจะมีบ้านพักเพื่อการอยู่อาศัย และเชื่อว่า ด้วยวงเงินที่จับต้องได้ เงื่อนไขที่ผ่อนปรน และสมมนาคุณอื่นๆ ที่จะตามมา น่าจะทำให้ใครที่เคยคิดว่าการมีบ้านอยู่อาศัยเป็นเรื่องที่ไกลเกินฝัน เริ่มมีความหวังและอยากจะทบทวนความฝันดังกล่าวนี้ดูอีกสักครั้ง แต่การซื้อบ้าน นับเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ที่ลงว่าตัดสินใจเดินแล้ว ยากจะถอยหลังกลับได้ (โดยไม่เกี่ยงว่าเงื่อนไขสินเชื่อมันจะยั่วใจสักเท่าใดก็ตาม…) ดังนั้นแล้ว เรามาทบทวนความพร้อมก่อนตัดสินใจซื้อบ้านกันอีกสักนิดจะดีกว่า Credits: cbtownandcountry.com //เช็คความรู้สึกของคุณเอง เราเคยพูดคุยกันในบทความชิ้นก่อนหน้านั้นไปแล้วว่า การเช่าอยู่และการซื้อขาดนั้น มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ท้ายที่สุดนั้น คุณ ในฐานะผู้อยู่อาศัย จะเป็นคนที่ตอบได้ ว่าอย่างใด...

Property Flipping: เปลี่ยนอสังหาฯ เป็นเงินเยี่ยงนักมายากล ตอนที่ 1

ถ้าหากเราได้เคยดูการแสดงมายากลตามที่ต่างๆ กันมาบ้าง ก็คงจะพอนึกภาพออกว่า มันน่าตื่นเต้นขนาดไหน น่าประหลาดใจเพียงใด แน่นอนว่าทั้งหมดนั้น มีเทคนิค มีรูปแบบ และมีการฝึกฝนเพื่อ ‘ลวงตา’ การรับรู้ของผู้ชมในจังหวะที่ดูราวกับจะเป็นจุดบอด ให้ผลลัพธ์ที่เกินจะคาดหมายภายใต้สถานการณ์ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่สุดให้เกิดขึ้น กลับมาที่แวดวงอสังหาฯ ที่หลายครั้ง ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ดูเหมือนจะน้อยค่า ไม่น่าเกิดประโยชน์ใดๆ ก็กลับกลายเป็นทำเลทองที่มูลค่าของมันพุ่งทะยานไปสู่จุดสูงที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ไม่ว่าจะด้วยการมาถึงของสาธารณูปโภค จนถึงระบบโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งช่องว่าง ‘ระหว่างทาง’ เหล่านี้เอง ที่เป็นจังหวะลวงตาสำคัญของเหล่าพ่อมดอสังหาฯ กับการ ‘Flipping’...

บูรณาการบ้าน ด้วยงาน ‘Downsizing’

ลองนึกภาพตามกันช้าๆ …คุณเริ่มต้นชีวิตด้วยการเก็บออมเงินเพื่อดาวน์ ‘บ้าน’ หลังแรกหลังจากแต่งงาน เริ่มสร้างครอบครัว มีเจ้าตัวเล็ก ทุกสิ่งค่อยๆ เดินหน้าไปทีละขั้น งานดี เงินเยอะขึ้น คุณค่อยๆ ผ่อนจ่ายบ้านตามระยะ พร้อมกับขยายพื้นที่เพื่อรองรับกับการใช้งาน จากหนึ่ง เป็นสอง เป็นสี่… และแล้วเวลาก็ผ่านไปสามสิบปี คุณผ่อนบ้านหมด ปลดภาระอันยาวนาน และเข้าสู่วัยปลายคน เจ้าตัวเล็กเติบโตและเริ่มมีหนทางของตัวเอง (แบบเดียวกับที่คุณเป็นเมื่อนานมาแล้ว…) และไปจากบ้านหลังนี้ เหลือคุณกับคู่ชีวิต กับบ้านหลังใหญ่และข้าวของแห่งความทรงจำ...

ขายบ้านตอนไหน ใช่สุด!

สิ่งที่ยากในแวดวงอสังหาฯ นอกเหนือจากความพยายามเพื่อให้ได้มาในสินทรัพย์ในช่วงแรก (ที่ก็ยากจนไม่รู้จะยากอย่างไร…) แล้วนั้น การตัดสินใจที่จะ ‘ขาย’ สินทรัพย์อสังหาฯ ในการครอบครองของตนเองนั้น ก็จัดได้ว่าเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่มากมายไม่แพ้กัน เพราะแม้ว่ามองโดยเผินๆ แล้วเหมือนไม่มีอุปสรรค ซื้อง่ายขายคล่อง ใครๆ ก็ลงมาเล่นในอสังหาริมทรัพย์กันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน แต่เหนือจากปริมาณแล้วนั้น ‘จังหวะ’ ใดที่ควรจะขาย เวลาไหนที่ควรปล่อย ก็ยังเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ และไม่สามารถมองข้ามไปได้ แต่แม้จะมีตัวแปรที่ต้องถูกนำมาคำนวณในการคิดอยู่มากมาย เราอาจจะพอสรุปเป็นสาระสำคัญง่ายๆ สำหรับจังหวะเวลาที่ ‘ใช่’ สำหรับการขายบ้านได้ดังต่อไปนี้ //ดอกเบี้ยทะยานเกินกว่าจะรับได้...                ...

วิธีคุมใจให้นิ่งในความสวิงตลาดอสังหาฯ!

ดูเหมือนว่าช่วงนี้ ตลาดอสังหาฯ ของไทยกำลังอยู่ในอารมณ์ม้าดีด ร้อนแรงทุกองศา โครงการใหม่ไม่ว่าจะแนวราบแนวดิ่งต่างประกาศเทหน้าตักขายกันอย่างครึกโครม หั่นราคา ประกาศครั้งสุดท้าย ลด แลก แจก แถม กันถ้วนทั่ว ไหนจะสถาบันการเงินอย่าง ธอส. ที่เพิ่มวงเงินกู้ ลดเงื่อนไขสินเชื่อ ปลดภาระค่าจดจำนอง เชิญชวนเชียร์กันอื้ออึง แค่มีเงินเดือนหมื่นต้นๆ ก็สามารถแลกเงินดาวน์มาสานฝันที่อยู่อาศัยกันได้ง่ายๆ จังหวะดีแบบนี้ ไม่ว่าจะมองในแง่ซื้อเพื่อการอยู่อาศัย หรือลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ถ้าพลาดคงต้องรู้สึกเสียดาย...

Refinance Hidden Cost: ราคาแห่งก้าวถัดไป

หากเปรียบการซื้ออสังหาริมทรัพย์เป็นกีฬา นี่ก็คงเป็นเกมที่ ‘ยิงยาว’ จนกว่าจะถึงปลายทางกว่านกหวีดสัญญาณจะบอกหมดเวลา มีอุปสรรค มีจุดพลิกผัน และมีสิ่งไม่คาดฝันเกิดขึ้นมากมาย ภายใต้ภาระการผ่อนหนี้สินเชื่อที่มักจะผูกพันในระดับยี่สิบหรือสามสิบปี แน่นอนว่าการเดินทางทางการเงินอันยาวนาน การแก้เกมด้วยการ ‘รีไฟแนนซ์’ หรือการเปลี่ยนสินเชื่อธนาคารเพื่อลดดอกเบี้ย ดูจะเป็นกลยุทธ์ที่กำลังได้รับความสนใจจากผู้ซื้ออสังหาฯ อย่างต่อเนื่อง (ก็เหมือนการเปลี่ยนตัวช่วงพักครึ่งนั่นล่ะครับ มันต้อง rotation เอาคนที่กำลังดีๆ ลงสนามบ้าง อะไรบ้าง) แต่ในทางหนึ่ง การรีไฟแนนซ์นั้น ก็ไม่ได้มีแต่เพียงข้อดี เพราะ ‘ค่าใช้จ่าย’...

เงินบาทส่อแววอ่อนตัวช่วงปี 2559

ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาและปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามา ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจของไทยอย่างมีนัยสำคัญ จากแนวโน้มที่ค่าเงินบาทจะอ่อนตัวในช่วงปี 2559 ที่จะถึงนี้ นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวในงานสัมมนา ‘โค้งสุดท้ายปี 2558 ภาพรวมเศรษฐกิจไทย’ ว่า ค่าเงินบาทไทยมีแนวโน้มอ่อนค่า โดยคาดว่าปี 2559 นั้น จะแตะที่ระดับ 38 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ จากปีนี้ที่เฉลี่ย 36.75 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ...

Peer-to-Peer Lending: กู้เพียวๆ ม้วนเดียวจบ! (ตอนที่ 2)

จากตอนที่แล้วที่เราได้เกริ่นนำเกี่ยวกับระบบสินเชื่อและการกู้ยืมแบบ Peer-to-Peer Lending อันเป็นนวัตกรรมใหม่ทางด้านสินเชื่อและธุรกรรมทางการเงิน ภายใต้ความก้าวหน้าของการสื่อสารและโลกแห่ง Social Media โดยไม่จำเป็นต้องผ่านคนกลางอย่างธนาคารพาณิชย์ ที่กำลังเป็นที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวางในต่างประเทศกันไปแล้ว อย่างไรก็ตาม จะมากหรือน้อย มันยังคงมีสิ่งที่น่ากังขาสำหรับระบบสินเชื่อแบบ ‘ทำมือ’ ที่เป็นปัจจัยไม่ให้ระบบดังกล่าวได้รับความนิยมแพร่หลายอย่างที่ควรจะเป็น แม้ว่ามันจะมีข้อดีที่น่าสนใจอยู่มากสักเพียงใดก็ตาม //ความไม่ยืดหยุ่นของ Peer-to-Peer Lending แม้ว่าระบบ Peer-to-Peer Lending ของต่างประเทศ จะอ้างอิงจากมาตรฐานการตรวจสอบเครดิตของผู้ขอกู้ยืมเงินผ่านมาตรวัดต่างๆ อาทิ FICO...

Subscribe to receive the latest property news