Search

น้ำท่วม - search results

If you're not happy with the results, please do another search

น้ำท่วมไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ละประเทศมีแผนการรับมือกันอย่างไร

วิกฤตสภาพอากาศของโลกดูจะมีมากขึ้นทุกปีแทบจะไม่ต้องสังเกตก็สามารถมองเห็นได้ว่าสภาพอากาศแปรปรวนมากแค่ไหน สำหรับช่วงฤดูฝนแบบนี้คงต้องกล่าวถึงน้ำท่วมที่สร้างผลกระทบยิ่งใหญ่ในหลายจังหวัด และสร้างความเสียหายมากมายทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับประเทศชาติ ซึ่งปัญหาในเรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นแต่ยังมีอีกหลายประเทศทั่วโลกที่ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วม  วันนี้ดอทจึงรวบรวมการแก้ปัญหาที่แต่ละประเทศคิดค้นขึ้นเพื่อป้องกันและรับมือกับน้ำกันครับ เนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลถึง 20% ของพื้นที่ทั้งหมดและเผชิญปัญหาน้ำท่วมครั้งใหญ่มาแล้วในปี 1530 ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100,000 ราย นอกจากครั้งนั้นแล้วเนเธอร์แลนด์ยังต้องเผชิญปัญหาน้ำท่วมอยู่เสมอ ทำให้เนเธอร์แลนด์ตัดสินใจแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจังด้วยการสร้างระบบชลประทานที่สามารถป้องกันน้ำท่วมได้ถึงครึ่งหนึ่งของประเทศจึงกลายเป็นหนึ่งในประเทศต้นแบบในด้านการจัดการน้ำที่ดีที่สุดในโลก สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการน้ำของเนเธอร์แลนด์ได้ที่ ถอดบทเรียน ‘เนเธอร์แลนด์’ ประเทศต่ำกว่าน้ำทะเล แต่ไม่เคยน้ำท่วม! จีน จีนเป็นประเทศที่เรามักได้ยินข่าวเรื่องอุทกภัยอย่างสม่ำเสมอทุกปีและมักจะร้ายแรงอีกด้วย ดังนั้นน้ำท่วมจึงเป็นหนึ่งในโจทย์ที่จีนต้องเร่งแก้ปัญหากันอย่างเร่งด่วนทีเดียว แต่ปัญหาของจีนไม่เหมือนเนเธอร์แลนด์ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล แต่เป็นเพราะการเจริญเติบโตของเมืองที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้เมื่อต้องพบกับฝนที่ตกลงมาในปริมาณมาก อย่างเมื่อช่วงกรกฏาคมที่ผ่านมานี้มณฑลเหอหนานได้รับปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีภายใน 3 วัน ฝนที่ตกหนักแบบนี้เลี่ยงไม่ได้ที่ต้องผจญกับภัยน้ำท่วม ปัญหาหลักของจีนเป็นเรื่องของการระบบการระบายน้ำออกจากเมือง ดังนั้นจึงมีการคิดค้น...

ถอดบทเรียน ‘ญี่ปุ่น’ การแก้ปัญหาน้ำท่วมด้วยอุโมงค์ยักษ์

กล่าวกันถึงเรื่องภัยธรรมชาติ คงไม่มีใครไม่นึกถึงญี่ปุ่น และหากกล่าวกันถึงเรื่องการรับมือภัยธรรมชาติก็คงต้องนึกถึงญี่ปุ่นกันอีกเช่นเคย เพราะประเทศนี้มีการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยธรรมชาติได้อย่างดีเยี่ยม สิ่งก่อสร้างหรือสิ่งประดิษฐ์หลายอย่างที่วางตั้งอยู่ในเมืองล้วนมีการออกแบบให้ประชาชนชาวเมืองสามารถรับมือกับสถานการณ์ไม่คาดฝันได้อย่างดีเยี่ยม และความโดดเด่นในด้านการออกแบบเพื่อแก้ปัญหาเช่นนี้ ประเทศญี่ปุ่นจึงเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการรับมือกับภัยพิบัติน้ำท่วมที่โดดเด่นและประสบความสำเร็จมากทีเดียว การเผชิญภัยน้ำท่วมอย่างหนักหน่วงของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในทิศทางของพายุเลยก็ว่าได้ โดยในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคมจะเป็นฤดูที่มีพายุเข้าและพีคสุดเลยในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน โดยในช่วงเดือนมิถุนายนปี 2018 ถึงเดือนตุลาคมในปีเดียวกันก็เจอไปแล้ว16 ลูก เราลองมาดูเหตุการณ์เผชิญไต้ฝุ่นครั้งใหญ่ของญี่ปุ่นกันดูครับ Another Hiroshima  ในปี 1945 หลังจากญี่ปุ่นโดนระเบิดในสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ 42 วันก็ต้องเผชิญกับพายุไต้ฝุ่นมาคุระซากิเพราะมีจุดเริ่มต้นที่เมืองมาคุระซากิในวันที่ 17 กันยายน โดยในตอนที่เมืองฮิโรชิม่าโดนระเบิดนั้นมีสะพานหลายเส้นที่อยู่รอดไม่พังทลายแต่ด้วยแรงของไต้ฝุ่นมาคุระซากิทำให้ทั้งเมืองต้องกลับมาเป็นอัมพาตกันอีกครั้ง จึงเรียกกันว่า...

ถอดบทเรียน ‘จีน’ การแก้ปัญหาน้ำท่วมด้วยการเปลี่ยนเมืองเป็นฟองน้ำ

ปัญหาเรื่องน้ำในฤดูฝนของแต่ละพื้นที่ต่างก็หนักหน่วงอยู่ไม่แพ้กัน หลายประเทศเร่งแก้ปัญหาการจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจบ้านเมืองน้อยที่สุด แต่ในหลากหลายการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก ณ ปัจจุบันนี้มีวิธีการหนึ่งที่นับว่าน่าสนใจทีเดียว นั่นคือประเทศจีน วิกฤตน้ำท่วมในจีน อย่างแรกเรามาลองทำความเข้าใจกันดูก่อนว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมประเทศจีนถึงต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมและมันร้ายแรงมากน้อยแค่ไหน ปี 2021 : นับเป็นสถานการณ์น้ำท่วมหนักในรอบ 1,000 ปี หลายมณฑลในภาคกลางและภาคตะวันออกเสียหายอย่างหนัก ส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้าน ที่หลายคนอาจได้เห็นกันคือน้ำท่วมรถไฟใต้ดินจนมีผู้เสียชีวิตกว่า 12 คน ปี 2020 : มณฑลหูหนาน ภาคกลางมณฑลอานฮุย ภาคตะวันออกและมณฑลเจียงซีเกิดน้ำท่วมอย่างรวดเร็ว...

ถมดินบ้านเธอ น้ำท่วมบ้านฉัน ฟ้องได้ไหม? มีกฎหมายอะไรจัดการได้บ้าง

เรียกว่าเป็นปัญหาที่คิดไม่ตกกันเลยทีเดียวก็ว่าได้นะครับกับ ‘การถมที่ดิน’ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นผู้ถมที่เองหรือจะเป็นเพื่อนบ้านต่างก็ต้องมีข้อควรรู้และข้อควรระวังเอาไว้ เพราะเมื่อเกิดปัญหาตามมาอย่าง ‘ถมที่บ้านเธอ แต่น้ำดันท่วมบ้านฉัน’ ขึ้นมา แล้วจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งในด้านกฎหมายเองก็มีข้อควบคุมดูแลอยู่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เกี่ยวกับเรื่องทางน้ำไหล และตามพระราชบัญญัติการขุดดินถมดิน พ.ศ. 2543 กำหนดไว้ โดยสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ได้ดังนี้ 1. ตามกฎหมายมาตรา 1340 ป.พ.พ.  คนอยู่ที่ในพื้นที่ต่ำจำต้องรับน้ำไหลตามธรรมชาติหรือที่ไหลเป็นธรรมดาอยู่แล้ว ปฎิเสธไม่ได้ จำเป็นต้องรับสถานเดียว แต่หากน้ำไหลเกิดจากการกระทำของคน (เพื่อนบ้าน) ก็มีสิทธิเรียกร้องให้เพื่อนบ้านที่ทำดินสูง...

วิธีเลือกซื้อที่ดินและซื้อบ้านใหม่ เพื่อหนีปัญหาน้ำท่วม ควรเลือกยังไงบ้าง?

อย่างที่เรารู้กันดีว่า ประเทศไทยมีเหตุการณ์น้ำท่วมอยู่บ่อยครั้ง หลายพื้นที่เรียกได้ว่าท่วมทุกปี การจะมองหาบ้านหรือที่ดินใหม่แต่ละทีก็ต้องคำนึงถึงปัจจัยเรื่องอุทกภัยเอาไว้ด้วย ว่าแต่ถ้าจะซื้อบ้านหรือที่ดินใหม่ควรจะซื้อบ้านหรือปลูกบ้านตรงไหน ที่ไหน แถวไหน ย่านไหน ควรต้องดูเรื่องอะไรบ้าง ถึงจะปลอดภัยจากน้ำท่วมจริงๆ วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกันครับ ความสูงต่ำของที่ดิน/ที่ตั้ง (Topography) ระดับความสูงต่ำของที่ดินหรือที่ตั้งบ้านเป็นสิ่งแรกที่สามารถบอกคุณได้ว่า น้ำจะท่วมหรือไม่ อย่างพื้นที่ในกรุงเทพฯ สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1-1.5 เมตร เมื่อเทียบกับจังหวัดอื่น อาทิ เพชรบูรณ์ 114 เมตร นครราชสีมา...

ถอดบทเรียน ‘เนเธอร์แลนด์’ ประเทศต่ำกว่าน้ำทะเล แต่ไม่เคยน้ำท่วม!

เมื่อพูดถึงพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล สำหรับเราชาวไทยแล้วก็คงจะเห็นเป็นกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงที่อยู่ต่ำกว่าน้ำทะเลเพียงนิด แต่เมื่อเทียบกับประเทศหนึ่งที่มีพื้นที่คล้ายกับกรุงเทพฯ ของเราเหลือเกินอย่าง เนเธอร์แลนด์ เราจะเห็นได้ถึงวิธีการจัดการน้ำที่ต่างกัน เพราะเขาจัดการน้ำอย่างจริงจัง ด้วยเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการจัดการน้ำโดยเฉพาะ และภาษีของประชาชนเองก็มีส่วนร่วมที่ช่วยทำให้การแก้ไขปัญหาและการจัดการเรื่องน้ำท่วมเกิดขึ้นได้จริง ทำความรู้จักกับ ‘เนเธอร์แลนด์’ ประเทศที่เคยเผชิญหน้ากับน้ำท่วมครั้งใหญ่ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นประเทศหนึ่งที่ประสบกับปัญหาอุทกภัยมานาน เพราะเป็นประเทศที่มีแผ่นดินต่ำกว่าระดับน้ำทะเล (Low Countries) ถึง 20% ของพื้นที่ทั้งหมด แถมยังมีพื้นที่ตั้งอยู่ติดกับสามเหลี่ยมปากแม่น้ำสายสำคัญของยุโรปถึง 3 สาย ซึ่งเชื่อมติดกับทะเลเหนือ จึงทำให้เนเธอร์แลนด์เผชิญหน้ากับอุทกภัยอยู่บ่อยครั้ง  และครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดคือ...

ไอเดีย รีโนเวท..บ้านหลังน้ำท่วม จากหลอน เป็นสวยด้วยงบ แสนปลายๆ

วันนี้เราจะพาไปดูแนวทาง ไอเดียรีโนเวท บ้านเก่าที่โดนน้ำท่วมขังที่สภาพโทรมมากๆ จนทำให้คุณ KlinG_N สมาชิกจากเว็บไซต์ pantip.com ได้ทำการรีโนเวทจนเป็นบ้านหลังใหม่สุดสวยงามกว่าเดิมหลายเท่า โดยใช้งบการรีโนเวทอยู่ทีประมาณไม่ถึง 2 แสน โดยแนวทางในวันนี้หลังว่าจะช่วยเป็นประโยชน์ให้เพื่อนๆที่ต้อง เจอปัญหาน้ำท่วมบ้านลองเป็นแนวทางหรือไอเดียดูกัน เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปชมกันเลย   ไอเดียรีโนเวท..บ้านเก่าจากการปล่อยให้เช่าและน้ำท่วมจนโทรม BY  คุณ KlinG_N   เพิ่งมีโอกาสได้รีวิวครั้งแรกนะ ออกตัวก่อนเลยเป็นผู้หญิงที่ไม่ได้มีความรู้ในเรื่องบ้านซักเท่าไหร่ แต่มีความฝันอยากได้บ้านสไตล์ Modern ท้าวความกันก่อนนะบ้านหลังนี้เป็นทาวน์เฮ้าส์ 2ชั้นหลังมุม ซื้อมาด้วยน้ำพักน้ำแรงเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว แต่สภาพโทรมมากๆ...
น้ำท่วม

ธ.ก.ส. เตรียมวงเงินสินเชื่อ 5.5 หมื่นล้าน พร้อมช่วยผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม

ธ.ก.ส. ตุน 5.5 หมื่นล. ช่วยลูกค้า น้ำท่วม – นายสมเกียรติ กิมาวหา ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ธ.ก.ส. อยู่ระหว่างการรอประเมินความเสียหายเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะเข้าไปสำรวจความเสียหายได้เมื่อน้ำลดแล้ว แต่ในเบื้องต้นคาดการณ์จะมีลูกค้าเกษตรกรได้รับความเสียหายประมาณ 1 ล้านราย ซึ่งมาตรการที่ออกมานั้น มีวงเงินสินเชื่อช่วยเหลือรวม 55,000 ล้านบาท หากไม่เพียงพอ ก็จะสามารถขอคณะกรรมการ...
น้ำท่วม

ข้อควรปฏิบัติการใช้งานไฟฟ้าภายในบ้านก่อนและหลังน้ำท่วม

ณ เวลานี้ นับเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับพี่น้องชาวไทยในแถบภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดอุบลราชธานีที่ได้ประสบอุทกภัย หรือ น้ำท่วม กันอย่างแสนสาหัส วันนี้เราจึงนำ ข้อควรปฏิบัติการใช้งานไฟฟ้าภายในบ้านก่อนและหลังน้ำท่วม เพื่อเป็นการป้องกันความปลอดภัยให้กับทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ของผู้ประสบภัย   ข้อควรปฏิบัติ สำหรับการใช้งานไฟฟ้าภายในบ้านก่อน น้ำท่วม นำอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่พอจะเคลื่อนย้ายได้ขึ้นสู่ที่สูง หรือ ยกเหนือระดับน้ำ เพื่อป้องกันความเสียหายต่อทรัพย์สิน ตัดวงจรไฟฟ้าภายในบ้านทั้งหมด เพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่วอันจะก่อให้เกิดอัตรายต่อชีวิต   ข้อควรปฏิบัติการใช้งานไฟฟ้าภายในบ้านหลังน้ำท่วม ภายหลังน้ำท่วม อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่แช่อยู่ในน้ำที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ก่อนน้ำท่วม เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องปั๊มน้ำ ตู้เย็น...
อุบลราชธานี

เพราะอะไร อุบลราชธานี ถึงเจอวิกฤติน้ำท่วมหนักสุดในรอบ 17 ปี

เวลานี้เพื่อนๆพี่น้องนักอ่านทุกท่านคงทราบข่าวถึง สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ. อุบลราชธานี กันบ้างแล้ว โดย น้ำท่วมในครั้งนี้ทำให้ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแทบจะอยู่อาศัยในตัวบ้านแทบไม่ได้ ดังนั้นวันนี้เราจะดูสาเหตุของตัวการว่าเพราะอะไร บลราชธานี ถึงเจอวิกฤติน้ำท่วมหนักสุดในรอบ 17 ปี   เพราะอะไร อุบลราชธานี ถึงเจอวิกฤติน้ำท่วมหนักสุดในรอบ 17 ปี ก่อนอื่นท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ จ.อุบลราชธานี เคยเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี 2521กับปี 2545 และล่าสุดในปี 2562 โดยสาเหตุมาจากเหตุการที่ พายุโพดุล...