Home Search
ผ่อนชำระ - search results
If you're not happy with the results, please do another search
ทำงานไม่ถึงปีกู้ซื้อบ้านได้หรือไหม ?
โดย อายุงานแค่ไหนที่ กู้ซื้อบ้าน ได้ จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคารนะค่ะ บางที่กำหนด 6 เดือน บางที่ 2 ปี หรือบางที่กำหนดว่าผ่านช่วงทดลองงานก็สามารถกู้บ้านได้แล้ว อาจต้องสอบถามธนาคารที่ต้องกู้บ้านดูค่ะ
นอกจากเรื่องอายุงานแล้ว โดยทั่วไปธนาคารจะดูความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ด้วย ซึ่งเราควรมีภาระผ่อนหนี้ทุกอย่างทั้งบ้าน รถ สินเชื่อบุคคล ไม่เกิน 40% ของรายได้ต่อเดือน จะได้ไม่เป็นภาระที่หนักเกินไป
อย่างเช่น เงินเดือน 21,000 บาท...
มาคำนวณค่าผ่อนบ้าน ด้วยโปรแกรมใช้ง่าย เห็นดอกเบี้ยชัด แถมแจกฟรี !
กู้เงินซื้อบ้าน แล้วอยาก คำนวณ ผ่อนบ้าน แบบที่เห็นอัตราดอกเบี้ย จำนวนปีที่ต้องผ่อน งวดที่ต้องจ่ายชัด ๆ ถ้าจะให้ชีวิตง่ายขึ้นก็ต้องลองใช้โปรแกรมช่วยคำนวณนะจ๊ะ
บ้าน ที่อยู่อาศัย ปัจจัยหลัก ๆ ของชีวิตคนทุกคน และหากคุณกำลังจะซื้อบ้านหรือลงทุนให้ชีวิตด้วยการซื้อที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งสักหลัง คงอยากจะรู้รายละเอียดในการผ่อนบ้านเพื่อประกอบการตัดสินใจกันก่อน ซึ่งวันนี้เราจะทำให้การคำนวณค่าผ่อนบ้านของคุณ ๆ ง่ายขึ้นอีกเยอะ ด้วยโปรแกรมคำนวณค่าผ่อนบ้านจากคุณ Agent Molder สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม
ดอกเบี้ยที่กู้ซื้อ เงินค่างวดที่ต้องผ่อน และจำนวนปีที่ต้องเป็นหนี้...
อยากกู้ซื้อบ้านให้ผ่าน อย่าพลาดพิจารณาหลักการเหล่านี้!
อันที่จริง ถ้าหากจะพูดถึงวิธีการขอกู้สินเชื่อเพื่อซื้อบ้านและที่อยู่อาศัยในแวดวงอสังหาริมทรัพย์นั้น มันอาจจะเป็นหัวข้อที่มีคนกล่าวถึงกันอยู่บ่อยครั้ง ในรูปแบบที่หลายท่านพอจะคุ้นเคยกันดี รวมถึงแนวทางปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ที่มีไว้ให้เพื่อเป็น Guideline ทั้งผู้เริ่มต้น จนถึงสิงห์สนามอสังหาฯ
แต่ในทางกลับกัน มันอาจจะไม่ใช่ทุกครั้งที่การทำตามแนวทางที่กำหนดเอาไว้ จะสามารถนำพาคุณไปสู่เป้าหมาย ยังไม่นับรวมเรื่องปลีกย่อยระหว่างทางที่อาจจะมีผลทำให้ทุกสิ่งดูซับซ้อนมากกว่าที่ควรจะเป็น เช่นนั้นแล้ว เราลองมาสำรวจบางแง่มุมของการ กู้ซื้อบ้าน และที่อยู่อาศัยเพิ่มเติมกันสักนิด เพื่อไม่ให้ทุกสิ่ง ผิดพลาดไปจากที่ตั้งใจไว้
//สร้างกระแสความต่อเนื่องในบัญชีคือเรื่องสำคัญ
ในเรื่องนี้ ใครที่ประกอบกิจการหรือมีธุรกิจเป็นของตนเอง อาจจะติดปัญหาที่ว่า ทางธนาคารไม่อนุมัติสินเชื่อทั้งที่มีรายรับต่อเดือนเป็นจำนวนมาก (ผู้เขียนเคยเจอกรณีเจ้าของกิจการขนาดกลางที่มีกระแสเงินสดหมุนเข้าบัญชีเป็นหลักแสนกลางๆ ที่ประสบปัญหาดังกล่าว)...
5 แอพลิเคชันน่าสนใจสำหรับนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์
ขึ้นชื่อว่าอสังหาริมทรัพย์แล้วนั้น การจะเลือกซื้อ เลือกขาย หรือทำธุรกรรมใดๆ ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำและรวดเร็วก็ดูจะเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นลำดับต้นๆ (ดังเช่นที่ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้กล่าวเอาไว้) ที่ไม่อาจมองข้าม มันอาจจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ซับซ้อน แต่โชคดีที่เทคโนโลยีด้านโมบายล์และการสื่อสารในปัจจุบัน ช่วยให้ทุกสิ่งนั้นง่ายขึ้นเพียงปลายนิ้วสัมผัส และเราก็ขอยกตัวอย่างแอพลิเคชันน่าสนใจ ที่จะช่วยให้การซื้อขายหรือลงทุนอสังหาริมทรัพย์นั้นมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
//iGetPlace
แอพลิเคชันแผนที่เพื่อการติดต่อซื้อขายและรายละเอียดของสถานที่กับอสังหาริมทรัพย์ ที่ใช้งานได้ง่าย ด้วย User Interface ที่สะอาดตา พร้อมแท็บแจกแจงรายละเอียดข้อมูลต่างๆ ที่ผู้ใช้งานสามารถค้นหาตามความต้องการได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งใส่ข้อมูลของอสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้ที่ต้องการจะขายสินทรัพย์ได้โดยสะดวก (ในปัจจุบัน โปรแกรมนี้ยังรองรับแค่ระบบ iOS...
Good Debt, Bad Debt: ความต่างระหว่างหนี้ดี และหนี้เลว
ถ้าหากจะกล่าวกันถึงสิ่งที่เรียกว่า ‘หนี้’ แล้วนั้น แน่นอนว่าคงไม่มีใครที่อยากจะให้มันเดินเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นไปในชีวิตกันสักกี่มากน้อย (การไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐสุด…) ซึ่งเชื่อเหลือเกินว่า ความเป็นจริงข้อนี้ คงไม่จำเป็นต้องตอกย้ำซ้ำความอันใดให้เสียเวลา เราต่างขยาดและเบือนหน้ากับสิ่งที่เรียกว่า ‘หนี้’ กันในทุกจังหวะและวาระที่สามารถกระทำได้
จะมากจะน้อย การมีเงินติดกระเป๋าแบบภาวะ ‘ปลอดหนี้’ ก็เป็นสิ่งที่น่ายินดีเสมอ…
แต่ในโลกแห่งการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลงทุนด้านอสังหาฯ นั้น ก็ยากนักที่จะหลีกหนี้การเป็น ‘หนี้’ ในจังหวะชั้นต้น ซึ่งถ้ามองโดยเผินๆ แล้วอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ชวนให้สบายอกสบายใจ แต่ถ้ามองให้ลึกลงไป...
จัดการหนี้อสังหาฯ ในสภาวะ ‘ตกงาน’
ด้วยสภาพเศรษฐกิจในทุกวันนี้ มันคงยากที่จะหลีกหนีความอัตคัดขัดสน ปัญหาที่ต้องแก้ไข และเรื่องราวอีกมากมายหลายอย่างที่ส่งผลกระทบกับปากท้องและความสมบูรณ์พูนสุขของชีวิตกันอยู่ไม่น้อย แต่ในทางหนึ่ง ความจำเป็นทางด้านปัจจัยสี่เช่นบ้านและที่อยู่อาศัยก็เป็นสิ่งที่ยากจะเลี่ยง เมื่อประกอบกับนโยบายกระตุ้นภาคอสังหาฯ ในช่วงที่ผ่านมาด้วยแล้วนั้น หลายท่านก็คงจะเห็นว่าเป็นจังหวะที่ดีที่จะเริ่มก้าวเข้าสู่จังหวะถัดไป และเริ่มดำเนินการขออนุมัติสินเชื่อไปในทันที
แต่ถ้าความไม่แน่นอนคือสัจธรรมอันสูงสุดของชีวิต (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สภาพเศรษฐกิจเช่นนี้…) ถ้าหากใครที่กำลังมีภาระที่ต้องจ่ายสินเชื่อ แล้วเกิดประสบพบเจอกับ ‘การตกงาน’ โดยไม่คาดฝันแล้วนั้น ขอให้หายใจเข้าลึกๆ แล้วลองมาตรองดูหนทางดังต่อไปนี้ ว่าเผื่อจะช่วยผ่อนผันจากหนักให้กลายเป็นเบา จนเข้าสู่สภาวะที่สามารถ ‘รับมือได้’ ไม่มากก็น้อย
//ติดต่อธนาคารเจ้าของสินเชื่อ
ก่อนที่คุณจะเริ่มรู้สึกสยองขวัญกับเหตุไม่คาดฝันที่เกิดขึ้น ขอให้เชิดหน้า แล้วไปติดต่อกับธนาคารพาณิชย์ที่คุณทำการขออนุมัติสินเชื่อก่อนเป็นอันดับแรก...
วัดใจในอีกหกเดือนข้างหน้า อสังหาฯ ค่าจดจำนอง 0.01
ในตอนนี้ เป็นเวลาหนึ่งเดือน หลังการประกาศลดค่าโอนจดจำนอง เหลือ 0.01% ตามนโยบายกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของทางภาครัฐ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระผู้ซื้อและผู้ประกอบการ รวมถึงเพิ่มความคล่องตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมให้เกิดขึ้น หลังมีการชะลอตัวอย่างมากในตลอดปี พ.ศ.2558 ซึ่งแน่นอนว่าทั้งหมด ส่งผลดีต่อผู้ที่มีความต้องการซื้ออสังหาฯ และที่อยู่อาศัย เนื่องด้วยการลดค่าจดจำนองจากอัตรา 2% มาอยู่ที่ 0.01% นั้น ถือได้ว่าเป็นจำนวนเงินที่ไม่น้อย เมื่อพิจารณาจากจำนวนที่ต้องส่งเพื่อจดจำนองก่อนส่งมอบในทางปฏิบัติปกติ
นำร่องนโยบายด้วยธนาคารอาคารสงเคราะห์ กับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย...
คุณสมบัติของ ‘บ้านหลังแรก’ ที่ดี ข้อเหล่านี้ อย่าให้ตกหล่น
หลังจากผ่านการเก็บหอมรอมริบ ผ่านความยากลำบากของสายงาน และเฝ้าใฝ่ฝันไว้มาเป็นแรมปี ในตอนนี้ ฐานเงินเดือนคุณถึง เครดิตทางการเงินไม่มีปัญหา รวมถึงเป็นที่คุ้นหน้าของเจ้าหน้าที่สินเชื่อ และคุณพร้อมแล้วที่จะมี ‘บ้านหลังแรก’ เป็นของตัวเอง เป็นวาระที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง ที่ๆ คุณจะได้ประกาศให้โลกได้รู้ ว่าคุณได้เดินไปสู่อีกระดับของความรับผิดชอบ ที่ๆ จะหยั่งรากและสร้างที่ทางของตนเองได้อย่างสมศักดิ์ศรี
แต่ก่อนที่คุณจะพาตัวเองเข้าสู่กระบวนการขออนุมัติ ซื้อ อยู่อาศัย และผ่อนส่งต่อไปในระยะเวลาอีกยี่สิบหรือสามสิบปี เราอยากให้คุณพิจารณาถึงคุณสมบัติของ ‘บ้านหลังแรกที่ดี’ เหล่านี้ไว้เป็น Checklist เพื่อให้การเริ่มต้นใดๆ...
เคลียร์ให้ขาด ก่อนประกาศกู้สินเชื่อเพื่ออสังหาฯ
มาช่วงนี้ ใกล้จะผ่านพ้นกันไปอีกหนึ่งปี สำหรับใครที่มีแผนจะซื้อบ้านและที่อยู่อาศัยเพื่อการเริ่มต้น ก็อาจจะนับได้ว่าเป็นโอกาสที่ดีมากๆ เพราะมีตัวช่วยอยู่ไม่น้อย ทั้งนโยบายกระตุ้นธุรกิจอสังหาฯ จากทางภาครัฐ จนถึงโปรโมชัน ลด แลก แจก แถมใหม่ๆ จากเจ้าของโครงการอันหลากหลาย เรียกว่าช็อปปิ้งที่อยู่อาศัยในจังหวะนี้น่าจะเป็นอะไรที่ทำให้รู้สึกสุขีสโมสรกันอยู่ไม่น้อย
แต่ก่อนที่จะข้ามไปสู่กระบวนการเก็บกระเป๋าเข้าอยู่นั้น ก็ต้องผ่านปราการด่านแรกอย่างการยื่นเรื่องผ่านธนาคารพาณิชย์เพื่อ ‘ขอสินเชื่อ’ กันเสียก่อน ซึ่งก็แน่นอนว่าเป็นอะไรที่ต้องคิดหน้าคิดหลังกันให้ถี่ถ้วน (ด้วยจำนวนเงินที่ไม่ใช่น้อยๆ) และเราก็อยากจะให้คุณ ‘เคลียร์’ เงื่อนไขเหล่านี้ให้ขาดก่อนที่จะประกาศเข้าสู่ระบบสินเชื่อ หนี้ก้อนใหญ่ระยะยาวที่จะผลักคุณไปสู่เวทีอีกระดับของความรับผิดชอบที่จะตามมา
//รายได้หรือเงินเดือนคุณ ‘มีพอ’...
NPA: ถือตะกร้าไปช็อปอสังหาฯ จากธนาคาร
หากจะกล่าวกันถึงการลงทุนทางด้านอสังหาริมทรัพย์แล้วนั้น มันมีอยู่มากมายหลากหลายวิธีการที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะซื้อมาปรับปรุงและขายไปอย่างรวดเร็ว การปล่อยเช่าเก็บกินเปล่าในรูปแบบอพาร์ทเมนต์ หรือการรอราคาอสังหาฯ และที่ดินให้ไต่ขึ้นตามระยะเวลา แต่กระนั้น การซื้ออสังหาฯ มือสอง ก็ดูจะเป็นทางเลือกที่หลายต่อหลายคนที่คิดจะลงทุนให้ความสนใจเป็นอย่างดี เพราะมีแนวโน้มที่ได้ของดี ราคาไม่แพง ในทำเลที่ยอดเยี่ยมแบบที่อาจจะไม่สามารถหาได้จากการซื้อมือหนึ่ง (ด้วยราคาที่เท่ากัน)
Credits: buycheaprealestate.com.au
อย่างไรก็ตาม ของดีราคาไม่แพง ใครๆ ก็ต่างมุ่งหวังที่จะแย่งชิงกันเป็นปกติวิสัย และถ้าคุณเป็นหน้าใหม่สำหรับสนามอสังหาฯ ที่รู้สึกว่าตลาดมือสองมันรุนแรงเกินกว่าจะต้านทานไหว เราก็ขอเสนออีกทางเลือกอย่าง NPA ที่น่าจะเป็นอีกช่องทางที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนหรือซื้อเพื่ออยู่อาศัยกันในครั้งนี้
//NPA: มูลค่าที่รอคอยการค้นพบ
สำหรับ...