Search

น้ำท่วม - search results

If you're not happy with the results, please do another search

ภูมิศาสตร์เรื่องบ้าน สร้างบ้านริมแม่น้ำต้องคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง

การพักผ่อนริมแม่น้ำนั้นนอกจากจะได้วิวผ่อนคลายแสนสวยและบรรยากาศดีๆ แล้วยังมีอากาศที่เย็นสบายให้เราพักผ่อนอย่งเต็มที่อีกด้วย ช่างเป็นที่พักอาศัยที่น่าสนใจมากเหลือเกิน เพียงแต่การสร้างที่พักอาศัยริมน้ำนั้นมีเรื่องที่ต้องคำนึงถึงอยู่มากทีเดียวเพื่อให้ที่พักอาศัยนั้นปลอดภัย คงทนและแข็งแรงต่อการพักอาศัยอย่างแท้จริง วันนี้ดอทจะพาทุกคนมาดูความแตกต่างของการสร้างบ้านริมน้ำ ว่าจะมีความแตกต่างหลักๆ เป็นอะไรบ้างที่เราควรรู้ก่อนจะสร้างบ้านริมน้ำขึ้นมา ไปดูกัน โครงสร้างบ้านทนต่อความชื้น บ้านริมน้ำโดยส่วนมากแล้วมักมีโครงสร้างส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำและโครงสร้างส่วนใหญ่ที่ต้องสัมผัสกับความชื้นตลอดวัน โดยส่วนใหญ่จึงใช้เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กโดยต้องระวังเรื่องของเหล็กที่ใช้ต้องมีการเคลือบกันสนิมที่ได้คุณภาพ ส่วนเรื่องของปูนนั้นหากพื้นที่ที่สร้างไม่ได้เป็นน้ำกร่อยที่มีน้ำทะเลผสม เราสามารถใช้ปูนธรรมดาได้เลย แต่หากเป็นพื้นที่น้ำกร่อยจะต้องใช้ปูนเฉพาะที่เรียกว่า มารีน ซีเมนต์ ซึ่งทนต่อการกัดกร่อนของน้ำทะเลได้มากกว่า ยกใต้ถุนขึ้นสูงกว่าระดับน้ำ ใครที่ต้องการสร้างบ้านริมน้ำคงไม่อยากให้บ้านที่เพิ่มสร้างต้องเผชิญกับน้ำท่วมบ้านเพราะน้ำขึ้นสูงอย่างแน่นอน โดยการสร้างบ้านที่ริมแม่น้ำอย่างนี้จะมีการใช้สูตรเพื่อคำนวณความสูงของบ้านว่าควรยกใต้ถุนขึ้นสูงเท่าใดตัวบ้านจึงจะปลอดภัย วิธีการคำนวณก็คือ ความลึกของระดับน้ำบวกกับความลึกของระดับน้ำเดิมคูณ 1.25 จะได้เป็นความยาวเสาเข็มที่จะทำแนวรั้วและค่าที่ได้ต้องไม่เกิน 10 เมตร ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็นว่าบ้านริมน้ำส่วนใหญ่จะอยู่เหนือระดับน้ำขึ้นมาเล็กน้อยนั้นก็เพื่อรองรับช่วงเวลาที่เกิดลมพายุทำให้น้ำขึ้นสูงหรือมีคลื่นเกิดขึ้นด้วยนั่นเอง รูปแบบเสาเข็ม รูปแบบเสาเข็มของบ้านริมน้ำจะมีความพิเศษอยู่บ้างเพราะจะใช้เสาเข็มรูปตัวไอกันเสียส่วนใหญ่ ด้วยสาเหตุหลักคือเรื่องของการใช้งาน  การใช้งานเสาเข็มรูปตัวไอนั้นไม่จำเป็นต้องขุดหรือเจาะดินออกก่อนก็สามารถตกเสาเข็มลงไปได้เลยเพียงกดด้วยแรงของเครื่องจักรเท่านั้น และยังมีร่องตรงกลางสามารถใส่แผ่นพื้นสำเร็จรูปได้...

เรื่องน่ารู้ของนิติบุคคลประจำคอนโด เขาคือใคร? มีอยู่เพื่ออะไร?

เมื่อเราเข้าพักอาศัยที่คอนโดมิเนียมมักจะต้องติดต่อกับนิติฯ อยู่เสมอ เพราะทุกคอนโดมิเนียมจะมีนิติฯ ประจำคอยช่วยเหลือดูแลเรื่องต่างๆ แล้วเคยสงสัยหรือไม่ว่ากลุ่มบุคคลที่เราเรียกว่านิติฯ นี้ เขาเป็นใคร มาทำหน้าที่เหล่านี้ได้อย่างไร ขอบเขตหน้าที่ของเขามีอะไรบ้าง  วันนี้ดอทจึงมาไขข้อสงสัยเหล่านั้นพร้อมกับให้เราได้ทำความรู้จักกับ “นิติบุคคลอาคารชุด” กับให้มากขึ้น มาดูกันเลยครับ นิติบุคคลคอนโด เป็นใครกัน นิติบุคคลคอนโดคือกลุ่มบุคคลจากบริษัทที่ได้รับการว่าจ้างให้ดูแลจัดการทรัพย์สินส่วนกลางของคอนโดมิเนียม โดยจะทำการดูแลงานที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งเป็นผู้ออกกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ทำให้แต่ละคอนโดมิเนียมจะมีระบบการดูแลทรัพย์ส่วนกลางที่แตกต่างกันออกไป คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดเป็นใคร เมื่อเราได้รู้ว่านิติบุคคลคอนโดนั้นได้รับการว่าจ้างโดยคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด ก็ต้องทำความรู้จักกับบุคคลที่มีอำนาจเลือกคนเข้ามาและออกกฎข้อบังคับในการดูแลทรัพย์สินส่วนกลางของคอนโดกลุ่มนี้ซึ่งก็คือ ตัวแทนของเหล่าเจ้าของร่วมภายในอาคารชุดนั่นเอง จากเริ่มแรกเมื่อโครงการยังซื้อ-ขายไม่หมด ผู้ที่ว่าจ้างให้นิติบุคคลอาคารชุดเข้ามาดูแลจะเป็นผู้พัฒนาโครงการคอนโดคัดเลือกว่าจ้างเข้ามาดูแล แต่เมื่อขายหมดและทำการโอนกรรมสิทธิ์จนมีเจ้าของร่วมครบทุกห้องแล้ว จะมีการคัดเลือกคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดขึ้นมาเพื่อควบคุมดูแลนิติบุคคลอาคารชุดนั่นเอง หากว่ากลุ่มนิติบุคคลที่โครงการว่าจ้างทำงานได้ดีสามารถจ้างต่อได้ หรือจะเปลี่ยนเป็นนิติบุคคลจากที่อื่นก็ได้เช่นกัน หน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุดที่เราควรรู้ จัดการเรื่องต่างๆ เพื่อดูแลทรัพย์สินส่วนกลางให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งานอยู่เสมอเพื่อประโยชน์ของเจ้าของร่วม ...

อุณหภูมิเฉลี่ยโลกเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อเราอย่างไรบ้าง?

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเราได้เผชิญกับวัฏจักรภัยธรรมชาติที่มาทุกปีและรุนแรงมากขึ้นทุกปี อย่างเช่น ฤดูฝนเผชิญกับน้ำท่วม ฤดูร้อนเผชิญกับภัยแล้ง ฤดูหนาวเผชิญกับฝุ่นและไฟป่า หากใครสังเกตได้เหมือนกันย่อมต้องรู้ว่าโลกกำลังบอกเราว่าพวกเราเข้าใกล้วิกฤตสภาพอากาศมากขึ้นทุกทีแล้ว นี่เป็นปัญหาใหญ่ระดับโลกที่ไม่อาจแบ่งแยกพื้นที่หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของโลกได้อีกต่อไป ดังนั้นเราจึงได้เห็นหลายประเทศทั่วโลกจับมือกันให้คำมั่นถึงเรื่องการดูแลสภาพอากาศเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ในการประชุม COP26 หรือการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 จัดขึ้นที่เมือง Glasgow สหราชอาณาจักร ในวันที่ 3-12 พฤศจิกายนนี้ การประชุม COP26 มีจุดประสงค์หลักคือการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นของโลก เชื่อว่าทุกคนคงรู้จักภาวะโลกร้อนที่เราเคยเรียนรู้กันมาแต่เด้กก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นการใช้คำว่า Climate Change กันแทนเป็นเพราะว่า การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นนั้นสร้างผลลัพธ์ได้มากกว่าความรู้สึกร้อน แต่เป็นสภาพอากาศที่แปรปรวน พายุที่รุนแรง...

เมื่อมนุษย์ต้องปรับตัวให้เข้ากับโลก ชวนดูสถาปัตยกรรมที่ออกแบบเพื่อรองรับ Climate change

Climate change ไม่นับเป็นเรื่องใหม่สักเท่าใดนักแต่ที่ใหม่และทำให้มนุษย์ต้องหันมาเตรียมรับมืออย่างจริงจังคือสภาพอากาศที่แปรปรวน รุนแรงและรวดเร็วจนตั้งรับไม่ทันส่งผลให้เกิดความเสียหายมากมายขึ้นได้  เมื่อการออกแบบคือการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนเราจึงต้องมีการออกแบบเพื่อทำให้ทรัพยากรที่เรามีอยู่สามารถมีเพิ่มขึ้นมากพอจะซ่อมแซมเติมเต็มส่วนที่เราใช้ไปและยังต้องปกป้องให้เรารับมือกับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นโดยลดความเสียหายให้น้อยที่สุดด้วย ในบทความนี้เราจึงพามาดูการออกแบบเพื่อการรับมือกับ Climate change อย่างยั่งยืนว่าจะต้องเป็นอย่างไร Amager Bakke, Copenhagen Denmark ในยุคอุตสาหกรรม เรามีการคิดค้นการสร้างพลังงานมาขับเคลื่อนโลกไปข้างหน้า เสียแต่ว่าพลังงานเหล่านั้นแม้จะช่วยเราได้มากแต่ก้ทำร้ายโลกอย่างมากด้วยเช่นกัน ดังนั้นโจทย์ที่คนทั้งโลกต้องร่วมมือกันคือการหาวิธีใช้พลังงานสะอาดที่ไม่สร้างภาระให้กับโลก และไม่เพิ่มอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ขณะเดียวกันก็ต้องมีความคุ้มค่าในการใช้งานด้วย หนึ่งในวิธีการลดอุณหภูมิเฉลี่ยโลกที่เราสามารถทำได้คือการเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของ Amager bakke โรงงานพลังงานจากขยะแห่งนี้นั่นเอง แต่ความพิเศษของเขาไม่ได้มีเพียงการเป็นโรงงานพลังงานขยะแต่ยังเป้นสถานที่พักผ่อนสาธารณะที่ให้คนสามารถมาเล่นสกี ปีนเขาหรือนั่งเล่นกันได้ด้วย ความพิเศษอีกอย่างหนึ่งที่นับว่าทำให้ Amager bakkeโดดเด่นคือการมีปล่องควันไอน้ำที่จะปล่อยควันรูปวงแหวนออกมาเมื่อโลกปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ครบ 1 ตันเป็นการเตือนด้วย Yanweizhou...

ต้นแบบเกาะลอยน้ำแห่งแรก เพื่อโลกและเพื่อเรา ณ ปูซาน เกาหลีใต้

วิกฤตสภาพอากาศกลายเป็นวาระเร่งด่วนที่เราต้องร่วมกันแก้ไขเพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นนับว่าร้ายแรงเร็วขึ้นกว่าที่คาดการณ์กันเอาไว้อย่างมาก ยิ่งจำนวนประชากรลดลงน้อยลงไม่สัมพันธ์กับทรัพยากรของโลกที่มีอยู่ ทั่วโลกจึงร่วมกันหาทางออกอย่างเร่งด่วน หนึ่งในปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้าคือการหายไปของชายฝั่งทะเล เพราะอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายส่งผลให้น้ำทะเลหนุนสูงขึ้นกินพื้นที่ชายฝั่งทะเล ผู้คนมากมายจะไร้ที่อยู่อาศัย เพื่อแก้ปัญหานี้อย่างยั่งยืน นั่นก็คือเมืองลอยน้ำ หรือ Oceanix City เมืองลอยน้ำ หรือ Oceanix City เกิดจากแนวคิดของ bjarke ingels group หรือ BIG ร่วมมือกับ UN-Habitat นักพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน, บริษัทเอกชน Oceanix,...

ฤดูหนาวมาถึงแล้ว ควรเตรียมพร้อมอย่างไรดี

ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวมาตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายนที่ผ่านมาแล้ว แต่ว่าเราอาจจะยังไม่รู้สึกหนาวสักเท่าไหร่นักเพราะตอนนี้เรียกว่าเพิ่งจะเข้าสู่ช่วงเวลาเปลี่ยนฤดูเท่านั้นเราจึงเห็นว่าหลายที่จะยังมีฝนและอากาศแปรปรวนอย่างที่คาดการณ์ไม่ได้กันอยู่บ้าง เรามาดูกันดีกว่าว่าช่วงที่หนาวที่สุดที่เราจะคาดหวังได้นั้นอยู่ที่ช่วงไหนและความหนาวอย่างนี้เราควรจะเตรียมพร้อมอย่างไรดี ความหนาวของประเทศไทย ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีฤดูร้อนยาว ฤดูหนาวสั้น ดังนั้นช่วงที่หนาวสุดของปีจึงอาจมีเพียงหนึ่งถึงสองเดือนเท่านั้น ซึ่งหากนับช่วงที่หนาวที่สุดของปีแล้วจะอยู่ที่ช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม โดยความต่ำของอุณหภูมิจะขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่  อุณหภูมิปีนี้เป็นอย่างไรบ้าง ฤดูกาลในประเทศไทยมีฤดูร้อน ฤดูฝนและฤดูหนาวเรียงต่อกันทุกปี ฤดูร้อนที่ผ่านมาทั่วโลกยังคงเผชิญกับไฟป่าหลายพื้นที่ ส่วนในฤดูฝนจีนและยุโรปก็เผชิญกับภัยน้ำท่วมครั้งรุนแรง และในขณะนี้กำลังเข้าสู่ฤดูหนาวประเทศไทยเราก็มีบางพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำทะเลหนุนสูง เพื่อเตรียมความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ กรมอุตุนิยมวิทยาจึงมีการคาดการณ์ไว้ดังนี้ เดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม ช่วงนี้เป็นช่วงที่อากาศกำลังค่อยๆ เปลี่ยนแปลงเพื่อให้เราเตรียมเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างแท้จริงเราจึงจะได้เจอกับอากาศเย็นในบางวัน ซึ่งอาจจะยังร้อนอยู่ในบางช่วงของวัน และในบางพท้นที่อาจจะได้พบกับอากาศหนาวกันบ้างแล้วและอาจมีหมอกตอนเช้าในบางแห่ง แต่ช่วงนี้เชื่อว่าทุกคนคงสังเกตได้ว่าอากาศเริ่มเย็นกว่าปกติแล้ว กลางเดือนธันวาคมถึงปลายเดือนมกราคม นี่คือช่วงที่เราจะได้พบกับฤดูหนาวอย่างแท้จริงกันสักที เป็นช่วงพีคของฤดูหนาวเลยก็ว่าได้ ใครที่อยากรับความหนาวอย่างเต็มที่ก็แนะนำให้ออกทริปขึ้นเหนือขึ้นเขากันช่วงนี้เลย ซึ่งมีการคาดการณ์เอาไว้ว่าอุณหภูมิต่ำสุดที่เราอาจจะได้เจอในปีนี้คือ 6-7 องศาเซลเซียสกันเลยทีเดียว ต้นเดือนกุมภาพันธ์ เข้าสู่ช่วงปลายฤดูหนาวที่อากาศจะเริ่มเปลี่ยนจากฤดูหนาวกลับสู่ฤดูร้อน...

เปิดเทคนิคต่อรองราคาบ้านและคอนโด ซื้อยังไงให้ได้ราคาถูกและดี

ซื้อบ้านและคอนโดยังไงให้ได้ราคาถูก นำมาลงทุนต่อก็ได้กำไร หรือจะซื้ออยู่อาศัยเองก็คุ้มค่า? เรื่องนี้มีกลยุทธ์ที่คุณสามารถหยิบไปลองปรับใช้ได้ ซึ่ง Dot Property ได้รวบรวมมาให้ในบทความนี้แล้วครับ จะมีเทคนิคการเจรจาต่อรองอย่างไรที่เป็นประโยชน์สำหรับฝั่งผู้ซื้ออย่างเราๆ บ้าง ตามไปดูพร้อมๆ กันเลย 1. ทำการบ้านและเจรจาด้วยข้อมูล เพื่อแสดงออกว่าคุณต้องการที่จะซื้อคอนโดหรือบ้านในโครงการนี้จริงๆ แน่นอนว่า เรื่องของข้อมูลเป็นสิ่งแรกที่จะแสดงออกให้ทางฝั่งเซลล์หรือผู้ขายรู้ได้ โดยคุณควรที่จะเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับทำเล เช่น สภาพการเดินทาง สภาพพื้นที่โดยรอบ ความพลุกพล่านของชุมชน ตั้งอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมหรือดินทรุดหรือไม่ เป็นต้น, รายละเอียดของตัวโครงการ เช่น...

เมื่อการออกแบบคือการแก้ปัญหา ชวนมาดูการออกแบบบ้านในพื้นที่รองรับน้ำ

น้ำท่วมเป็นปัญหาน่าปวดหัวที่เราเลี่ยงได้ยากแต่ยิ่งกว่าช่วงเวลาน้ำท่วมคงจะเป็นช่วงเวลาหลังจากนั้นที่ต้องมาตรวจเช็คกันดูว่ามีอะไรเสียหายไปบ้าง หากเป็นพายุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ความเสียหายนั้นคงไม่มีใครอยากจะนึกถึงเลยทีเดียว แต่จะไปห้ามพายุฝนไม่ให้โหมกระหน่ำนั้นคงเป็นไปไม่ได้ยิ่งด้วย Climate change ที่ทำให้สภาพอากาศดูจะแปรปรวนมากขึ้น พายุเองก็จะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เราคงต้องหันกลับมาคิดแล้วว่าจะทำอย่างไรให้สามารถใช้ชีวิตกับสถานการณ์เช่นนี้ได้ วันนี้ดอทจึงรวบรวมเงื่อนไขและไอเดียที่จะช่วยให้เราสามารถรับมือกับน้ำท่วมได้ดีขึ้น อย่างน้อยก็ต้องเตรียมรับมือกันสักนิดเพื่อป้องกันความเสียหายในอนาคต เงื่อนไขของบ้านที่ต้องอยู่ร่วมกับน้ำ ในกรณีที่เราอยู่ในพื้นที่เสี่ยงไม่รู้ว่าวันไหนน้ำจะเข้ามาหาเราบ้าง อย่างน้อยเราควรเตรียมรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการเตรียมการให้มันเกิดขึ้นน้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ มีอะไรบ้างไปดูกัน สร้างด้วยวัสดุที่สามารถอยู่กับน้ำได้อย่างน้อย 72 ชั่วโมง หากถึงเวลาต้องเตรียมตัวรับน้ำจริงๆ คุณควรทำให้แน่ใจว่าในพื้นที่รับน้ำของคุณจะไม่มีอะไรที่พังหรือเสียหายเมื่อเจอน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสิ่งที่เป็นโครงสร้างของที่พักอาศัยหรือค้ำยันบางอย่างเอาไว้ ตัวอย่างของสิ่งที่สามารถอยู่ในน้ำได้คือ คอนกรีต กระเบื้องเซรามิก ไม้อัดทนแรงดัน กาวกันน้ำ เป็นต้น หากเป็นประเภทไม้ควรตรวจสอบให้แน่ชัดว่าเป็นไม้แท้ทั้งหมดไม่ใช่การปิดผิวหน้าเพราะอาจเสียหายถึงโครงสร้างหรือรูปทรงได้หากโดนน้ำนาน ติดตั้งช่องระบายน้ำ หากเลือกได้หลายคนคงเลือกที่จะกันนานออกจากตัวบ้าน บางคนเลือกก่อปูนขึ้นบริเวณทางเข้าที่น้ำสามารถเข้าไปได้เพื่อกันน้ำไว้นอกบ้าน แต่ในช่วงเวลาที่น้ำมาในปริมาณมากจริงๆ...

ชวนดูไอเดียการออกแบบพื้นที่รับน้ำสุดเจ๋ง! เมื่อเรากับน้ำต้องอยู่ร่วมกัน

ช่วงที่ผ่านมาหลายประเทศประสบปัญหาน้ำท่วมกันเรียกได้ว่าทั่วโลกเลยทีเดียว ทั้งยังได้ยินเรื่องการละลายของธารน้ำแข็งมาไม่ขาดซึ่งดูเหมือนว่าในอนาคตโลกของเราจะมีปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หลายพื้นที่อาจจะต้องเผชิญกับน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้ง อย่างเช่นบริเวณชายฝั่ง หลายแห่งทั่วโลกจึงมีการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เราสามารถอยู่รวมกับน้ำได้อย่างสันติที่สุด ลดความเสียหายและที่สำคัญคือสามารถมีความสุขร่วมกันได้จะดีที่สุด วันนี้ดอทนำ 3 โปรเจ็กต์ที่น่าสนใจมาแนะนำกันดู เป็นอย่างไรบ้างไปดูกัน The Big U, New York แมนฮัตตันเป็นพื้นที่หนึ่งในอเมริกาที่เผชิญกับปัญหาน้ำท่วมไม่ว่าจะมาจากพายุหรือมาจากชายฝั่งทะเลก็ตาม จนได้มีการแข่งขันให้สถาปนิกและวิศวกรมาออกแบบพื้นที่ที่จะช่วยรองรับน้ำขึ้นมาจนเกิดเป็นโครงการ Big U ขึ้น โครงการ Big U เป็นโครงการที่กินพื้นที่ยาว 16 กิโลเมตรตลอดชายฝั่งเป็นรูปตัว U เพื่อล้อมเกาะและสร้างเป็นแนวกั้นน้ำโดยเป็นการปรับภูมิทัศน์ไปด้วยในตัวเพราะพื้นที่นั้นไม่ได้เป็นเพียงกำแพงเท่านั้นแต่มีการออกแบบให้เป็นสวนสาธารณะ...

จับสัญญาณคอนโดในกทม. ผู้ประกอบการต้องปรับตัวอย่างไร

ตลาดคอนโดในกทม.นั้นอยู่ในช่วงของขาลงของผู้ประกอบการ แต่เป็นขาขึ้นของผู้บริโภคอย่างแท้จริง เพราะถึงแม้รายได้จากการขายคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ ของผู้ประกอบการหลายรายจะเพิ่มขึ้น แต่กำไรกลับลดลงอย่างไม่น่าเชื่อ โดยรายงานจาก ซีบีอาร์อี ประเทศไทย (CBRE) ได้รายงานภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภทในกรุงเทพฯ รวมไปถึงคอนโดในกทม.และคอนโดเช่าซื้อกทม.ด้วย จับสัญญาณคอนโดในกทม.จากรายงาน CBRE จากรายงาน MarketView : Bangkok Overall Property Market, Q1 2020 โดยแผนกวิจัยจาก CBRE ระบุว่าในไตรมาสที่ 1...