Home Search
ดอกเบี้ย - search results
If you're not happy with the results, please do another search
ค่าเงินหยวนอ่อนตัวไตรมาสสาม กระทบเศรษฐกิจภูมิภาค
ค่าเงินหยวนยังคงทรุดหนักอย่างต่อเนื่องหลังความซบเซาของภาคเศรษฐกิจจีนในไตรมาสสาม กระทบต่อภาคธุรกิจนำเข้า ผู้เชี่ยวชาญชี้ ภาพรวมจะดีขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี
จากรายงานล่าสุดของกรมศุลกากรจีน ถึงทิศทางของธุรกิจนำเข้าของประเทศในรอบสามไตรมาส เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า มีอัตราที่ลดลงอย่างต่อเนื่องถึงระดับ 17.7 เปอร์เซ็นต์ในรอบเดือนสิงหาคม-กันยายนที่ผ่านมา พร้อมค่าเงินหยวนที่ลดต่ำลงอีก 1.1 เปอร์เซ็นต์ อันเป็นผลพวงจากความพยายามที่จะชะลออัตราดอกเบี้ยในช่วงไตรมาสสาม ซึ่งจะออกผลสรุปผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในวันที่ 19 ตุลาคมที่จะถึงนี้ แต่ยังคงเชื่อว่าค่าเงินที่อ่อนค่าลง จะส่งผลดีต่อภาคธุรกิจส่งออกของประเทศในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี พ.ศ. 2558
อย่างไรก็ตาม เมื่อช่วงวันหยุดที่ผ่านมา นาย...
Peer-to-Peer Lending: กู้เพียวๆ ม้วนเดียวจบ! (ตอนที่ 1)
‘ทุกความฝันเป็นจริงได้….ถ้ามีเงิน’ ประโยคดังกล่าวนี้ มันอาจจะฟังดูโหดร้ายไม่ไว้หน้า แต่มันก็คือความเป็นจริงของโลกที่ขับเคลื่อนภายใต้เศรษฐกิจทุนนิยม ที่เงินตรา ทั้งแบบจับต้องได้และไม่ได้ ยังเป็นสื่อกลางสำคัญสำหรับการซื้อขายแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะแวดวงอสังหาริมทรัพย์ ที่ปัจจัยต่างๆ นั้น มีราคาที่ต้องจ่ายในอัตราที่มากน้อยแตกต่างกัน แต่โดยรวมแล้ว ก็อยู่ในระดับที่สูงถึงสูงมาก จนทางเลือกอย่างการกู้ยืม หรือสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ดูจะเป็นของจำเป็นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ (ก็ค่าแรง อิฐ หิน ปูน ทราย ยังไงมันก็ต้องจ่ายอยู่วันยังค่ำ…)
กระนั้นแล้ว อัตราดอกเบี้ยที่ดูจะสูงขึ้นทุกปีตามสภาพและการปรับตัวตามเศรษฐกิจ แม้จะไม่กระทบกับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่...
เงินสามล้าน ซื้อ ‘บ้าน’ ที่ไหนดี
ท่ามกลางตลาดอสังหาริมทรัพย์ยุคสมัยปัจจุบัน คงยากที่จะปฏิเสธได้ว่า การจะซื้อหาบ้านหรือที่อยู่อาศัยสักแห่ง มันเป็นเรื่องที่ต้องคิดแล้วคิดอีก ผ่านการพิจารณา ทบทวนทุกปัจจัยก่อนจะจ่ายเงินออกไปอย่างถี่ถ้วนชนิดเก็บทุกเม็ดไม่มีตกหล่น จะเก็บเงินดาวน์เอาไว้เท่าไหร่ จะกู้จากธนาคารไหน จะเลือกสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยแบบใด เหล่านี้ คือเงื่อนไขปราการด่านแรกสำหรับคนที่คิดจะลงหลักปักฐานในบ้านและอสังหาริมทรัพย์แทบทั้งสิ้น
แต่อย่างน้อย ด้วยแนวโน้มมาตรการใหม่ของทางภาครัฐที่จะอุดหนุนธุรกิจภาคอสังหาฯ และการประกาศวงเงินสินเชื่อจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จาก 1.5 ล้าน ขึ้นไปอยู่ที่ 3 ล้านบาท ก็น่าจะช่วยให้ผู้ซื้อรายย่อยอย่างเราๆ ขยายทางเลือกได้มากขึ้น แต่ถ้ายังไม่รู้จะมองหาบ้านหรือคอนโดฯ จากที่ไหน...
Debt Service Coverage Ratio (DSCR): ‘กู้ได้’…แล้ว ‘จ่ายไหว’ หรือเปล่า?
การมีบ้านและที่อยู่อาศัยนั้น น่าจะเรียกได้ว่าเป็นความฝันลำดับต้นๆ ของแต่ละคน ยิ่งในปัจจุบันที่ธนาคารพาณิชย์ต่างมีเงื่อนไขโดนใจ โปรโมชั่นเด็ดๆ รวมถึงทางฝั่งเจ้าของโครงการทั้งหลายก็ดูจะใจป้ำ งดเว้นเงินทำสัญญา ลดราคาค่าจอง และอื่นๆ อีกมากจนดูเหมือนว่าอะไรๆ ก็ดูง่ายไปหมด ทำงานสักสองสามปี ค่อยๆ ผ่อนไป เท่านี้เองไม่ใช่อะไรยากเย็น แค่มีสลิปเงินเดือน มีรถ มีสินทรัพย์ ‘กู้ผ่าน’ สบายหายห่วง
Credits: mossenbergrealestate.com
แต่ในทางหนึ่ง ธนาคารทั้งหลายก็ไม่ใช่องค์กรการกุศล และผลกำไรจากดอกเบี้ยเงินกู้ก็คือเป้าหมายใหญ่เพื่อขับเคลื่อนให้เดินหน้าต่อไป ดังนั้นแล้ว...
ข้อพึงระวัง จำให้ขึ้นใจ สำหรับหน้าใหม่การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ (ตอนที่ 2)
ในบทตอนที่แล้ว เราได้พูดถึงการเตรียมความพร้อมและประเมินขีดความสามารถในการลงทุนทางด้านอสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้เริ่มต้น แน่นอนว่าเป็นคำตอบที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนในการคิดตริตรอง แต่ในทางหนึ่ง แม้ว่าเราจะแน่ใจในส่วนของเงินทุน เป้าหมาย และค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น การพิจารณาองค์ประกอบเพิ่มเติมอีกขั้นหนึ่งก็จะช่วยให้การเตรียมพร้อมนั้น มีความรัดกุมและสร้างผลต่างทางกำไรได้อย่างคาดไม่ถึง
-มองไกลให้ถึงผลตอบแทน
(Credits: sparkminute.com)
แม้ว่าการตัดสินใจลงทุนทางด้านอสังหาริมทรัพย์หนึ่งๆ จะมีความมุ่งหมายทางด้านผลตอบแทนที่เป็นเป้าหลัก แต่ทั้งนี้ การมองในระยะยาว พิจารณาผลตอบแทนเปรียบเทียบกันในแต่ละประเภทนั้น จะช่วยให้คุณเห็นภาพชัดเจนว่า การลงทุนนั้นๆ เมื่อมองจากในระยะยาวแล้ว คุ้มค่าจริงหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับความไม่แน่นอนทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม จนถึงการเมืองในปัจจุบันที่พร้อมจะเปลี่ยนการลงทุนในฝันให้กลายเป็นเผือกร้อนได้ในพริบตา
-คัดสรรตัวช่วย
(Credits: moneysavingexpert.com)
เงินทุนอาจจะเป็นประเด็นสำคัญที่จะชี้วัดว่าคุณมีขีดความสามารถในการลงทุนทางด้านอสังหาริมทรัพย์ได้ในระดับใด แต่ไม่ใช่ทั้งหมด...
ข้อพึงระวัง จำให้ขึ้นใจ สำหรับหน้าใหม่การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ (ตอนที่ 1)
ในยามเศรษฐกิจถดถ้อย การค้าขายไม่สู้จะคล่องตัว ทำอะไรก็ติดขัดฝืดเคือง หลายคนอาจจะแปลกใจ ที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะในรูปแบบของบ้าน คอนโดมิเนียม หรือที่ดินเปล่าๆ กลับมีความเฟื่องฟูเงินเดินสะพัดในแบบสวนทางอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ ในแง่หนึ่ง อาจจะด้วยคุณค่าของอสังหาในแง่สินทรัพย์ที่มีอยู่อย่างมากมาย โดดเด่นเหนือชั้นกว่าการลงทุนในแบบอื่นๆ (ไม่ว่าจะหุ้น กองทุน หรือฝากธนาคารอัตราดอกเบี้ยต่ำเตี้ยน่าเศร้า…) ซึ่งสำหรับคนที่มีการเตรียมพร้อมทางด้านการเงิน นี่เป็นจังหวะที่ดีสำหรับการเริ่มต้นลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ท่ามกลางโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่อย่างไม่ขาดสาย
หากแต่ ภายใต้จังหวะที่เป็น ‘โอกาส’ นั้น หลายครั้ง ก็มักจะซ่อน...
บ้านหลังนี้ ดีพอหรือไม่ที่จะ ‘แก่’ ไปด้วยกัน
ขึ้นชื่อว่าบ้านแล้วนั้น การจะตัดสินใจเลือกซื้อสักครั้ง ย่อมหลีกไม่พ้นการพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกัน ไม่ว่าจะด้วยความสะดวกในการเดินทาง ความรอบด้านของสาธารณูปโภค รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัย แน่นอนว่าทั้งหมด ย่อมถูกนำมารวมในสมการคิดของใครต่อใครหลายคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อย่างไรก็ดี สิ่งหนึ่งที่มักจะถูกมองข้ามอยู่เสมอนั้น คือความเหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัยเมื่อผู้เป็นเจ้าของนั้น ‘แก่ตัวลง’ จนย่างเข้าสู่ชีวิตบั้นปลายวัยเกษียณ ซึ่งอาจจะเป็นในอีกยี่สิบ หรือสามสิบปีข้างหน้า
Credits: www.afoolsjourney.com
อ่านมาจนถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะรู้สึกว่าเรื่องเหล่านี้ ดูจะไกลตัวเหลือเกิน ในยามที่ดอกเบี้ยและการผ่อนชำระสินเชื่อธนาคารยังคงตามประกบในทุกเดือน อย่างไรก็ดี วาระแห่งการเข้าถึงสำหรับผู้ใช้งานทุกรูปแบบ (Universal Accessibility) เริ่มกลายเป็นกระแสที่มีการกล่าวถึงในแวดวงงานก่อสร้างและการออกแบบมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป...
เช่าอยู่ หรือซื้อขาด: คำถามตอบยากสำหรับผู้อยู่อาศัย? (ตอนที่ 2)
ในบทความตอนที่แล้ว เราแจกแจงถึงข้อดีข้อเสียของการเช่าอยู่อสังหาริมทรัพย์กันไปบ้างแล้ว และในบทความตอนที่ 2 นี้ เราจะมากล่าวถึงมุมมองอีกด้าน ของการซื้อขาดอสังหาริมทรัพย์ถาวรกันในรายละเอียดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
//ซื้อขาด (Owning) มีข้อดีคือ…
-กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ซื้อ: รายได้และเงินดาวน์ที่ลงให้กับอสังหาริมทรัพย์หนึ่งๆ ถือได้ว่าเป็นกรรมสิทธิ์ขาดของผู้ซื้อ รวมถึงเป็นการลงทุนระยะยาวที่เหมาะสม เพราะมูลค่าของสินทรัพย์เหล่านี้ จะเพิ่มสูงขึ้นตามระยะเวลาจนสามารถคืนทุนให้กับเงินกู้หรือสินเชื่อในเบื้องต้น แม้ว่าการลงทุนในช่วงแรกนั้นจะ ‘แพง’ ไปสักนิดก็ตามwww.robcampbellrealty.com
www.trendhunter.com-ลดหย่อนภาษี: ตามกฏหมายภาษีรายได้บุคคลธรรมดา ผู้ซื้อขาดอสังหาริมทรัพย์ (ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว หรือคอนโดมิเนียม) สามารถลดหย่อนภาษาได้ 10% จากมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์...
กู้ร่วมได้มั้ย…ถ้าแฟนเราเป็นเพศเดียวกัน
ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า ปัจจุบัน ความอิสระนี่ไร้พรมแดนและเพศสภาพจริงๆ เพราะฉะนั้น เราก็เลยเห็นคนเพศเดียวกันคบกันมากมายก่ายกองมากยิ่งขึ้น ซึ่งบทความนี้เราไม่ได้จะมาพูดเรื่องของความรัก ระหว่างเพศเดียวกัน แต่เราจะมาพูดถึง ความสัมพันธ์ของเพศเดียวกันที่อยากจะกู้ร่วมเพื่อซื้ออสังหาฯเป็นของตัวเอง
เราเคยได้ยินว่า การกู้ร่วมนั้น ผู้กู้ร่วมจะต้องมีความสัมพันธ์แบบสายเลือกเดียวกัน หรือ หากไม่ใช่สายเลือดก็ต้องมีการสมรสกัน ส่วนเรื่องจดทะเบียนสมรสนั้น จะทำหรือไม่ทำก็ได้ ฟังแบบนี้แล้ว คู่รักเพศเดียวกัน จะสามารถกู้บ้านได้มั้ยนะ...?
อย่าเพิ่ง ถอดใจไปค่ะ เรามีทางออกให้คุณ !!!
ข้อมูลจากธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด และ ธนาคารยูโอบี ทำให้คู่รักเพศเดียวกันใจชื้นขึ้นมาได้บ้าง...
เก็บเท่าไหร่ กู้แค่ไหน เพื่อบ้านหลังใหม่ในฝัน
คำว่า ‘บ้าน’ อาจจะมีหลากหลายนิยาม แต่ไม่ว่าจะถูกเข้าใจด้วยแนวคิดแบบใด หนทางในการได้มาซึ่งบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์สำหรับการอยู่อาศัยนั้น ก็มักจะต้องผ่านกระบวนการทางการเงิน ที่ยากจะหาใครที่สามารถซื้อขาดได้ด้วยเงินสดในจังหวะเดียว และลงเอยด้วยการกู้กับทางธนาคารต่างๆ เพื่อชดเชยส่วนต่างที่จำเป็น ซึ่งนั่นเอง แต่จะต้องกู้เป็นสัดส่วนเท่าใด หรือจะต้องเก็บสำรองเงินสดไว้มากน้อยแค่ไหน เหล่านี้ยังคงเป็นข้อกังขาสำหรับผู้ที่อยู่ระหว่างการตัดสินใจอยู่ไม่น้อย
ในแง่นี้ เราอาจจะต้องทำความเข้าใจกับรูปแบบการปล่อยกู้เพื่ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศกันโดยคร่าวๆ ที่รูปแบบโดยปกติ จะแตะเพดานวงเงินกู้สูงสุดที่ 80% ตามกำหนดของ LTV (Loan to Collateral Value) เช่น...